ทำไมแบรนด์หรูถึงครองใจผู้บริโภคยุคใหม่ Gen Y และ Gen Z
ข้อมูลที่น่าสนใจจาก Bain & Company ณ มกราคม 2023 คาดการณ์ว่าผู้บริโภค Gen Y และ Gen Z จะคิดเป็นสัดส่วนราว 80% ในตลาดสินค้าหรูภายในปี 2030 หากว่ากันตามทฤษฎีจิตวิทยาของ Maslow ความต้องการสินค้าเหล่านี้สำหรับบางคนอาจจะเป็นความต้องการขั้นที่ 3 คือต้องการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น สำหรับบางคนอาจป็นขั้นที่ 4 คือ ใช้สินค้าหรูเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนความสำเร็จในชีวิตหรือสถานะทางสังคม หรือสำหรับบางคนอาจเป็นขั้นที่ 5 คือใช้เพื่อตอบสนองความต้องการความสุขส่วนตัว ซื้อประสบการณ์ชีวิต แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่น่าจะมีผลสำหรับผู้บริโภค Gen Y และ Gen Z คือเทรนด์การโพสรูปภาพ-วิดีโอสั้นบน Instagram Story และ TikTok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมของกลุ่มคนรุ่นใหม่ยุคนี้ โดยเหล่า Influencer ที่พวกเค้าชื่นชอบก็มีส่วนทำให้เกิดความต้องการซื้อสินค้า-บริการที่แมทช์กับไลฟ์สไตล์ส่วนบุคคล อาทิ เสื้อผ้า กระเป๋า เข็มขัด แว่นตา เครื่องประดับ โทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั่งโรงแรมต่างๆ ที่คนดังเหล่านี้ไปพัก
Luxury goods purchased by generations (%)
เหล่า Influencer มีผลต่อยอดขายสินค้าเหล่านี้
หากยกตัวอย่างวง Black Pink ศิลปินเกิร์ลกรุ๊ปจากเกาหลีใต้ซึ่งได้รับการทาบทามจากแบรนด์หรู เช่น LVMH, BVLGARI, Prada (Lisa) Yves Saint Laurent, Tiffany & Co. (Rose) Chanel, Calvin Klein (Jennie) Dior, Cartier (Jisoo) เหล่าสมาชิกทั้ง 4 ที่มีผู้ติดตามบน Instagram เฉียด 100 ล้านคน ทำให้เกิด Brand Awareness และบางส่วนก็อาจอยากใช้สินค้าตามโดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ จากการประมาณการณ์ของนักเขียนของ Vogue Business* ระบุว่า ณ เดือนมิถุนายน 2021 สมาชิกทั้ง 4 ของ Blank Pink สร้างมูลค่าวัดโดย earned media value ให้กับแบรนด์ที่เป็น พรีเซนเตอร์รวมกว่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะเห็นว่านี่เป็นเม็ดเงินที่มีมูลค่ามหาศาลที่ไหลกลับเข้าไปที่แบรนด์ และมีผลต่อยอดขายสินค้าเหล่านี้ และนี่เป็นเพียงตัวอย่างของศิลปินกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเอง
* ที่มา
https://www.koreaboo.com/lists/kpop-endorsers-much-earned-luxury-brands/
หากอยากลงทุนเป็นส่วนหนึ่งกับการเติบโตพร้อมเทรนด์นี้ทำได้ไม่ยาก
ปัจจุบันมีกองทุนรวมในประเทศไทยไปลงทุนผ่านเจ้าของแบรนด์ที่ได้กล่าวมาข้างต้นผ่านกองทุนหลัก Pictet Premium Brands ทาง K WEALTH มองว่าตลาดนี้มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว มีแนวโน้มการฟื้นตัวจากการเปิดเมืองรับการเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงการใช้จ่ายในสินค้าหรูหรา โดยราคาหุ้นในกลุ่มนี้ยังปรับตัวช้าขึ้นกว่าหุ้นเทรนด์อื่นๆ อย่าง AI ทั้งนี้ จาก Bloomberg Consensus นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า หุ้นกลุ่มนี้อาจกลับมาเติบโต 2 หลักไปอีก 3-4 ปีข้างหน้า สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนไปกับแบรนด์เนมชื่อดังระดับโลก สามารถพิจารณากองทุน KT-LUXURY-A จาก บลจ. KTAM เป็นทางเลือก โดยมีกิจการที่ลงทุน 10 อันดับแรก อาทิ
ข้อมูลจาก Pictet Asset Management ณ 30 มิ.ย. 2024 ** ที่มา Bloomberg ข้อมูล ณ 30 มิ.ย. 2024
จะเห็นว่านอกจากเป็นการลงทุนแบรนด์หรูในแทบทุก Segment ทางการตลาดแล้ว ยังมีการกระจายความเสี่ยงไปในหลายประเทศไปด้วยในตัว เนื่องจากกองทุนนี้จัดเป็นประเภทหุ้นทั่วโลกทั้งในแง่ของรายได้ที่มาจาก 3 ภูมิภาคหลัก อย่างสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย รวมไปถึงประเทศที่หุ้นจดทะเบียน แอบกระซิบว่าหุ้นอย่าง LVMH ที่เป็นเจ้าของสินค้าแบรนด์เนมมากมาย เช่น Louis Vuitton, Dior, Tag Heuer, Hennessy, Rimova หรือหุ้น Kering เจ้าของ Gucci และ Yves Saint Laurent ที่แม้ไม่ติด Top 10 ก็อยู่ในกองทุนนี้ และหากให้ยกตัวอย่างสัก 3 กิจการที่หลายคนอาจสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับแบรนด์หรูยังไง มาดูกันเลย
1. American Express เน้นรายได้จากร้านค้าที่รับรูดบัตร AMEX โดยบริษัทชาร์จค่าธรรมเนียมร้านค้าสูงกว่าคู่แข่ง แต่กลุ่มลูกค้าที่ใช้บัตร AMEX เป็นกลุ่มคนรวยที่มียอดใช้จ่ายในสินค้าหรูสูงกว่าบัตรคู่แข่ง 2-3 เท่า สำหรับรายได้อื่นๆ มาจากค่าธรรมเนียมบัตรที่ลูกค้ายอมจ่ายเพราะได้สิทธิประโยชน์คุ้มค่ากว่าบัตรอื่นๆ รวมไปถึงรายได้ดอกเบี้ยซึ่ง AMEX มี business model แบบ closed-loop system ที่ไม่ได้พึ่งพาสถาบันการเงิน
2. Ferrari หลายคนน่าจะรู้จักจากฉากรถสปอร์ตหรูราคาแรงที่อยู่ในภาพยนต์หลายๆ เรื่อง ขอบอกว่าบางรุ่นแค่มีเงินอาจซื้อไม่ได้ ต้องให้ทาง Ferrari เป็นคนเรียนเชิญเอง นอกจากนี้บริษัทยังมีรายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับ Formula 1 racing และรายได้ Royalties จากการที่แบรนด์เครื่องแต่งกายนำโลโก้ม้าของ Ferrari ไปใช้
3. Hilton และ Marriott มี business model ที่คล้ายคลึงกัน เน้นรายได้แบบ Fee-based จากการขายแฟรนไชส์ให้ owner ใช้ชื่อแบรนด์ในเครือของโรงแรม และมี Royalty program ที่ลูกค้าสามารถใช้แต้มสะสมจากการเข้าพักได้ทั่วโลก สำหรับแบรนด์ในเครือที่โด่งดังฝั่ง Hilton ได้แก่ Waldorf Astroria, Conrad ฝั่ง Marriot ได้แก่ The Ritz Carlton, St. Regis, Sheraton อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น เทรนด์การโพสผ่านโซเชียลมีเดียก็ช่วยกระตุ้นให้ผู้คนอยากเดินทางที่สถานที่ต่างๆ ที่เค้าเห็น และโรงแรมระดับบนก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์จากเทรนด์นี้
จะเห็นว่าหุ้นส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Consumer Discretionary และเป็นหุ้นสไตล์เติบโตแบบคุณภาพ (Quality Growth) ที่ผ่านมากองทุนหลักมีผลการดำเนินงานย้อนหลังเฉลี่ย 6.94% ต่อปี (ตั้งแต่จัดตั้ง) ชนะดัชนีชี้วัด ที่ทำได้ 6.64% ต่อปี แม้ได้รับผลกระทบช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น 1-2 ปีที่ผ่านมาก็ตาม โดยปี 2023 ที่ผ่านมา มีผลตอบแทน 18.38% เทียบกับดัชนีชี้วัด 22.2%
ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนหลัก (%)
ข้อมูลจาก Pictet Asset Management ณ 30 มิ.ย. 2024
* ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
สุดท้ายนี้ K WEALTH มีข่าวดีมาบอก วันนี้เราเพิ่มทางเลือกกองทุนอีก 15 บลจ. ให้นักลงทุนได้ช้อปด้วยตนเองผ่าน K PLUS แอพที่ทุกคนมีไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แค่คลิ๊กง่ายๆ ไปที่เมนู Investment หรือลงทุน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
• KTAM
• Bloomberg
• Morningstar Direct