ประเด็นร้อน: Fed ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง กนง. คงดอกเบี้ยตามคาด

Fed มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.50% ตามคาดการณ์ ด้านคณะกรรมการ FOMC ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 1 ครั้งในปี 67 ด้าน กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5%โดยมีคณะกรรมการลงมติให้คงอัตราดอกเบี้ยเพิ่มอีก 1 เสียง จากการประชุมครั้งก่อนที่มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง

• Fed มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.50% ตามคาดการณ์ ด้านคณะกรรมการ FOMC ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 1 ครั้งในปี 67 พร้อมเผยรอติดตามข้อมูลอัตราเงินเฟ้อเพื่อให้มั่นใจว่ามีแนวโน้มลดลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%


• กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% เผยเศรษฐกิจไทยยังหนุนด้วยบริโภคภายในและการท่องเที่ยว ด้านส่งออกยังขยายตัวต่ำ ในการประชุมครั้งนี้มีท่าทีต่อนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้น โดยมีคณะกรรมการลงมติให้คงอัตราดอกเบี้ยเพิ่มอีก 1 เสียง จากการประชุมครั้งก่อนที่มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง





Fed ยังคงดอกเบี้ย รอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อที่ดีขึ้น

Fed มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.50% เป็นครั้งที่ 7 ติดต่อกัน โดยประธาน Fed นายเจอโรม พาวเวลล์ ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่าข้อมูลอัตราเงินเฟ้อในระยะหลังเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่คณะกรรมการ FOMC ยังต้องการติดตามข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่ดีขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงสู่ระดับเป้าหมาย 2% และเสริมอีกว่าคณะกรรมการ FOMC มองว่านโยบายการเงินในปัจจุบันมีความตึงตัวมากพอ และไม่มีคณะกรรมการท่านใดที่มองว่ามีความจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย



Fed ส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยปีนี้เหลือ 1 ครั้ง

การประชุมครั้งนี้มีการเปิดเผยมุมมองอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการ FOMC (Dot Plot) พบว่าคณะกรรมการมองว่า Fed ควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ 1 ครั้ง ไปที่ระดับ 5-5.25% ลดลงจากมุมมองครั้งก่อนในการประชุมเมื่อเดือน มี.ค. ที่มองว่าควรปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้ง


ขณะเดียวกันได้คงประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP) ปี 2024 ไว้ที่ 2.1% เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานที่ 4.0% พร้อมปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อ (PCE) ปี 67 จาก 2.4% ไปที่ 2.6% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) จาก 2.6% ไปที่ 2.8%



กนง. มีมติ 6-1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยตามคาด

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% ตามคาดการณ์ เผยเศรษฐกิจไทยหนุนด้วยอุปสงค์ภายในและการท่องเที่ยว ส่วนส่งออกขยายตัวต่ำ สินค้าบางกลุ่มมีแรงกดดันจากการแข่งขันที่สูงขึ้น พร้อมคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 67 ไว้ที่ขยายตัว 2.6% และปี 68 ขยายตัว 3.0% โดยรับแรงหนุนจากอุปสงค์ภายในที่สูงกว่าคาดในไตรมาส 1 และภาคท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งการเบิกจ่ายภาครัฐที่กลับมาเร่งขึ้นในไตรมาส 2 ส่วนภาคส่งออกปีนี้ยังขยายตัวต่ำ และคงคาดการณ์เงินเฟ้อปี 67 ไว้ที่ 0.6% และปี 68 ที่ 1.3% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานปี 67 คาดไว้ที่ 0.5% และปี 68 คาดไว้ที่ 0.9%


การประชุมครั้งนี้มีท่าทีต่อนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้น (Hawkish) มีคณะกรรมการลงมติให้คงอัตราดอกเบี้ยเพิ่มอีก 1 เสียง จากการประชุมครั้งก่อนที่มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง



มุมมองการลงทุนต่อการลงทุนหุ้นสหรัฐฯ

การประชุมครั้งนี้ Fed ยังคงดำเนินนโยบายการเงินตามคาดการณ์ โดย Dot plot ที่แสดงให้เห็นว่า Fed มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยลดลงเหลือ 1 ครั้ง จากเดิมที่ 3 ครั้ง ในขณะที่นักลงทุนในตลาดยังมองว่า Fed มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยได้ 2 ครั้ง ประกอบกับการให้สัมภาษณ์ของประธาน Fed สะท้อนว่า Fed ยังมีความไม่มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในแนวโน้มลดลงสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%


ดังนั้นหากมีการเปิดเผยท่าทีที่ตึงตัวต่อทิศทางนโยบายการเงินของคณะกรรมการ Fed หรือข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาดการณ์อาจสร้างความผันผวนต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ประกอบกับมูลค่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่สูงจากการปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี ด้วยปัจจัยดังกล่าว K WEALTH ยังมีมุมมอง Neutral ต่อการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ



มุมมองการลงทุนต่อการลงทุนหุ้นไทย

ถึงเเม้ตลาดหุ้นไทยจะมีมูลค่าที่ต่ำลง แต่เศรษฐกิจที่เติบโตตํ่าเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันรวมถึงความไม่เเน่นอนของสถานการณ์การเมืองในระยะข้างหน้าเเละนโยบายการกระตุ้นที่ล่าช้า ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังขาดปัจจัยหนุนใหม่ K WEALTH ยังมีมุมมอง Neutral ต่อการลงทุนในตลาดหุ้น



คำแนะนำการลงทุน

• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-EUROPE-A(D) คว้าโอกาสหุ้นเติบโตในยุโรปทุกกลุ่ม ด้วยการคัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-up หรือ K-EUSMALL ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็กของยุโรป เพื่อรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม


• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น

o หากไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-FIXED-A ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี

o ชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุน K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี


• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF-A ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก CNBC, CNN, Federal Reserve

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer
Back to top