มั่นใจได้อย่างไร ว่าแผนหลังเกษียณ ดีพอแล้ว

ไวรัลของอัตราการเกิดน้อยกว่าอัตราการตายของไทยในปี 64 เพื่อสร้างความตระหนักในการเก็บเงินวัยเกษียณ และตัดสินใจเริ่มออมเงินเพื่อเกษียณ

• ปี 2564 คนไทย มีอัตราการเกิดน้อยกว่าอัตราการเสียชีวิตเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี มีโอกาสที่วัยแรงงานจะลดลง และกระทบต่อรายได้ภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุในอนาคต


• การดูแลค่าใช้จ่ายสุขภาพของภาครัฐ ยังอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ครอบครัวมีขนาดเล็กลง ทำให้ผู้สูงวัยต้องเตรียมพึ่งพาตนเอง ทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาลและเงินใช้หลังเกษียณ


• รวยก่อนแก่ สร้างได้ด้วย การเตรียมค่ารักษาพยาบาลด้วยประกันสุขภาพ และเตรียมเงินใช้หลังเกษียณ หากเสียภาษีบุคคลธรรมดา แนะนำออมกองทุน/ประกันที่ลดหย่อนภาษีได้ เช่น กองทุน SSF RMF ประกันชีวิต ประกันบำนาญ หากไม่เสียภาษี ก็ออมในรูปแบบทั่วไป ให้เหมาะกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้


• การเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งความคุ้มครองในโรคที่ยังไม่เป็น ดีกว่า รอให้เป็นแล้วไม่คุ้มครอง และเริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้ระยะเวลาการออมมากพอที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้ จะมีผลกับเป้าหมายมากกว่า จำนวนเงินต้น หรือผลตอบแทนจากการลงทุน



ในช่วงต้นปี 65 ที่ผ่านมา มีข้อมูลอัตราการเกิด (อยู่ที่ 544,570 คน) น้อยกว่าอัตราการเสียชีวิต (อยู่ที่ 563,650 คน) ในปี 64 เป็นครั้งแรกของไทย ทำให้ข้อมูลเรื่องนี้ถูกส่งต่อในโลกโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว สิ่งที่สะท้อนความสำคัญของข้อมูลนี้ คือ วันนี้ในฐานะวัยทำงาน และเสียภาษีให้รัฐไปพัฒนาประเทศ ส่วนหนึ่งคาดหวังว่าจะได้รับการดูแลจากภาครัฐในวันที่หยุดทำงาน (เกษียณ) ในเมื่อสัดส่วนวัยทำงานลดลงเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุ การหวังพึ่งภาครัฐดูแลจะเป็นไปได้ยากขึ้น ถ้าจะหันมาเตรียมดูแลตัวเองเรื่องเงินกันตั้งแต่วันนี้ จะเตรียมตัวอย่างไรกันบ้าง


ผลกระทบจากอัตราเกิดน้อยกว่าอัตราเสียชีวิตในปี 64

1.วัยแรงงานมีโอกาสปรับตัวลดลงเมื่อเทียบผู้สูงวัย

จะเห็นได้จากคาดการณ์ของ www.healthdata.org/thailand คาดการณ์ว่า ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2643 (ค.ศ. 2100) ประชากรไทยรวม จะลดลงเหลือ 34.7 ล้านคน (ลดลงประมาณ 50% นับจากประชากรรวมในปี 2559 ที่มีประชากรไทยรวม 70.6 ล้านคน) ในขณะที่ผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น (ตามรูป)

2. คาดการณ์ว่า ผู้สูงอายุ จะต้องพึ่งพารายได้จากตนเองมากขึ้น

เห็นได้จาก ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2557 พบว่า ผู้สูงอายุมีรายได้หลักจากบุตรหลาน คิดเป็น 36.7% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ในขณะที่รายได้หลักจากภาครัฐ เช่น เบี้ยยังชีพ หรือเงินบำเหน็จบำนาญ คิดเป็น 19.7% ของผู้ตอบแบบสอบถาม เมื่อดูจากข้อมูลสัดส่วนผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ในปี 2565* อยู่ที่ 18.3% ทำให้งบประมาณของภาครัฐเพื่อดูแลผู้สูงอายุ สูงขึ้นไปด้วย และแหล่งที่มาของงบประมาณ ก็คือ ภาษีที่จัดเก็บจากวัยแรงงาน นั่นเอง หากคุณต้องการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องพึ่งพารายได้จากตนเองมากขึ้น

3. คาดการณ์งบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายดูแลสุขภาพ สูงขึ้นเท่าตัว (กว่า 100%) ในปี พ.ศ. 2597 (ค.ศ. 2050)

ข้อมูลจาก www.healthdata.org/thailand ได้คาดการณ์ว่า ปี 2597 (2050) ค่ารักษาพยาบาลจะเติบโตจาก 292 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 595 เหรียญสหรัฐฯ (สูงขึ้นกว่า 1 เท่าตัว) และมี ภาครัฐ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นหลัก คิดเป็น 77% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งก็มาจากการเก็บภาษีจากวัยแรงงานเช่นกัน

อยากรวยก่อนแก่ สร้างได้อย่างไร

พามาดูตัวอย่างญี่ปุ่น** ที่มีประชากรผู้สูงอายุสูงที่สุดในโลก (ประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด) จะมีมาตรการในการดูแลผู้สูงอายุ เช่น การส่งเสริมการจ้างงาน เงินเดือนเริ่มต้น 17,000 บาท, ประกันดูแลสุขภาพระยะยาว, สร้างศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, ได้บำนาญเริ่มต้นที่ 15,841 ถึง 42,239 บาท


กลับมาดูในไทย ปัจจุบันมีประชากรผู้สูงอายุราว 18.3% ของประชากรทั้งหมด จะมีมาตรการในการดูแลผู้สูงอายุ เช่น ประกันดูแลสุขภาพระยะยาว ในรูปแบบบัตรทอง (สปสช.) ประกันสังคม บำเหน็จ/บำนาญจากประกันสังคม (ให้สิทธิเลือกระหว่างดูแลสุขภาพกับรายได้หลังเกษียณ) เริ่มต้น 3,000 บาทต่อเดือน (ตามระยะเวลาสมทบและอัตราเงินเดือนที่ส่งสมทบ 60 เดือนสุดท้าย) แต่ก็อาจจะไม่เพียงพอ ถ้าอยากรวยก่อนแก่ สร้างได้ด้วย


1.ประเมินค่ารักษาพยาบาล เพื่อบริหารค่าดูแลสุขภาพหลังหยุดทำงานตามคุณภาพการรักษาพยาบาล โดยเริ่มความสามารถในการชำระเบี้ย และความครอบคลุมในการรักษาพยาบาล เช่น

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ที่มีวงเงินสูง เหมาะสำหรับผู้ที่เน้นความคุ้มครองครอบคลุม เช่น ประกันสุขภาพ Elite Health ที่มีวงเงินคุ้มครองเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล วงเงินค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี(ให้เลือกได้ 4 แผน)

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย วงเงินปานกลาง และเลือกได้ว่าจะคุ้มครองตั้งแต่บาทแรก หรือ คุ้มครองส่วนเกิน เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ ที่มีสวัสดิการของนายจ้างอยู่แล้ว เช่น ประกันสุขภาพ Delight Health เป็นประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายตามจริง ไม่เกิน 5ล้านบาทต่อครั้ง ต่อการรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี) ต้องการคุ้มครองส่วนเกิน 30,000 บาท หรือ 100,000 บาท

การทำประกันสุขภาพ ทำในวันที่ยังแข็งแรง ได้รับความคุ้มครองโรคภัยที่เกิดขึ้น ดีกว่า ไปทำในวันที่มีโรคประจำตัวแล้ว อยากทำก็จะมีทั้งเพิ่มเบี้ยประกัน ไม่คุ้มครองโรคที่เคยเป็นมาก่อน หรือไม่รับประกันเลยก็ได้

2. ประเมินเงินใช้หลังเกษียณ การพึ่งพาสวัสดิการของรัฐเป็นทางเลือกแรก หากมีทางเลือกที่เก็บได้ด้วยตัวเองจะกำหนดชีวิตหลังเกษียณได้ด้วยตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ต้องการใช้เงินหลังเกษียณ เดือนละ 20,000 บาท จะอยู่ใช้เงินไปอีก 25 ปี หลังเกษียณ ดังนั้น จะต้องเตรียมเงิน 6.0 ล้านบาท (20,000*25*12) (ไม่รวมเงินเฟ้อ) แบ่งเป็นทางเลือก 2 รูปแบบ

2.1 รูปแบบใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือ ผู้ประกอบการที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แนะนำให้เริ่มต้นออมในผลิตภัณฑ์การออมการลงทุนที่นำค่าซื้อไปลดหย่อนภาษีได้ เช่น กองทุน SSF, RMF ประกันชีวิต ประกันแบบบำนาญ เพื่อเป็นทั้งการออมและประหยัดภาษีไปพร้อมๆกัน ยกตัวอย่างเช่น เริ่มต้นออมตอนอายุ 40 ปี และจะเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี (มีเวลาออม 20 ปี) ในขณะที่มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท (เฉลี่ย 83,333.33 บาทต่อเดือน) เสียภาษี 15% หากออมใน SSF RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (30% ของรายได้) 300,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี คุณจะมีเงินออมอย่างน้อย 6,000,000 บาทแล้ว แต่จะมีตัวช่วยชดเชยเงินเฟ้ออีกจาก เงินคืนภาษีที่ได้แต่ละปีอีก (เฉพาะปีแรก ได้คืนจากการออม 45,000 บาท จาก 15%*300,000 บาท) ถ้านำเงินคืนภาษีมาลงทุนต่อ จะมีโอกาสได้เงินเพิ่มขึ้นอีก

2.2 รูปแบบออมทั่วๆไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี จะออมในรูปแบบ เงินฝาก กองทุนรวม หุ้นโดยตรง ให้มีสัดส่วนเหมาะกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ก็จะมีโอกาสถึงเป้าหมายได้เช่นกัน


อย่างไรก็ตาม อยากรวยก่อนแก่ สร้างแผนการเงินได้ สิ่งสำคัญ ไม่ได้อยู่ที่ เงินเก็บหรือเงินต้นที่จะลงทุน, ผลตอบแทน หากแต่อยู่ที่ระยะเวลาในการเก็บออมเงินมากกว่า เพราะระยะเวลาในการเก็บเงินที่ไม่เท่ากัน จะมีผลทำให้บรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ ดังนั้น เริ่มต้นแต่วันนี้ อาจจะไม่ต้องใช้เงินต้นมาก แค่ใช้ความมีวินัย ก็มีโอกาสพิชิตเป้าหมายใหญ่ได้


Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”


ขอบคุณข้อมูลจาก :

https://www.healthdata.org/thailand

สำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี 2557,

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เงินทองต้องวางแผน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (www.set.or.th)

*กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวง พม. ข้อมูล ณ มกราคม 2565

**https://thematter.co/social/social-welfare-in-other-country/134828