ประเด็นร้อน: ความกังวลทำพิษ กลัวเศรษฐกิจถดถอย ทำตลาดสหรัฐฯร่วง

ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ เดือน ก.ค. เปิดเผยออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ โดยอัตราการว่างงานสูงกว่าคาด ส่วนการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นต่ำกว่าคาดการณ์ เนื่องจากอัตราการว่างงานซึ่งเพิ่มขึ้นไปที่ระดับ 4.3% ส่งผลให้ Sahm Rule ที่เป็นดัชนีชี้วัดภาวะ Recession ขึ้นมา

• ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ เดือน ก.ค. เปิดเผยออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ โดยอัตราการว่างงานสูงกว่าคาด ส่วนการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นต่ำกว่าคาดการณ์ เนื่องจากอัตราการว่างงานซึ่งเพิ่มขึ้นไปที่ระดับ 4.3% ส่งผลให้ Sahm Rule ที่เป็นดัชนีชี้วัดภาวะ Recession ขึ้นมาที่ระดับ 0.53% สูงกว่าระดับที่ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะ Recession



• สาเหตุที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลงมากกว่า 10% เกิดจากเงินเยนที่แข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือน เนื่องจากนักลงทุนกังวลภาวะ Recession จึงนำเงินลงทุนเข้าหาเงินเยนซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Risk-off) และอีกส่วนจากนักลงทุนประเมินว่ามีโอกาสสูงที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อในการประชุมเดือน ต.ค.นี้ การแข็งค่าของเงินเยนครั้งนี้ส่งผลกดดันหลักต่อหุ้นกลุ่มส่งออก


• K WEALTH จึงมีมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยมองว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสเกิด Cyclical Recession ประมาณ 60% และ Soft Landing 40% ส่งให้ตลาดหุ้นอาจยังมีความผันผวนในช่วงต่อจากนี้ และเม็ดเงินในตลาดจะหมุนเข้าสู่กลุ่ม Defensive เช่น Global Healthcare และ Global Infrastructure





ตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ต่ำกว่าคาดการณ์

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 ส.ค. 67) มีการเปิดเผยตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ เดือน ก.ค. พบว่า

• อัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 4.3% แย่กว่าคาดการณ์ที่ 4.1% เพิ่มจากเดือนก่อนที่ 4.1%

• การจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น 114,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 176,000 ตำแหน่ง ลดจากเดือนก่อนที่ 179,000 ตำแหน่ง



ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง เหตุกังวล Recession

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับคัวลงแรงในการซื้อขายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังมีการเปิดเผยตัวเลขตลาดแรงงาน เนื่องจากอัตราการว่างงานซึ่งเพิ่มขึ้นไปที่ระดับ 4.3% ส่งผลให้ Sahm Rule ที่เป็นดัชนีชี้วัดภาวะ Recession ขึ้นมาที่ระดับ 0.53% สูงกว่าระดับที่ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะ Recession


โดย Sahm Rule ระบุว่าเมื่อค่าเฉลี่ยอัตราการว่างงาน 3 เดือนล่าสุด สูงกว่าอัคราการว่างงานที่ต่ำสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา เกิน 0.5% (0.5 Percentage Points) นับว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะ Recession แล้ว


ด้วยความกังวลดังกล่าวเป็นเหตุให้ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ เคลื่อนไหวดังนี้

Dow Jones -1.51% (2 ส.ค. 67)

S&P 500 -1.84% (2 ส.ค. 67)

Nasdaq -2.43% (2 ส.ค. 67)



ความกังวลส่งเงินเยนแข็ง กดดันตลาดหุ้นเอเชียและญี่ปุ่น

ต่อเนื่องถึงวันจันทร์ที่ 5 ส.ค. 67 ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงแรงตาม sentiment จากตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยตลาดหุ้นไต้หวัน (TWSE) -8.29% ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) -12.23% ตลาดหุ้นเกาหลี (KOSPI) -9.20% ตลาดหุ้นไทย (SET Index) -3.08% และดัชนีหุ้นจีน H-Share (HSCEI) -0.22%


โดยสาเหตุที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลงมากกว่า 10% เกิดจากเงินเยนที่แข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือน เนื่องจากนักลงทุนกังวลภาวะ Recession จึงนำเงินลงทุนเข้าหาเงินเยนซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Risk-off) และอีกส่วนจากนักลงทุนประเมินว่ามีโอกาสสูงที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อในการประชุมเดือน ต.ค.นี้ การแข็งค่าของเงินเยนครั้งนี้ส่งผลกดดันหลักต่อหุ้นกลุ่มส่งออก




มุมมองต่อการลงทุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ

K WEALTH มองว่าในช่วงก่อนหน้านี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นมาด้วยกระแส AI และความคาดหวังการลดดอกเบี้ย ส่งให้ตลาดมีมูลค่าและความคาดหวังที่สูง แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาที่มีการประกาศงบในไตรมาส 2 ที่ออกมาน่าผิดหวัง โดยเฉพาะในกลุ่ม Magnificent 7 ประกอบกับตัวเลขตลาดแรงงานที่แสดงถึงความอ่อนแอมากขึ้น ทำให้ตลาดมีความกังวลต่อภาวะ Recession


แต่อย่างไรก็ตาม K WEALTH จึงมีมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยมองว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสเกิด Cyclical Recession ประมาณ 60% และ Soft Landing 40% ส่งให้ตลาดหุ้นอาจยังมีความผันผวนในช่วงต่อจากนี้ และเม็ดเงินในตลาดจะหมุนเข้าสู่กลุ่ม Defensive ทำให้ K WEALTH มีมุมมอง Slightly Positive ต่อหุ้นกลุ่ม Global Healthcare และ Global Infrastructure



คำแนะนำการลงทุนกองทุนรวมหุ้นสหรัฐฯ

• คำแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นสหรัฐฯ มีดังนี้ o นักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น ๆ ด้านล่าง o นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำถือลงทุนต่อ หรือหากมีกำไรมากกว่า 10% แนะนำให้ทยอยขายทำกำไร



มุมมองการลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่น

เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณการเติบโตที่ลดลงตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนชัดผ่านการปรับลดประมาณการ GDP ในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ BoJ ยังต้องจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อสูงและเงินเยนที่อ่อนค่า ทำให้ต้องใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นทั้งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและลดวงเงินซื้อพันธบัตร ซึ่งยังเป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้



คำแนะนำการลงทุนกองทุนรวมหุ้นญี่ปุ่น

• คำแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นญี่ปุ่น ดังนี้ o นักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นญี่ปุ่น แนะนำลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น o นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นญี่ปุ่น แนะนำถือลงทุนต่อ หรือหากมีกำไรมากกว่า 10% แนะนำให้ทยอยขายทำกำไร



มุมมองต่อการลงทุนตลาดหุ้นเอเชีย

K WEALTH มองว่าตลาดหุ้นเอเชียจะเผชิญความผันผวนจากความกังวลภาวะเศรษฐกิจ Recessionของสหรัฐฯ แต่อย่างไรก็ตามให้เน้นเลือกลงในในประเทศที่มีความแข็งแกร่ง อย่างประเทศเวียดนาม ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นและมี Valuation ที่น่าสนใจ



คำแนะนำการลงทุนกองทุนรวมหุ้นเอเชีย

• คำแนะนำการลงทุนกองทุนรวมหุ้นเอเชีย

o นักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นเอเชีย แนะนำลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น ๆ ด้านล่าง

o นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นเอเชีย แนะนำถือลงทุนต่อ หรือหากมีกำไรมากกว่า 10% แนะนำให้ทยอยขายทำกำไร



สำหรับกองทุนแนะนำอื่น มีดังนี้

• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GINFRA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ซึ่งลงในบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า สนามบิน


• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น

o หากไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี

• ชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี

• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Investing, Bloomberg

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

*กองทุน K-GHEALTH, K-VIETNAM และ K-GINFRA มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

**กองทุน K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS, K-SF-A และ K-SFPLUS มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH
Back to top