“
ประกันชีวิตทุกวันนี้มีหลายรูปแบบ แต่ละแบบล้วนตอบความต้องการที่ต่างกัน
หลายคนจึงสงสัยว่าแบบประกันนั้นต่างกันอย่างไร
มีสักเท่าไรถึงเรียกว่าดี
ประกันชีวิตที่ถืออยู่ตอนนี้เหมาะสมแล้วหรือยัง
และถ้าจะซื้อเพิ่มควรซื้อแบบไหนดี
“
ประกันชีวิต ตอบโจทย์ไหนได้บ้าง
- คุ้มครองชีวิต >> เหมาะกับประกันตลอดชีพ แบบจ่ายเบี้ยยาวๆ จะได้มีความคุ้มครองสูงๆ
- เก็บออม >> เหมาะประกันสะสมทรัพย์ ที่ IRR สูงๆ ความยาวของสัญญาพอดีกับเป้าหมาย ที่ตั้งใจ
- แนบคู่ประกันสุขภาพ >> เหมาะกับประกันตลอดชีพ จะได้ต่ออายุความคุ้มครองกันได้ยาวๆ
ต้องการอะไร ประกันก็ออกแบบได้
01 ต้องการ “คุ้มครองชีวิต”
เลือกแบบไหนดี >> ดูที่ทุนสูงๆ จ่ายเบี้ยยาวๆ
- ควรเน้นประกันชีวิตแบบที่ ทุนต่อเบี้ยประกันสูงๆ เพราะด้วยเบี้ยรายปีที่เท่ากัน เช่น จ่ายเบี้ยประมาณ 1 แสนบาท ด้วยประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/5 ที่จ่ายเบี้ย 5 ปี ก็ให้ความคุ้มครองชีวิตสูงถึง 1.29 ล้านบาท
- แต่ถ้าอยากได้ความคุ้มครองสูงกว่านี้ลองเลือกประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพที่จ่ายเบี้ยยาวขึ้น เช่น 19 ปี ด้วยประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/19 ที่เบี้ยรายปีเท่าเดิม แต่ให้ความคุ้มครองชีวิตสูงถึง 5.15 ล้านบาท
- หรือบางบริษัทประกันก็จะมีประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ที่แม้เป็นแบบเบี้ยทิ้งไม่มีเงินครบ สัญญาหรือมูลค่าเวนคืนแต่ก็ให้ความคุ้มครองสูงขึ้นไปอีก หรือหากมีเวลาศึกษาอาจลอง ดูประกันชีวิตแบบ Unit – Linked ที่สามารถปรับเพิ่มลดความคุ้มครองชีวิตให้สอดคล้อง กับความต้องการในแต่ละช่วงชีวิตได้
คุ้มครองเท่าไรดี >> ให้ดีซื้อทุนไว้ที่ 3 เท่าของรายได้ต่อปี
- ความคุ้มครองชีวิตมีเท่าไรถึงพอดี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ซื้อประกันในแต่ละครั้ง หากซื้อเพราะกังวลว่าครอบครัวจะไม่มีเงินใช้จ่ายยามเราจากไป ก็ลองดูสัก 3 เท่าของรายได้ต่อปี น่าจะช่วยให้เสมือนว่าเรายังอยู่ดูแลครอบครัวไปอีก 3-5 ปี เช่น เงินเดือน 100,000 บาท ควรมีทุนประกันชีวิตอย่างน้อย 3.6 ล้านบาท เป็นต้น
- หรือถ้าใครมองว่ายังไม่พออยากมีมรดกก้อนโตหรือมีความกังวลอื่นอีก เช่น หนี้สิน การศึกษาลูก ฯลฯ ทุนประกันที่เหมาะสมก็เพิ่มมากขึ้นได้
จ่ายเท่าไรถึงพอดี >> ค่าเบี้ยอย่าให้เกิน 10%ของรายได้
- นอกจากทุนประกันแล้ว ควรดูเบี้ยประกันด้วยว่าไม่สูงเกินไป ให้ดีค่าเบี้ยประกันควรอยู่ที่ 5%-10%ของรายได้ เช่น คนเงินเดือน 100,000 บาท เบี้ยก็ไม่ควรเกินปีละ 60,000 – 120,000 บาท จะได้ไม่หนักเกินไป
- แต่ถ้ายังไม่พร้อมจ่ายเป็นรายปี ลองเลือกแบบราย 6 เดือน ราย 3 เดือน หรือรายเดือน ที่แม้ค่าเบี้ยรวมทั้งปีจะสูงขึ้นมาหน่อย
- เช่น ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/19 เบี้ยรายเดือนๆ ละ 8,801 บาท รวมทั้งปี 105,610 บาท (จากเบี้ยรายปี = 100,000 บาท) แต่ก็ได้ความคุ้มครอง 5.15 ล้านบาท หลังกรมธรรม์อนุมัติตั้งแต่จ่ายเบี้ยประกันครั้งแรกเลย ถ้ามัวแต่รอบเก็บเงินให้ครบปีก่อน แล้วค่อยตัดสินใจซื้อประกัน ก็ไม่มีทางรู้เลยว่าระหว่างนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง
02 ต้องการ “เก็บออม”
เลือกแบบไหนดี >> ดูที่ IRR และความยาวของสัญญา
- ควรเน้นประกันแบบที่ได้เงินคืนแน่นอน มีระยะเวลาที่ชัดเจน อย่างประกันชีวิตเพื่อสะสม ทรัพย์ ที่มีระยะเวลาของสัญญาพอดีกับเป้าหมายที่ตั้งใจ เช่น ประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์ 520 ก็เหมาะกับคนที่ต้องการใช้เงินก้อนในอีก 20 ปี เป็นต้น
- ส่วนผลประโยชน์ที่ได้จากประกันชีวิต ปกติมักระบุเป็น %ของทุนประกัน เช่น ประกันชีวิตเพื่อ สะสมทรัพย์ 520 ที่มีผลประโยชน์รวมตลอดสัญญา 218%ของทุนประกัน แต่การดูผล ตอบแทนหรือความคุ้มค่าจริงๆ แล้ว ควรดูที่ค่าเบี้ยประกันที่จ่ายด้วย เพราะต่อให้ทุนประกัน เท่ากัน ได้ผลประโยชน์รวมเป็นเงินเท่ากัน แต่เบี้ยประกันของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ซึ่งมักขึ้น กับเพศและอายุของแต่ละคน ถ้าอยากเปรียบเทียบจริงๆ แนะนำให้เปรียบเทียบด้วย IRR* ดีกว่า ส่วนประกันที่จะซื้อ IRR เป็นเท่าไรนั้น จริงๆ ก็สามารถสอบถามจากคนที่ขายประกัน นั้นก็ได้
- หรือถ้าตั้งใจเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณ ประกันชีวิตเพื่อบำนาญก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วย ให้มีเงินบำนาญรายปีที่แน่นอนหลังเกษียณ หรือเลือกแบบประกัน Unit – Linked ที่อาจเพิ่ม ผลตอบแทนตามระดับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ควบคู่ไปกับการสร้างความคุ้มครองชีวิตได้ด้วย
ค่าเบี้ยสักเท่าไร >> ดูกันที่ความสามารถเก็บออม
- ส่วนค่าเบี้ยประกัน แม้เงินที่จ่ายนี้จะเพื่อเก็บออมแต่ก็ต้องไม่เป็นภาระเกินไป ควรประเมิน ตนเองว่าเก็บไหวที่เดือนหรือปีละเท่าไร แล้วเลือกจ่ายเบี้ยให้เหมาะกับตนเอง อย่าลืมว่าการ เก็บเงินในรูปแบบเบี้ยประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์แม้ได้เงินคืนแน่นอนแบบไม่ต้องลุ้นเหมือนการลงทุน แต่ก็เป็นพันธะผูกพันที่ต้องจ่ายเบี้ยทุกปีตามสัญญา ยิ่งใครมีภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างผ่อนหนี้สิน หากช่วงไหนเศรษฐกิจไม่ดีรายได้หดหาย ค่าใช้จ่ายจะได้ไม่ตึงมือเกินไป
03 ต้องการ “ค่ารักษาพยาบาล”
เลือกแบบไหนดี >> เบี้ยต่ำ ทุนสูง สัญญายาว
- ประกันสุขภาพส่วนใหญ่ โดยเฉพาะแบบที่วงเงินค่ารักษาพยาบาลสูงๆ หรือประกันที่ ครอบคลุมโรคร้ายแรงต่างๆ มักเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่ต้องซื้อคู่กับประกันชีวิต และเงื่อนไข ส่วนหนึ่งในการต่ออายุ คือ ปีนั้นๆ ประกันชีวิตที่ซื้อคู่ต้องยังไม่หมดสัญญา อีกทั้งวงเงิน ความคุ้มครองสัญญาเพิ่มเติมที่ซื้อได้ยังอาจขึ้นอยู่กับทุนของประกันชีวิตหลัก เช่น สัญญา เพิ่มเติม Multiple CI Plus ที่คุ้มครอง 4 กลุ่มโรคร้ายแรง จะซื้อความคุ้มครองได้ไม่เกิน 5 เท่าของทุนประกันชีวิตหลัก เป็นต้น
- สำหรับใครที่เน้นวงเงินความคุ้มครองสุขภาพสูงๆ และยาวๆ ควรเลือกประกันชีวิตที่มีทุน ประกันชีวิตสูงที่สุดและสัญญายาวที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ซึ่งแบบประกันที่ว่าก็คือประชีวิต เพื่อคุ้มครองตลอดชีพ ที่สัญญายาวถึงอายุ 99 ปี และมีทุนประกันสูงกว่าประกันชีวิต แบบอื่นๆ ที่ค่าเบี้ยเท่ากัน
ค่าเบี้ยสักเท่าไร >> ให้พอดีกับทุนหลักที่จำเป็น
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตที่แนบคู่กับสัญญาเพิ่มเติมนั้น หากไม่ได้ต้องการความคุ้มครองชีวิต หรือการเก็บออม ควรเลือกแบบที่ค่าเบี้ยประกันหลักถูกที่สุด ที่จะทำให้ซื้อสัญญาเพิ่มเติม ที่ต้องการได้
- เช่น หากต้องการความคุ้มครองโรคร้ายแรง 5 ล้าน จากสัญญาเพิ่มเติม Multiple CI Plus ต้องมีทุนประกันชีวิตอย่างน้อย 1 ล้านบาท หากเลือกซื้อคู่กับประกันชีวิตเพื่อคุ้มครอง ตลอดชีพ 99/19 ที่จ่ายเบี้ยยาวๆ เบี้ยประกันชีวิตหลักจะอยู่ที่เพียงปีละ 19,430 บาท เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าประกันเพื่อคุ้มครองตลอดชีพแบบอื่นๆ
- สำหรับใครที่อยากซื้อประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการอื่นอีก เช่น ความคุ้มครองชีวิต ฯลฯ ควรแยกซื้ออีกฉบับโดยไม่ต้องมีสัญญาเพิ่มเติมแนบ เพราะอนาคตเปลี่ยนแปลงได้เสมอในวันที่เราอาจไม่ต้องการความคุ้มครองชีวิตแล้ว แต่ยังคงกังวลกับค่ารักษาพยาบาลอยู่ การตัดสินใจยุติความคุ้มครองโดยใช้สิทธิเวนคืน ประกันฉบับหนึ่ง โดยไม่กระทบอีกฉบับหนึ่งที่ยังแนบสัญญาเพิ่มเติมอยู่ ก็เป็นสิ่งที่ควร วางแผนไว้แต่เนิ่นๆ
ประกันชีวิต มีดีกว่าที่คิด
นอกจากประกันชีวิตจะตอบโจทย์แต่ละความต้องการที่ว่ามาแล้ว
- สิทธิลดหย่อนภาษียังเป็นผลพลอยได้จากการซื้อประกันด้วย
- เงินที่ได้จากประกันชีวิตกรณีเสียชีวิตหากระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ไว้ชัดเจนแล้ว ทายาทก็ไม่ ต้องปวดหัวกับขั้นตอนการจัดการมรดกที่อาจใช้เวลาหลายเดือน กว่าจะนำเงินของของเรา ออกมาใช้จ่ายได้ และไม่ต้องกังวลว่าทายาทต้องเสียภาษีจากเงินก้อนนี้
- หรือจะลองดูประกันชีวิต Unit – Linked ที่ตอบโจทย์หลายๆ ด้าน ทั้งความคุ้มครองชีวิต และลงทุนได้ด้วยกรมธรรม์เพียงฉบับเดียว และสามารถเลือกแนบสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ด้วยก็ได้
* IRR เสมือนอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี ที่เราได้จากประกันชีวิตเมื่อถือจนครบสัญญา (%ต่อปี) หมายเหตุ : ตัวอย่างค่าเบี้ยประกันชีวิต สำหรับผู้ชาย อายุ 30 ปี
โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน