เริ่มขายของออนไลน์สำหรับมือใหม่ รู้ก่อน รวยก่อน เริ่มขายของออนไลน์สำหรับมือใหม่ รู้ก่อน รวยก่อน

เริ่มขายของออนไลน์สำหรับมือใหม่ รู้ก่อน รวยก่อน

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายคนต้องประสบกับปัญหาการทำงาน มีรายได้ไม่เพียงพอ จึงต้องหารายได้เสริมหรือเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นแทน หนึ่งในอาชีพที่ได้รับความนิยม คือ อาชีพพ่อค้าและ แม่ค้าขายของออนไลน์ เพราะอาชีพนี้สามารถสร้างรายได้ ทั้งยังช่วยลดการเดินทาง ลดการพบปะผู้คน ทำให้สามารถลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ
โควิด-19 ได้

แม้การระบาดของโควิด-19 จะบรรเทาลงแล้ว แต่ก็ยังมีคนนิยมซื้อขายกันในโลกออนไลน์ และมีแนวโน้มซื้อขายกันสูงมากขึ้น จึงมีหลายคนอยากเริ่มต้นขายของออนไลน์บ้าง แต่การขายสินค้าออนไลน์ยังมีสิ่งที่ควรรู้ และเรื่องที่ต้องศึกษาก่อนการขายอีกมากมาย ดังนั้น บทความนี้ขอชวนไปศึกษาแนวทางการขายของออนไลน์ที่มือใหม่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจขาย มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

การขายของออนไลน์คือ

ขายของออนไลน์ ช่องทางเข้าถึงลูกค้าง่าย 24 ชั่วโมง

การขายของออนไลน์ คือ การทำธุรกิจซื้อ-ขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยสามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางเว็บไซต์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และ E-Marketplace เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันธุรกิจขายของออนไลน์นั้นเติบโตอย่างมาก เพราะสามารถซื้อขายได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน และซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกได้ว่า อำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเลยทีเดียว

การขายของออนไลน์นั้นทำได้ง่าย ไม่ว่าใครก็สามารถขายออนไลน์ได้ จึงเกิดการแข่งขันในตลาดสูงมาก ดังนั้น สำหรับผู้ที่เริ่มต้นอยากลองขายของออนไลน์ ควรศึกษาข้อดี-ข้อเสียให้ดีเสียก่อน เพื่อไม่ให้ธุรกิจต้องขาดทุนจนล้มเลิกไป

ข้อดีของการขายของออนไลน์

การขายของออนไลน์ มีข้อได้เปรียบกว่าการขายของแบบปกติที่ต้องมีหน้าร้าน โดยข้อดีหลักๆ ของการขายออนไลน์ มีดังนี้

  • ประหยัดต้นทุน การขายของออนไลน์นั้นไม่ต้องเช่าพื้นที่ในการสร้างหน้าร้านขายสินค้า ไม่จำเป็นต้องสต็อกสินค้าก็สามารถเปิดร้านได้ อีกทั้งยังสามารถดูแลร้านค้าออนไลน์ได้ด้วยตัวเองอีกด้วย ทำให้ลดต้นทุนได้ทั้งค่าเช่าสถานที่ ค่าลงทุนสต็อกสินค้า และค่าจ้างพนักงานดูแลร้านได้
  • บริหารจัดการได้มีประสิทธิภาพมากกว่า การขายของออนไลน์ มีข้อมูลสถิติที่บอกชัดเจน เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนที่สินค้าที่ขายได้ทั้งหมด เป็นต้น ด้วยข้อมูลสถิติเหล่านี้จะสามารถนำมาวิเคราะห์แผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ร้านค้าออนไลน์เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถรับลูกค้าได้มากกว่า เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถรับลูกค้าทุกประเภทได้ทั่วประเทศหรือทั่วโลกก็ย่อมได้ อีกทั้งลูกค้ายังสามารถซื้อสินค้าและบริการในร้านค้าออนไลน์ได้ตลอดเวลา ทำให้มีโอกาสขายได้มากกว่าร้านค้าออฟไลน์ทั่วไป
  • อำนวยความสะดวกสบายให้กับลูกค้า ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้า กดชำระเงิน และรอสินค้าส่งไปถึงบ้านได้เลย ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ไม่ต้องการเดินทาง หรือลูกค้าที่เดินทางไม่สะดวก เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นต้น
ขายของออนไลน์ ขายอะไรได้บ้าง

ขายของออนไลน์ ขายอะไรได้บ้าง

ขายของออนไลน์นั้นสามารถขายอะไรก็ได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นสินค้าและบริการที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้ดังนี้

  • สินค้าจับต้องได้ คือ สินค้าที่มีตัวตน สามารถจับต้องได้ เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องสำอาง ของเล่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่องดื่ม ของตกแต่งบ้าน สินค้าแฮนด์เมด อุปกรณ์ศิลปะ และเครื่องดนตรี เป็นต้น
  • สินค้าจับต้องไม่ได้ คือ สินค้าดิจิทัลต่างๆ ที่เป็นสินค้ามีราคา เช่น เพลง รูปภาพ ไอเท็มในเกม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • สินค้าบริการ เช่น ที่พักโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน บัตรกำนัลดิจิทัล เป็นต้น
9 ขั้นตอนขายของออนไลน์อย่างมืออาชีพ มือใหม่ก็สามารถเริ่มได้

9 ขั้นตอนขายของออนไลน์อย่างมืออาชีพ มือใหม่ก็สามารถเริ่มได้

ขายของออนไลน์นั้นเริ่มต้นได้ง่าย แต่การที่จะขายให้ประสบความสำเร็จนั้นทำได้ยาก ถ้าต้องการให้ธุรกิจออนไลน์ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น จะต้องมีการเตรียมตัวที่ดีตั้งแต่เริ่ม ใครที่อยากเป็นพ่อค้าหรือแม่ค้าออนไลน์ ควรมีการ
เตรียมตัวดังต่อไปนี้

  1. กำหนดงบในการลงทุนและเลือกสินค้าที่ต้องการขาย

    การกำหนดงบลงทุนถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่ต้องทำก่อนขายของออนไลน์เลยก็ว่าได้ เพราะทำให้สามารถคำนวณราคาสินค้าที่จะสั่งมาขายได้โดยอยู่ภายใต้งบประมาณที่ตั้งไว้ ที่สำคัญคือควรกำหนดงบประมาณโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วย เช่น ค่าแพ็กสินค้า ค่าจัดส่ง ค่าโฆษณา เป็นต้น เพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายที่อาจบานปลาย

    สิ่งที่ต้องทำควบคู่กับการกำหนดงบประมาณ คือ การเลือกสินค้าที่ต้องการนำมาขาย โดยเลือกสินค้าจากสิ่งที่ชอบ หรือเลือกสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนั้นมาขายก็ได้ เมื่อทราบแล้วว่าต้องการขายสินค้าอะไร ต่อไปให้สำรวจแหล่งซื้อสินค้าที่จะขายว่ามีที่ใดบ้าง ซึ่งสามารถหาได้ทั้งในอินเตอร์เน็ตหรือจากแหล่งขายสินค้ายอดนิยม เช่น ตลาดโรงเกลือ ตลาดประตูน้ำ เป็นต้น เมื่อได้แหล่งซื้อสินค้ามาขายที่ตรงตามต้องการแล้ว ก็จะสามารถคำนวณได้ว่าต้องซื้อสินค้าจำนวนเท่าไร และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างในระหว่างการซื้อเพื่อนำมาขายต่อ

  2. จุดยืนที่ชัดเจนในการขาย

    สำรวจดูว่าสินค้าที่นำมาขายออนไลน์นั้นเป็นสินค้าแบบใด และควรขายเป็นแบบขายปลีกหรือขายส่งดีกว่ากัน เพราะพ่อค้าหรือแม่ค้าหลายๆ คน ก็อยากขายปลีกเพื่อให้สินค้าที่ขายได้ราคาสูง แต่สินค้าบางชนิดอาจจะเหมาะแก่การขายส่งมากกว่า ถึงแม้ว่าจะได้กำไรน้อย แต่ด้วยความที่ขายได้จำนวนมากก็อาจประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ดังนั้น ควรกำหนดจุดยืนการขายที่ชัดเจน พร้อมวางแผนตั้งราคาขายให้ดี เพื่อให้สินค้ามีราคาที่สมเหตุสมผล ไม่ถูกเกินไปจนขาดทุน หรือสูงเกินไปจนไม่มีคนซื้อ

  3. ตั้งชื่อร้าน

    เทคนิคการตั้งชื่อร้านขายของออนไลน์ที่ดี คือ ต้องอ่านง่าย จำง่าย และโดดเด่น จะทำให้ทุกคนสามารถอ่านชื่อและจดจำร้านค้าออนไลน์ของคุณได้ และเกิดการเล่าต่อแบบปากต่อปาก ยิ่งถ้าหากเป็นชื่อที่โดดเด่นไม่ซ้ำใคร ยิ่งทำให้เกิดการจดจำในกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น หรือสามารถตั้งชื่อร้านค้าให้สอดคล้องกับสินค้าที่ขายก็จะช่วยให้เกิดความคุ้นเคยหรือเกิดภาพจำของสินค้าได้ ตัวอย่างเช่น หากเปิดร้านขายเครื่องสำอาง ก็สามารถตั้งชื่อร้านให้มีคำว่า beauty หรือ cosmetic ก็จะทำให้ลูกค้ารับรู้ได้ทันทีว่าเป็นร้านขายเครื่องสำอาง หรือร้านที่เกี่ยวกับความสวยความงามนั่นเอง

  4. เลือกช่องทางขายให้ถูกเป้าหมายลูกค้า

    สำรวจว่าสินค้าที่จะขายออนไลน์นั้นเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มใด แล้วลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น มักอยู่ในช่องทางออนไลน์แบบไหน และเลือกช่องทางนั้นสำหรับร้านค้าออนไลน์ของคุณ ซึ่งช่องทางการขายยอดนิยมในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายช่องทาง ทั้งใน E-Marketplace อย่าง Lazada, Shopee หรือในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Instagram, Twitter, และ Tiktok เป็นต้น ซึ่งในแต่ละแพลตฟอร์มก็เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้แตกต่างกัน ดังนั้น สำรวจให้ดีว่ากลุ่มเป้าหมายลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในช่องทางใด เพราะการเลือกช่องทางการขายที่ดีจะนำพาร้านค้าออนไลน์ให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว

  5. ทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย

    หลังจากที่เปิดร้านค้าออนไลน์แล้ว ด้วยความที่เป็นร้านเปิดใหม่ ทำให้ยังไม่เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้ามากนัก จึงต้องมีการวางแผนทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้คนได้เห็นและรู้จักร้านค้า ตลอดจนสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งการโปรโมทร้านค้าในช่วงเริ่มต้นสามารถทำได้โดยการแชร์หน้าร้านค้าของคุณบนโซเชียลมีเดีย หรือสร้างคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับร้านค้าและสินค้าที่ขายออนไลน์ได้ เช่น หากต้องการโปรโมทร้านค้าผ่านทางโซเชียลมีเดียยอดนิยมอย่าง Tiktok ก็สามารถทำวิดีโอแนะนำสินค้าแบบสั้นๆ พร้อมเชื่อมต่อไปยังช่องทางหลักที่เป็นหน้าร้านค้าของคุณได้

  6. บริหารเวลาในการขาย

    การขายของออนไลน์เป็นช่องทางที่สามารถซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้มีลูกค้าสั่งซื้อสินค้าได้ทุกเวลา หากมีลูกค้าส่งข้อความสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าในเวลาที่คุณไม่สะดวกตอบ หรือตอบช้าเกินไป ก็อาจทำให้ลูกค้าหันไปซื้อสินค้าในร้านอื่นแทน ดังนั้น ควรบริหารเวลาให้ดี ในเวลาที่ไม่สะดวกตอบคำถามลูกค้า สามารถใช้โปรแกรมตอบกลับอัตโนมัติ หรือ
    แชตบอต (Chatbot) ในการแจ้งข้อมูลเบื้องต้นและรายละเอียดต่างๆ กับลูกค้าก่อนได้ เพื่อเป็นการซื้อเวลาไม่ให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปร้านอื่น

  7. ช่องทางการชำระเงินที่สะดวกและหลากหลาย
  8. มีช่องทางการชำระเงินที่สะดวกและหลากหลาย

    ควรมีช่องทางการชำระเงินที่สะดวกและหลากหลายช่องทาง เพื่อรองรับการชำระเงินจากลูกค้าทุกกลุ่ม โดยร้านค้าขายของออนไลน์ส่วนใหญ่จะมีช่องทางการชำระทั้งแบบโอนเงิน, เก็บเงินสดปลายทาง, จ่ายผ่านบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต, จ่ายผ่าน e-wallet เป็นต้น การมีช่องทางชำระเงินที่ง่ายต่อลูกค้า จะอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าได้มาก ทำให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ร้านค้าอีก

    นอกจากอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าแล้ว ร้านค้าก็ควรมีระบบการรับชำระเงิน หรือระบบการรับโอนเงินจากลูกค้า ซึ่งปัจจุบันทางธนาคารกสิกรไทย มีการพัฒนาบริการ K BIZ ขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์การทำธุรกิจ และการจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และสะดวกสบายมากขึ้น

  9. การยื่นภาษีออนไลน์

    K BIZ อยู่ที่ไหนก็โอนจ่ายเงินเดือนพนักงาน สะดวก ตรงเวลา

    พ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ ควรทราบไว้ว่าการขายของออนไลน์ก็จำเป็นต้องยื่นภาษีเช่นเดียวกัน หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น ควรเก็บเอกสารทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการค้า รวมถึงหลักฐานการทำธุรกรรมการเงินทั้งหมดไว้ เพราะเอกสารและหลักฐานเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการยื่นภาษี โดยมีการยื่นภาษี 2 แบบ คือ

    • ยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายนของทุกปี จะต้องนำเงินได้ตั้งแต่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน มาแสดงเพื่อนำไปยื่นภาษี สาเหตุที่ต้องมีการยื่นภาษีครึ่งปี เนื่องจากเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระการเสียภาษี ไม่ต้องจ่ายภาษีหนักๆ ก้อนเดียวในช่วงปลายปีนั่นเอง
    • ยื่นภาษีปลายปี (ภ.ง.ด.90) ในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคมของทุกปี จะต้องนำเงินได้ตลอดปี (1 มกราคม - 31 ธันวาคมของปีที่แล้ว) มาแสดงเพื่อยื่นภาษี

    ส่วนวิธีการยื่นภาษีนั้นสามารถยื่นได้ที่กรมสรรพากรโดยตรง หรือยื่นภาษีออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร ซึ่งการยื่นภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์จะอำนวยความสะดวกต่อพ่อค้าและแม่ค้ามือใหม่มากกว่า เพราะมีโปรแกรมที่ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเบื้องต้นให้ด้วย

  10. ข้อดี-ข้อเสีย การขายของออนไลน์
  11. กำหนดค่าจัดส่งราคาไม่สูงและจัดส่งเร็ว

    ค่าจัดส่งสินค้าที่ไม่แพงจะทำให้ผู้ขายได้กำไรมากขึ้น เพราะสามารถลดต้นทุนค่าจัดส่งได้ รวมไปถึงลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายเมื่อเห็นว่าค่าจัดส่งมีราคาถูก นอกจากนี้ การจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว ยิ่งทำให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อสินค้าซ้ำ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุอยู่หลายบริษัท ทั้งยังมีโปรโมชันลดราคาจัดส่งสำหรับพ่อค้าและแม่ค้าที่ขายของออนไลน์โดยเฉพาะอีกด้วย ลองเปรียบเทียบและดูรีวิวการจัดส่งสินค้าของแต่ละเจ้าว่าเป็นอย่างไรบ้าง และมีความน่าเชื่อถือมากน้อยขนาดไหน เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยง

เลือกใช้บริการ K BIZ ของธนาคารกสิกรไทย

บริการ K BIZ จะมาช่วยแก้ไขปัญหาที่เจ้าของธุรกิจและบริการพบได้บ่อย ดังนี้

เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรื่องเงิน

ลดต้นทุนและเวลาในการจัดการเงินสด รวมถึงลดข้อจำกัดในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้งานและสถานที่ หมดปัญหาการเดินทางไปธนาคาร

  • วงเงินการโอนต่อวันของ K BIZ เริ่มต้นที่ 300,000 บาท สูงสุด 10 ล้านบาทต่อวัน และสามารถโอนเงินภายในบัญชีตนเองที่ผูกบริการบน K BIZ ได้สูงสุด 30 ล้านบาทต่อวัน
  • มีบริการโอนเงินเป็นกลุ่มที่สามารถทำรายการได้สูงสุดครั้งละ 10 รายการ เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรมมากขึ้น
  • รองรับการใช้งานทั้งสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ ทุกระบบปฏิบัติการ

พัฒนาระบบเพื่อเพิ่มผู้ใช้งานได้หลายคน

เหมาะกับร้านค้าออนไลน์ ธุรกิจ และองค์กรที่ต้องการตัวช่วยที่มีความคล่องตัวในการทำธุรกรรมทางด้านการเงิน หรือการโอนเงินเป็นกลุ่ม

  • สามารถมีผู้ใช้ระบบได้หลายคน (Multi-user) และกำหนดบทบาทของผู้ใช้งานได้หลายประเภท สูงสุด 4 ประเภท ได้แก่ ผู้เรียกดูข้อมูล(Viewer) ผู้ทำรายการ (Maker)
    ผู้อนุมัติรายการ (Authorizer) และผู้ดูแลระบบ (Administrator)เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจที่มีการเติบโตมากขึ้น
  • สามารถขอรายการเดินบัญชีี เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อได้ทั้งรูปแบบ PDF และ CSV

ระบบที่รองรับการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ

ทาง K BIZ ของ ธนาคารกสิกรไทยได้เพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ที่ทำธุรกิจกับคู่ค้าในต่างประเทศ และยังอำนวยความสะดวกด้วยบริการโอนเงินระหว่างประเทศ

  • มีบริการโอนเงินต่างประเทศได้ 12 สกุลเงิน 30 ประเทศ

ระบบความปลอดภัยระดับสากล

K BIZ มีการพัฒนาระบบยืนยันตัวตนที่ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของการทำธุรกรรมทางการเงินทุกประเภท

  • การยืนยันตัวตนเพื่อทำรายงานของบริการ K BIZ จะใช้การยืนยันตัวตนผ่าน SMS-OTP สำหรับการทำธุรกรรมที่วงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อวัน ในขณะที่การทำธุรกรรมที่วงเงินเกิน 2 ล้านบาทต่อวัน จะใช้วิธีการยืนยันตัวตนผ่าน K PLUS

ก่อนจะเริ่มต้นขายของออนไลน์นั้น ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน เพราะตลาดออนไลน์มีการแข่งขันที่สูง ซึ่งการศึกษาข้อมูลและการเตรียมตัวที่ดี จะช่วยให้พ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์มือใหม่สามารถสร้างร้านค้าให้เติบโดและรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ แต่สิ่งสำคัญมากสำหรับการขายของออนไลน์ คือ การจัดการรายได้ที่เข้ามา ซึ่งใครที่ไม่ถนัดและอยากได้ผู้ช่วยบริหารจัดการเงิน สามารถใช้บริการ K BIZ Online Banking Platform บริการโอนเงินออนไลน์ที่ช่วยจัดการเงินให้ธุรกิจคล่องตัวได้ ไม่ต้องเป็นกังวล

สนใจบทความที่เกี่ยวข้อง

คลิกเลย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top