“
“ศูนย์กลางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก” เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริงนักสำหรับ “เอเชีย”
ภูมิภาคที่เป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการรายใหญ่ที่หมุนวงล้อเศรษฐกิจโลก
ด้วยกำลังบริโภคของประชากรจำนวนมหาศาล
ซึ่งหากนับเฉพาะจีนและอินเดียก็มีจำนวนครอบคลุมไปถึงเกือบ 60%
ของประชากรทั่วโลกแล้ว
“
ไม่เพียงเท่านั้น “กลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ในเอเชีย” ซึ่งครอบคลุมทั้งกลุ่ม Middle Class ที่มีกำลังซื้อ เพิ่มขึ้นและกลุ่ม Gen-Z ยังมีแนวโน้มขยายตัวแบบก้าวกระโดด และช่วยขับเคลื่อนการบริโภค ได้อย่างทรงพลัง ทั้งด้วยความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นและหันไปใช้สินค้าและ บริการที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ส่งผลสืบเนื่องให้ทุกภาคส่วนในเอเชียล้วนต้องเร่ง คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้นมาตอบสนองเทรนด์การบริโภคของคนกลุ่มนี้ ยิ่งเมื่อผนวกกับการคาดการณ์ว่า ในปี 2566 เอเชียจะครองสัดส่วนถึง 90% ของกลุ่มผู้บริโภค Middle Class ทั่วโลกที่ขยายตัวขึ้นอีก 1,000 ล้านคน¹ และการบริโภคในกลุ่มดังกล่าวของ เอเชียจะแซงหน้าสหรัฐฯ ไปกว่า 6 เท่าตัวในอีก 27 ปีที่จะมาถึง² ก็ยิ่งสะท้อนชัดว่า กำลังการ บริโภคในเอเชียจะยังคงเป็นฟันเฟืองสำคัญที่หมุนวงล้อเศรษฐกิจโลกต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
(ที่มา:¹ J.P. Morgan Asset Management, Mar 2021 ² Lombard Odier, Feb 2021)
ด้านกลุ่ม Gen-Z ในเอเชียก็มีความสำคัญในฐานะ “ผู้บริโภครุ่นใหม่” ไม่แพ้กัน สไตล์การบริโภค ที่ฉีกจากคนรุ่นก่อนของเหล่า Gen-Z ล้วนผลักดันการเติบโตให้อีกหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น เทรนด์การบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainability Trend) ที่หันมาให้ความสำคัญกับการใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในชีวิตประจำวันอย่างเข้มข้นที่ผลักดันให้ธุรกิจในกลุ่มเทคโนโลยีทั้ง Internet of Things, Social Media, Video Content รวมถึง Cloud Computing มีโอกาสขยายตัวตามไปด้วย จนคาดว่าในปี 2568 เราอาจเห็นอัตราการเติบโตของการใช้ Cloud ในจีนสูงกว่าในสหรัฐฯ กว่าเท่าตัว
(ที่มา: J.P. Morgan Asset Management, Mar 2021)
นี่ยังไม่นับเทรนด์การบริโภคอื่นๆ ของคนเอเชียที่น่าจับตามอง อย่าง Trend ที่มาพร้อมการ บรรเทาปัญหา Climate Change ที่มาแรงจนทำให้เอเชียกลายเป็นตลาดรถ EV ที่ใหญ่สุด ในโลก และมียอดขายสูงกว่าในสหรัฐฯและยุโรปราว 4-5 เท่า และคาดการณ์ว่าอีก 4 ปีข้างหน้า ปริมาณรถ EV ในจีนจะทะยานขึ้นไปถึง 5 ล้านคัน (ที่มา: Allianz Global Investors, Dec 2020) การใช้พลังงานสะอาดที่เป็นเหตุผลเบื้องหลังยอดการติดตั้งแผง Solar Cell ที่มากที่สุดในโลก ของเอเชีย ตลอดจนการพัฒนาบริการด้านสาธารณสุข การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึง อานิสงส์จากการขยายตัวของเมือง (Urbanization) เหล่านี้ล้วนเป็นกลไกสำคัญที่ผลักดันให้ บริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มการเติบโตสูงตามไปด้วย
หากเจาะลงไปมองกันรายประเทศ ปัจจุบันกลุ่มประเทศในเอเชียเหนืออย่าง จีน ไต้หวัน และ เกาหลีใต้ ถือเป็นหัวหอกสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจและตลาดหุ้นเอเชียเติบโต เนื่องจาก นโยบายภาครัฐยังคงแข็งแกร่งและคับคั่งด้วยภาคธุรกิจที่มุ่งไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการที่อิงกับนวัตกรรมเพื่อตอบสนองการยกระดับคุณภาพชีวิตของ “กลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่” ที่เป็น “สายเปย์ที่แท้ทรู” ของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งแน่นอนว่า บริษัทไหนมีโมเดลธุรกิจตอบโจทย์ผู้บริโภค กลุ่มนี้ได้ ก็ย่อมมีโอกาสครองความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น ทำให้โอกาสลงทุนในบริษัทเอเชียที่ได้ ประโยชน์จากกำลังบริโภคภายในภูมิภาคอย่างกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) จำพวกสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าฟุ่มเฟือย IT การเงิน และธุรกิจดูแลสุขภาพเป็น ทางเลือกที่ไม่ควรมองข้าม
และหากวิเคราะห์ไปถึงโอกาสเติบโตของตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย นับว่ายังมีโอกาสไปต่อได้อีก จากแนวโน้มการเพิ่มสัดส่วนในหุ้นเอเชียเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าหุ้นเอเชียมีสัดส่วนในดัชนีหุ้นโลก (MSCI ACWI) เพียง 11.18% ซึ่งถือเป็นสัดส่วน ที่ค่อนข้างน้อย ในขณะที่มูลค่าทางเศรษฐกิจในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) อยู่ในระดับสูงถึง 32% ของ GDP โลกและยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก (ที่มา: Morgan Stanley, Dec 2020)
นอกจากนี้ หุ้นเอเชียยังมีกำไรและอัตราการเติบโตดี ซึ่งหากพิจารณาจาก Return on Invested Capital: ROIC และ Growth ก็ยังมีสัดส่วนสูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยเอเชียอยู่ที่ระดับ 18.5% ขณะที่สหรัฐฯและยุโรปอยู่ที่ 12.9% และ 9.3% ตามลำดับ (ที่มา: Morgan Stanley, Dec 2020) ไม่เพียงเท่านั้น ดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำทั่วโลกและสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่สูงยังช่วยหนุน กระแสเงินลงทุนไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชียอีกด้วย
สำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและพร้อมลงทุนระยะยาวเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ น่าสนใจจากการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังบริโภคของกลุ่มผู้บริโภค รุ่นใหม่ รวมถึงเก็บเกี่ยวโอกาส “ปังๆ” จากกลุ่มบริษัทที่จะได้ประโยชน์จากเทรนด์การบริโภค ข้างต้น “กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นภูมิภาคเอเชีย” โดยเฉพาะกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ (Big Cap) ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ
แต่หากยังกังวลกับความผันผวนในตลาดหุ้นเอเชีย ลองหันไปพิจารณา กองทุนที่มีโมเดลช่วยควบคุมความผันผวน ก็อาจเป็นคำตอบที่ดีสำหรับ การสะสมโอกาสรับผลตอบแทนจากเทรนด์การบริโภคในเอเชียได้
โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน