คิดต้นทุนขายยังไงให้คุ้ม วิธีคำนวณราคาขายให้ได้กำไร
การจะลงทุนทำอะไรสักอย่าง ทุกคนก็ล้วนแล้วแต่ต้องการกำไรกลับมาทั้งนั้น ยิ่งในปัจจุบันมีการขายของออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชันต่างๆ รวมถึงการไลฟ์สดขายของ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าราคาที่ตั้งไว้สูงกว่าต้นทุนขาย ที่ซื้อมาหรือไม่ แล้วคุณสามารถคำนวณต้นทุนสินค้าได้อย่างไร วันนี้ K BIZ จาก ธนาคารกสิกรไทย จะมาบอกคุณเอง
รู้จักกับต้นทุนขาย
ก่อนที่จะไปเริ่มฝึกสกิลการไลฟ์ขายของให้สนุกนั้น K BIZ จาก ธนาคารกสิกรไทย อยากแนะนำให้คุณรู้จักกับความหมายของคำว่า “ต้นทุนขาย” เสียก่อน เพราะว่าต้นทุนขายคือบันไดก้าวแรกของการทำธุรกิจ ที่จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เนื่องจาก “ต้นทุนขาย” เป็นข้อมูลเบื้องต้น ที่จะให้กำหนดราคาขายของสินค้านั้นๆ โดยมีราคาส่วนต่างเป็นกำไร
โดยหลายคนอาจจะคิดง่ายๆ ว่า “ต้นทุนขาย” คือ ราคาของที่เราไปซื้อมา ซึ่งอาจจะเป็นคำตอบที่ใช่ สำหรับสินค้าประเภทซื้อมาขายไปในแบบดั้งเดิม แต่ถ้าหากมาจำแนกดูดีๆ แล้ว มันยังมีต้นทุนแฝงหลายอย่าง ที่ทำให้เราต้องนำมาบวกเป็นต้นทุนเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น ค่าเดินทาง ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าร้านร้าน ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างทาง
ดังนั้นการคิดต้นทุนขายกำไรและราคาขายจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่มองข้ามไม่ได้ โดยในฐานะเจ้าของกิจการ ก็ควรที่จะรู้จักการคำนวณต้นทุน และควรที่จะคำนวณต้นทุนให้เป็นด้วย
ไม่มีต้นทุนขายได้ไหม
จะพูดกันตามตรงแล้ว สินค้าทุกอย่างที่คุณจะนำมาขายนั้น ล้วนแล้วแต่มีต้นทุนทั้งนั้น หากคุณจะนำสินค้ามาวางขายโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนขาย ในทางปฏิบัติแล้วก็สามารถทำได้ แต่คุณจะต้องแบกรับความเสี่ยงในการไม่คำนวณต้นทุนเอาไว้ด้วย เพราะการคิดต้นทุนขายกำไรและราคาขายจะทำให้คุณทราบว่า คุณควรขายสินค้าชนิดนี้ต่อไปหรือไม่
สมมติว่าคุณไลฟ์ขายเสื้อยืดออนไลน์ แล้วปรากฎว่าสามารถทำยอดขายได้อย่างถล่มทลาย จนต้องไปสั่งซื้อสินค้ามาเติมสต๊อก แต่สินค้าล็อตใหม่นั้นบางตัวมีตำหนิจนต้องคัดออกจากสต๊อก ทำให้ต้นทุนขายของคุณสูงขึ้น จะคิดง่ายๆ ว่า เดี๋ยวเอาตัวที่เปื้อนมาใส่นอนเองก็ได้แบบนี้นั้น อาจทำได้ในกรณีเป็นการค้าปลีกตามท้องตลาด
แต่ถ้าหากคุณคิดที่จะทำธุรกิจขายเสื้อยืดออนไลน์เป็นธุรกิจอย่างจริงจัง คุณไม่ควรปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านเลยไป และคุณจะต้องคิดถึงการคำนวณต้นทุนการผลิตให้มากขึ้น เพราะตอนนี้ต้นทุนขายสินค้าล็อตใหม่ของคุณสูงขึ้น เนื่องจากมีสินค้าบางส่วนที่เสียหาย เวลาขายรอบใหม่ ก็ต้องปรับราคาให้สูงขึ้นตามไปด้วย ไม่เช่นนั้น คุณจะเป็นคนที่ต้องแบกรับภาระค่าต้นทุนขายส่วนเกินเอง ทำให้ขายสินค้าไป แต่ได้กำไรไม่เข้าเป้า
วิธีคำนวณต้นทุนขายให้ไม่ขาดทุน
ก่อนที่จะเริ่มตั้งราคาขาย คุณต้องมีการคำนวณต้นทุนการผลิตเสียก่อน โดยต้นทุนขายนั้นต้องคำนวณจากต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต ซึ่งบางคนคิดต้นทุนขายเอาไว้อย่างรอบคอบได้ แต่ดันไม่บวกค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าสถานที่ลงไปด้วย ก็อาจจะทำให้ราคาขายนั้นต่ำกว่าต้นทุนขายที่เกิดขึ้นจริง
คำนวณต้นทุนขายจากวัตถุดิบหลัก
เราสามารถทำการคำนวณต้นทุนของสินค้าได้ ด้วยการนำต้นทุนการผลิตทั้งหมดมารวมกัน แล้วบวกกำไรที่เราต้องการเข้าไป ก็จะได้ราคาขาย
- ยกตัวอย่าง
ถ้าเราอยากจะขายหูฟังตัดเสียงรบกวนที่เราซื้อมาในราคา 3,000 บาท ให้ได้กำไร 150 บาท โดยมีค่าขนส่งอยู่ที่ 50 บาทนั้น จะต้องตั้งราคาขายตามสูตร - สูตร
ราคาขาย = ราคาต้นทุน + กำไรที่ต้องการ - 3,200 บาท = 3,050 บาท + 150 บาท
ดังนั้น เราต้องตั้งราคาขายหูฟังตัดเสียงรบกวนคู่นี้ที่ 3,200 บาท
คำนวณต้นทุนขายจากค่าแรงการผลิต
ในกรณีที่เราเป็นผู้ผลิตสินค้าเอง เราต้องคำนวณต้นทุนค่าแรงในการจ้างพนักงานลงไปด้วย เพราะเงินเดือนของพนักงานนั้น ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในค่าแรงการผลิตด้วยเช่นกัน โดยเราจะนำเงินเดือนของพนักงานมาหารด้วยจำนวนสินค้าที่พนักงานผลิตได้ใน 1 เดือน แล้วบวกเข้าไปเป็นต้นทุนต่อชิ้น
- ยกตัวอย่าง
ในกรณีที่เราจ้างพนักงานมาทำเค้กกระป๋องเดือนละ 5000 บาท ในแต่ละเดือนพนักงานจะทำเค้กได้ 1000 ชิ้น โดยเรามีต้นทุนค่าวัตถุดิบคงที่ชิ้นละ 50 บาท และเราต้องการกำไรชิ้นละ 20 บาท เราต้องตั้งราคาขายตามสูตร - สูตร
ราคาขาย = ราคาต้นทุนวัตถุดิบ + *ค่าแรงการผลิต + กำไรที่ต้องการ
*โดยค่าแรงการผลิต = (เงินเดือนพนักงาน/จำนวนสินค้าที่ผลิตได้) - 75 บาท = 50 บาท + 5 บาท (5000 บาท /1000 บาท) + 20 บาท
ดังนั้น เราต้องขายเค้กกระป๋องชิ้นละ 75 บาท
คำนวณต้นทุนขายจากค่าใช้จ่ายในการผลิต
จริงๆ แล้ว การคำนวณต้นทุนยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการผลิตด้วยเช่นกัน เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าเช่าอาคาร
- ยกตัวอย่าง
ในกรณีที่เปิดร้านขายชุดนักเรียน ต้นทุนการผลิตของเราคือ ค่าผ้า 3,000 บาท ค่าจักรเย็บผ้า 1,000 บาทและค่าด้าย 500 บาท มีค่าใช้จ่ายในการผลิต คือ ค่าไฟฟ้า 500 บาท โดยในเดือนนั้น เราสามารถตัดชุดนักเรียนได้ 500 ชุด และต้องการกำไรชุดละ 100 บาท เราสามารถตั้งราคาขายตามสูตรได้ดังนี้ - สูตร
ราคาขาย = [(ต้นทุนการผลิต + ค่าใช้จ่ายในการผลิต)/จำนวนสินค้าทั้งหมด] + กำไรที่ต้องการ - 110 บาท = [(5,000 บาท)/500 บาท]+100 บาท
ดังนั้น เราต้องตั้งราคาขายชุดนักเรียน ชุดละ 110 บาท
คำนวณราคาขายให้ได้กำไร
เมื่อได้ต้นทุนขายแล้ว ก็จะสามารถนำมาคำนวณต้นทุนเพื่อหากำไรที่ต้องการได้ โดยคำนึงถึงกำไรที่เราต้องการขายจากต้นทุนขาย เพื่อไม่ให้ขายสินค้าขาดทุนหรือขายสินค้าแบบไม่ได้กำไร โดยเมื่อคำนวณต้นทุนเสร็จสิ้นแล้ว ให้บวกกำไรต่อชิ่นเข้าไปทุกครั้ง
วิธีคำนวณราคาขายให้ได้กำไร
วิธีการคำนวณต้นทุนนั้นไม่ยาก เพียงแค่นำต้นทุนทั้งหมดมาเป็นตัวแปรแรก จากนั้นให้บวกกำไรเพิ่มเข้าไป ก็จะได้ราคาขายที่ทำให้เราไม่ขาดทุนแล้ว
- ยกตัวอย่าง
เรามีโต๊ะ 1 ตัวราคา 1,000 บาท ต้องการกำไร 200 บาท ก็สามารถใช้สูตรนี้ได้ - สูตร
ราคาขาย = ราคาต้นทุน + กำไรที่ต้องการ - 1,200 บาท = 1,000 บาท + 200 บาท
ดังนั้น เราควรตั้งราคาขายไว้ที่ 1,200 บาท
ข้อดีของการรู้ต้นทุนขาย
การรู้ต้นทุนขายด้วยการคำนวณต้นทุนทำให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจหลายอย่าง
ตั้งราคาสินค้าได้เหมาะสมกับต้นทุนขาย
การทราบต้นทุนขายจะช่วยให้เราตั้งราคาสินค้าได้เหมาะสมกับต้นทุนขาย โดยหากสินค้าไหนมีต้นทุนขายสูง ก็ควรจะต้องตั้งกำไรให้สูงตามต้นทุนขาย
วางแผนในการผลิตได้ชัดเจนขึ้น
นอกจากนี้ การทราบต้นทุนขาย ยังช่วยวางแผนในการผลิตได้ชัดเจนขึ้น โดยเราจะได้รู้ว่าต้องจ่ายเงินค่าวัตถุดิบในรอบบิลใด และจะได้เงินทุนหมุนเวียนจากการขายสินค้ากลับมาเข้าคลังทันเวลาหรือไม่ เมื่อวานแผนดี ก็ช่วยลดต้นทุนได้
ลดความเสียหายจากตอนผลิต
พอวางแผนต้นทุนขายได้ดี ความเสียหายก็จะน้อยลง ต้นทุนของสินค้าก็จะลดลงด้วย
แข่งขันเรื่องราคากับคู่แข่งได้
เมื่อทราบต้นทุนขายที่แน่นอน คราวนี้คุณก็จะสามารถจะได้กำหนดกลยุทธ์ไว้แข่งราคากับคู่แข่งได้
มีตัวเลขต้นทุนขายกับกำไรที่ถูกต้อง
เมื่อมีตัวเลขต้นทุนขายกับกำไรที่ถูกต้อง ก็จะทำให้การคำนวณกำไรสุทธิถูกต้องและตัวเลขภาษีถูกต้องตามไปด้วย
เมื่อคุณได้อ่านบทความมาถึงตรงนี้ ก็คงทราบดีแล้วว่า ต้นทุนขายคือต้นทุนทั้งหมดของสินค้าและบริการของคุณ ก่อนที่จะบวกค่ากำไรในการดำเนินกิจการลงไป ซึ่งมีความสำคัญกับการตั้งราคาขายให้มีกำไรตามที่ต้องการได้ เพราะหากไม่คำนวณต้นทุนขายก่อน อาจจะทำให้ขายไม่ได้กำไร หรือขายแล้วได้กำไรต่ำกว่าที่ต้องการ
เมื่อเคลียร์เรื่องต้นทุนขายและกำไรเรียบร้อยแล้ว หากกังวลว่าการจัดการเงินยังไม่ดีพอ สามารถใช้บริการของ K BIZ เพื่อจัดการทางการเงินได้เลย เพราะ K BIZ สามารถช่วยจัดการเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงินของคุณให้เป็นเรื่องง่ายได้ในทุกๆ วัน
สนใจบทความที่เกี่ยวข้อง
คลิกเลย