7 ข้อต้องรู้ก่อนเรียนต่อต่างประเทศ 7 ข้อต้องรู้ก่อนเรียนต่อต่างประเทศ

7 ข้อต้องรู้ก่อนเรียนต่อต่างประเทศแบบงบจำกัด

อยากเรียนต่อต่างประเทศ แต่งบจำกัด จะต้องวางแผนการเงินให้ดีก่อน อย่าให้การเงินมาเป็นอุปสรรคของเส้นทางแห่งความฝัน บทความนี้ทางธนาคารกสิกรไทยจะพาทุกคนมารู้จักกับ 7 ข้อที่จำเป็นต้องรู้ก่อนไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อสานฝันให้คนงบน้อยได้มีโอกาสไปเรียนเมืองนอก

ไปเรียนต่อต่างประเทศดีไหม

ไปเรียนต่อต่างประเทศ ดีจริงไหม?

แน่นอนว่าการเรียนต่อต่างประเทศเป็นการเปิดโอกาสให้กับตนเอง ได้เห็นมุมมองที่กว้างขึ้น ได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่แตกต่างจากการอยู่เมืองไทย แต่ก่อนที่จะตัดสินใจไปเรียนต่อต่างประเทศนั้น ควรทบทวนตนเองก่อนว่ามีความต้องการที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศจริงๆ หรือไม่ แล้วต้องการไปเรียนต่อต่างประเทศเพราะเหตุใด แล้วสถานะทางการเงินพอไปได้หรือไม่? ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ได้หมดแล้ว รู้แล้วว่าการไปเรียนต่อต่างประเทศมีความสำคัญกับผู้อ่าน และมีสภาพคล่องทางการเงินที่เหมาะจะไปเรียนต่อต่างประเทศแล้ว งั้นก็ไม่ต้องรอช้า แล้ววางแผนไปทำตามความฝันในต่างแดนกันเลย

7 เคล็ดลับวางแผนการเงินเรียนต่อต่างประเทศ

7 เคล็ดลับวางแผนการเงินเรียนต่อต่างประเทศ

การไปเรียนต่อต่างประเทศใช่ว่าจะตัดสินใจไปได้ในทันที ต้องวางแผนการเงินให้ดีก่อน เพื่อไม่ให้มาเสียใจภายหลัง! ทางธนาคารกสิกรไทยจะมาแชร์ 7 เคล็ดลับที่ต้องรู้ เพื่อให้ทุกคนนำไปวางแผนบริหารจัดการเงินให้เรียบร้อย ก่อนตัดสินใจไปเรียนต่างประเทศ

1. สำรวจค่าครองชีพในแต่ละประเทศ

ค่าครองชีพ คือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตพื้นฐานของมนุษย์ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ฯลฯ ทั้งหมดล้วนนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานในการใช้ชีวิตทั้งสิ้น ทั้งนี้ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกประเทศที่ต้องการจะไปเรียนต่อ แนะนำให้ทำสรุปเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของแต่ละประเทศ คำนวณค่าครองชีพขั้นต่ำต่อเดือน เทียบกับงบประมาณที่มีอยู่ รวมกับจำนวนเงินที่เราจะได้จากการทำงานเสริมพิเศษด้วย คิดดูว่ารวมทั้งหมดแล้วเพียงพอกับค่าใช้จ่ายพื้นฐานหรือไม่ โดยหากคำนวณแล้วมีรายจ่ายที่มากกว่ารายรับค่อนข้างมาก แนะนำให้ลองเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม

เลือกประเทศและสถานศึกษา

2. เลือกประเทศและสถานศึกษา

ในปัจจุบันสามารถเลือกเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศได้หลากหลายมากขึ้น ด้วยการคมนาคมที่เปิดกว้าง ทำให้เส้นทางการศึกษาไร้พรมแดนมากขึ้น สามารถเลือกประเทศที่ชอบ หรือเลือกสถานศึกษาที่สนใจจะไปเรียนต่อ ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนไปด้วย ทำงานหารายได้เสริมไปด้วย เพื่อลดค่าใช้จ่ายพร้อมกับเก็บเป็นเงินสำรอง แนะนำให้เลือกประเทศที่กำหนดให้วีซ่านักเรียนสามารถทำงานพิเศษไปพร้อมกันได้ เช่น

ประเทศออสเตรเลีย

  • ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน (Student Visa) สามารถทำงานได้ถึง 20 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
  • ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 20.33 AUD ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 450 บาท
  • ค่าครองชีพที่ทางหน่วยงานของประเทศออสเตรเลียประเมินไว้คร่าวๆ จะอยู่ที่คนละ 1,800 AUD ต่อเดือน
  • ค่าใช้จ่ายในการเรียน
    • ปริญญาตรี เริ่มต้นที่ 17,000-40,000 AUD ต่อปี หรือประมาณ 415,000-1,000,000 บาทต่อปี
    • ปริญญาโท เริ่มต้นที่ 26,000-47,000 AUD ต่อปี หรือประมาณ 635,000-1,100,000 บาทต่อปี

ประเทศนิวซีแลนด์

  • ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน(Student Visa) สามารถทำงานได้ถึง 20 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ และในช่วงปิดเทอมสามารถทำงานได้สูงสุด 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 20 NZD ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 420 บาท
  • ค่าครองชีพที่ทางหน่วยงานของประเทศนิวซีแลนด์ประเมินไว้คร่าวๆ จะอยู่ที่คนละ 1,600 NZD ต่อเดือน
  • ค่าใช้จ่ายในการเรียน
    • ปริญญาตรี เริ่มต้นที่ 22,000-40,000 NZD ต่อปี หรือประมาณ 500,000-900,000 บาทต่อปี
    • ปริญญาโท เริ่มต้นที่ 20,000-45,000 NZD ต่อปี หรือประมาณ 450,000-1,000,000 บาทต่อปี

สหราชอาณาจักร

  • ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน (Student Visa) สามารถทำงานได้ถึง 20 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ และในช่วงปิดเทอมสามารถทำงานได้สูงสุด 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 8-10 £ ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 380-500 บาท
  • ค่าครองชีพที่ทางหน่วยงานของสหราชอาณาจักรประเมินไว้คร่าวๆ จะอยู่ที่คนละ £500-700 ต่อเดือน
  • ค่าใช้จ่ายในการเรียน
    • ปริญญาตรี เริ่มต้นที่ £10,000 - £26,000 ต่อปี หรือประมาณ 470,000-1,200,000 บาทต่อปี
    • ปริญญาโท เริ่มต้นที่ £ 5,000 - £30,000ต่อปี หรือประมาณ 240,000-1,500,000 บาทต่อปี

3. เลือกที่พักในราคาเข้าถึงได้ง่าย

การเลือกที่พักอาศัย ควรพิจารณาจากหลายปัจจัย ทั้งด้านความปลอดภัย ขนาดของที่พัก รวมถึงลักษณะของที่พักอาศัย เช่น หอพักนักศึกษา อะพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม บ้านเช่า ฯลฯ ทั้งนี้ สำหรับคนที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ แนะนำให้เลือกที่พักที่ไม่ไกลจากสถานศึกษา หรือเลือกอยู่ที่หอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หรืออาจหารูมเมทเพื่อหารค่าที่พัก ก็จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน

เลือกตั๋วเครื่องบินที่เหมาะสม

4. เลือกตั๋วเครื่องบินที่เหมาะสม

ค่าตั๋วเครื่องบิน เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการเรียนต่อต่างประเทศ โดยหากสามารถลดค่าเดินทางส่วนนี้ลงได้ ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงได้อีก แนะนำให้วางแผนการเดินทางล่วงหน้า ทำตารางเปรียบเทียบราคาของแต่ละสายการบิน รวมถึงเปรียบเทียบราคาค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าโหลดกระเป๋า ค่าอาหารบนเครื่อง รวมถึงค่าบริการอื่นๆ แล้วทำการจองล่วงหน้าก่อนเดินทางอย่างน้อย 4 เดือน เพื่อให้ได้ตั๋วเครื่องบินราคาถูก และสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางกลับประเทศไทยบ่อยๆ แนะนำให้เลือกเรียนต่างประเทศในโซนเอเชีย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป-กลับ

5. กำหนดเป้าหมาย และวางแผนการออม

การวางเป้าหมายจะช่วยให้เราสามารถศึกษาข้อมูลของสถาบันการศึกษาในประเทศนั้นๆได้ และสามารถประมาณค่าใช้จ่ายในการศึกษา ค่าที่อยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายจิปาถะในการใช้ชีวิตได้ ทำให้เราสามารถวางแผนในการออมเงินเพื่อเป็นทุนในการไปเรียนต่างประเทศได้ง่ายขึ้น หากเราออมเงินมามากพอสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ได้ ก็จะสามารถศึกษาต่อที่ต่างประเทศได้อย่างสะดวก ไม่ติดขัดทางการเงิน ความเครียดลดลง แต่หากไม่ได้วางแผนออมเงิน หรือไม่มีเงินเก็บเลย ก็อาจไม่ทันกำหนดการที่ต้องการจะไปเรียนต่อต่างประเทศได้

สอบชิงทุนเรียนต่อต่างประเทศ

6. สอบชิงทุนเรียนต่อต่างประเทศ

ในปัจจุบันมีหลายองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนที่ให้ทุนการศึกษา และทุนเรียนต่อต่างประเทศมากมาย มีทั้งแบบให้เปล่า และให้แบบมีเงื่อนไข ทั้งนี้ควรศึกษารูปแบบของทุนการศึกษาที่ต้องการก่อน เช่น ให้ทุนการศึกษาแบบเป็นตัวเงิน หรือให้ทุนการศึกษาเป็นส่วนลดค่าเทอม ซึ่งจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการศึกษาและอยู่อาศัยลดลงได้ ตัวอย่างทุนการศึกษาที่น่าสนใจ ได้แก่

  • Destination Australia Scholarship เป็นทุนของรัฐบาลออสเตรเลียที่มอบทุนให้กับนักศึกษาออสเตรเลีย และนักศึกษาต่างชาติที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ จำนวน 500 ทุน โดยมอบเงินสนับสนุนสูงสุดถึง 15,000 AUD เพื่อให้นักศึกษาได้รับโอกาสในการศึกษาต่อในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคท้องถิ่นของออสเตรเลีย พร้อมเรียนรู้วัฒนธรรมและร่วมพัฒนาสถานศึกษาในท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
  • Chevening Scholarship เป็นทุนของรัฐบาลอังกฤษที่ช่วยสนับสนุนนักศึกษาที่มีความสามารถทางวิชาการ มีศักยภาพในการเป็นผู้นำ และพร้อมที่จะนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาประเทศตนเอง โดยทุนนี้เป็นทุนเรียนต่อต่างประเทศระดับปริญญาโท ที่มีอัตราการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากมีเงื่อนไขผูกมัดเล็กน้อย เพียงกำหนดให้ผู้ที่ได้รับทุนต้องกลับไปทำงานที่ประเทศของตนเองอย่างน้อย 2 ปี

7. หาแหล่งเงินทุนเรียนต่อต่างประเทศ

การเลือกขอสินเชื่อ เป็นวิธีที่ช่วยให้ได้เงินด่วนในระยะเวลาสั้น ไม่ต้องใช้เวลาในการเก็บออม ควรเลือกแหล่งให้กู้เงินที่ถูกกฎหมาย เพื่อรักษาสิทธิ์ที่สมควรจะได้รับ และมีอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม และสำหรับผู้ที่สนใจกู้เงินเรียนต่อต่างประเทศ สามารถขอ สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan* สินเชื่อส่วนบุคคลที่ให้บริการกู้ยืมเงินได้อย่างรวดเร็ว รู้ผลอนุมัติเร็วสุดภายใน 15 นาที ไม่ต้องใช้เอกสาร โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ หรือมีผู้ค้ำประกัน อีกทั้งทางธนาคารกสิกรไทยยังเปิดให้ขอสินเชื่อด้วยตนเองผ่านทาง K PLUS และรอผลอนุมัติได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สาขาอีกด้วย


สรุป

การเรียนต่อต่างประเทศนับว่าเป็นการเปิดโอกาสในชีวิตหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเงิน การศึกษา หรือการเปิดประสบการณ์ให้กับตนเอง ทั้งนี้ก่อนตัดสินใจไปเรียนต่อ ควรประเมินความพร้อม และความต้องการของตนเองก่อนว่าต้องการที่จะเรียนต่อต่างประเทศจริงหรือไม่ จากนั้นคำนวณค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และค่าครองชีพของประเทศที่ต้องการจะไปก่อน เมื่อได้ยอดแล้วให้ลองคำนวณเงินที่มีอยู่ในตอนนี้ว่าเพียงพอต่อการเดินทางหรือไม่


สำหรับผู้ที่สนใจจะไปเรียนต่อต่างประเทศเรียนต่อต่างประเทศ แต่ยังขาดเงินทุนอยู่ แล้วต้องการเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด แนะนำสินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan* สินเชื่อที่จะช่วยให้คุณมีเงินมาต่อยอดอนาคต เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความฝันมุ่งสู่โลกอันกว้างใหญ่ที่ดีกว่าเดิม


* กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 17% - 25% ต่อปี

อ่านบทความช่วยเรื่องกู้รู้จริงเพิ่มเติม

คลิกเลย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top