การประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 3 (Third Plenum) ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญ
การประชุมครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นการประชุมที่ให้ความสำคัญต่อประเด็นเศรษฐกิจ จัดขึ้นทุก 5 ปี เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจจีน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ เนื่องจากเศรษฐกิจจีนมีปัญหาเรื่องอสังหาฯ มาตลอด 3 ปี และมีประเด็นสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น หลังใกล้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ผลการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 3 (Third Plenum)
หลังจบการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ในวันที่ 15-18 ก.ค. 67 ที่กรุงปักกิ่ง โดยวาระในการประชุมครั้งนี้จะเน้นในเรื่อง “มติเกี่ยวกับการปฏิรูปเชิงลึกอย่างครอบคลุมและการพัฒนาของจีนให้ทันสมัย” โดยสรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมได้ดังนี้
• ปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: มุ่งเน้นการพัฒนาและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในระดับโลก ลดการพึ่งพาชาติตะวันตกลง
• เร่งสร้างโอกาสใหม่ในการค้าต่างประเทศ: เพิ่มโอกาสและขยายการค้าในตลาดต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านโครงการ Belt and Road Initiative
• ปรับปรุงนโยบายการเงินและการคลังให้สอดคล้องกัน: ปรับปรุงในด้านโนยบายการคลัง โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีในภาคชนบท รวมถึงปรับปรุงความสอดคล้องของนโยบายนโยบายการเงินและการคลังให้ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
• สร้างสภาพแวดล้อมตลาดที่ยุติธรรมและมีมาตรฐานมากขึ้น: สร้างความเสมอภาคและการแข่งขันที่ยุติธรรมในตลาดเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ
• เพิ่มความลึกในการปฏิรูประบบการแพทย์และสาธารณสุข: ปรับปรุงการให้บริการและการเข้าถึงการแพทย์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
• ปฏิรูประบบการศึกษา เทคโนโลยี และระบบพัฒนาบุคลากรระดับชาติ: เสริมสร้างการศึกษาและพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถและพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต
ในภาพรวมผลการประชุมยังเป็นเพียงแค่กรอบการปฎิรูปกว้าง ที่ยังไม่ได้มีการประกาศรายละเอียดของนโยบายที่ชัดเจนออกมา โดยปกติแล้วจะมีการออกเอกสารรายงานที่ละเอียดมากขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมไปแล้วระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องติดตามรายละเอียดอีกครั้ง
เศรษฐกิจจีนต้องการการกระตุ้นที่ชัดเจน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาน่าผิดหวัง
หลังจากมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจจีน ในวันจันทร์ที่ผ่านมา (18 ก.ค. 67) GDP ไตรมาส 2/2567 ของจีนขยายตัวเพียง 4.7% ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 5.1% และชะลอตัวต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัว 5.3% เป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ไตรมาส แม้ว่ารัฐบาลพยายามใช้มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายแล้วก็ตาม
นอกจากนี้ ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. ปรับตัวขึ้นเพียง 2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2565 และสะท้อนว่าความพยายามของรัฐบาลจีนที่จะฟื้นฟูความเชื่อมั่นนั้น แทบจะไม่ได้ช่วยให้ผู้บริโภคชาวจีนออกมาจับจ่ายใช้สอย
มุมมองการลงทุน
ความเคลื่อนไหวของทางการจีนตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สะท้อนความตั้งใจใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและชัดเจนกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยังมีตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวมยังอ่อนแอและฟื้นตัวต่ำกว่าที่คาด นักลงทุนมีความคาดหวังว่าการประชุมครั้งนี้ของจีนจะมีการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามในภาพรวมยังเป็นแค่กรอบการปฎิรูปคร่าวๆ ยังไม่ได้มีการประกาศรายละเอียดของนโยบายที่ชัดเจน จึงยังต้องติดตามการออกนโยบายเพื่อมาสนับสนุนกรอบการปฎิรูปในอนาคต
ดังนั้น K WEALTH จึงยังมีมุมมองเป็นกลาง (Neutral) ต่อการลงทุนตลาดหุ้นจีน โดยต้องการสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนโดยรวมที่ชัดเจน โดยเฉพาะภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคเอกชนและการบริโภคภายใน
คำแนะนำการลงทุนกองทุนจีน มีดังนี้
• การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นจีน เช่น กองทุน K-CHINA-A(A), K-CHINA-A(D), K-CCTV และ K-CHX มีมุมมอง Neutral โดยมีคำแนะนำ ดังนี้
o นักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน หรือมีแต่สัดส่วนน้อยกว่า 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด แนะนำถือต่อ และรอจังหวะลงทุนในอนาคต
o นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน และมีสัดส่วนมากกว่า 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด แนะนำให้ทยอยขายบางส่วนเพื่อลดสัดส่วนให้ต่ำกว่า 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด
ฃ
สำหรับกองทุนแนะนำอื่น มีดังนี้
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-EUROPE-A(D) คว้าโอกาสหุ้นเติบโตในยุโรปทุกกลุ่ม ด้วยการคัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-up หรือ K-EUSMALL ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็กของยุโรป เพื่อรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น
o หากไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-FIXED-A ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
o ชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุน K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี
• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF-A ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Bloomberg,
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”