ประเด็นร้อน: ญี่ปุ่นสวนตลาด บวกแรง สวนทางสหรัฐฯ

ญี่ปุ่นปรับตัวบวกแรง นักลงทุนเริ่มคลายความกังวล ส่วนดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงกังวล recession

• วันนี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้คลายความกังวลมากขึ้น ภาพรวมของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง ซึ่งสะท้อนชัดผ่านการปรับลดประมาณการ GDP ลง นอกจากนี้ BoJ ยังมีท่าทีที่จะยังใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปในการประชุมครั้งหน้า ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้ K WEALTH จึงมีมุมมอง Neutral ต่อการลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่น


• K WEALTH มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสเกิด Cyclical Recession ประมาณ 60% และ Soft Landing 40% ส่งให้ตลาดหุ้นอาจยังมีความผันผวนในช่วงต่อจากนี้ และเม็ดเงินในตลาดจะหมุนเข้าสู่กลุ่ม Defensive ทำให้ K WEALTH มีมุมมอง Slightly Positive ต่อหุ้นกลุ่ม Global Healthcare และ Global Infrastructure





ภาพรวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นและเอเชียฟื้น

เช้าวันนี้ (6 สิงหาคม 2024) ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) และดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวบวกแรงกลับมา 8.67% และ 9.40% ตามลำดับ หลังจากปรับตัวลงแรง 12% ในวันก่อนหน้า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นฟื้นตัวจากความกังวลจากการปิดสัญญา Carry Trade ของค่าเงินเยนทีมีการแข็งค่าอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยของ BoJ และคาดว่าจะขึ้นต่อในการประชุมครั้งต่อไป


ดังนั้นนักลงทุนมีความกังวลมากขึ้นในการกู้ยืมค่าเงินเยนเนื่องจากมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น จึงทำการขายสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดหุ้นอื่น ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งปรับตัวลงแรงในคืนที่ผ่านมา เพื่อนำเงินเยนมาคืนเพื่อปิดสัญญา โดยในวันนี้เงินเยนกลับมาอ่อนตัวลงอยู่ที่ 145 เยนต่อดอลลาร์ จาก 141 เยนต่อดอลลาร์ เป็นปัจจัยบวกกลับมาหนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นและเอเชียกลับมาฟื้นตัว


ภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียอื่น ๆ ในวันนี้มีการคลายความกังวลมากขึ้น โดยฝั่งตลาดหุ้นไต้หวัน (TWSE) +0.85% ตลาดหุ้นเกาหลี (KOSPI) +3.5% และดัชนีหุ้นจีน H-Share (HSCEI) +0.14%



ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เผชิญแรงขาย ผลกระทบจากการปิดสัญญา Carry Trade และความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจถดถอย

ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อวานนี้ (5 ส.ค. 67) ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปรับตัวลดลง -3.00% และ -2.96% ตามลำดับ จากการขายสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อปิดสัญญากู้ยืนเงินเยน และความกลัวเกี่ยวกับเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ จากรายงานตัวเลขการจ้างงานเดือนกรกฎาคมที่น่าผิดหวังเมื่อวันศุกร์ และนักลงทุนยังมีความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) ล่าช้าในการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ (Behind the curve)


แต่อย่างไรก็ตามตัวเลขดัชนี ISM Service PMI เดือน ก.ค. ที่ประกาศออกมายังอยู่ในแดนขยายตัวอยู่ที่ 52.4 จุด และเมื่อมาพิจารณาประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจอื่น เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวลง แต่ยังไม่ได้แสดงถึงการเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอย



มุมมองต่อการลงทุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ

K WEALTH มองว่าในช่วงก่อนหน้านี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นมาด้วยกระแส AI และความคาดหวังการลดดอกเบี้ย ส่งให้ตลาดมีมูลค่าและความคาดหวังที่สูง แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาที่มีการประกาศงบในไตรมาส 2 ที่ออกมาน่าผิดหวัง โดยเฉพาะในกลุ่ม Magnificent 7 ประกอบกับตัวเลขตลาดแรงงานที่แสดงถึงความอ่อนแอมากขึ้น ทำให้ตลาดมีความกังวลต่อภาวะ Recession


แต่อย่างไรก็ตาม K WEALTH จึงมีมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยมองว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสเกิด Cyclical Recession ประมาณ 60% และ Soft Landing 40% ส่งให้ตลาดหุ้นอาจยังมีความผันผวนในช่วงต่อจากนี้ และเม็ดเงินในตลาดจะหมุนเข้าสู่กลุ่ม Defensive ทำให้ K WEALTH มีมุมมอง Slightly Positive ต่อหุ้นกลุ่ม Global Healthcare และ Global Infrastructure



คำแนะนำการลงทุนกองทุนรวมหุ้นสหรัฐฯ

• คำแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นสหรัฐฯ มีดังนี้

o นักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น ๆ ด้านล่าง

o นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำถือลงทุนต่อ หรือหากมีกำไรมากกว่า 10% แนะนำให้ทยอยขายทำกำไร



มุมมองต่อการลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ในวันนี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้คลายความกังวลมากขึ้น ในส่วนของภาพรวมของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณการเติบโตที่ลดลงตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนชัดผ่านการปรับลดประมาณการ GDP นอกจากนี้ BoJ ยังมีท่าทีที่จะยังใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไปในการประชุมครั้งหน้า ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้ จึงมีมุมมอง Neutral ต่อการลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่น



คำแนะนำการลงทุนกองทุนรวมหุ้นญี่ปุ่น

• คำแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นญี่ปุ่น มีดังนี้

o นักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นญี่ปุ่น แนะนำลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น ๆ ด้านล่าง

o นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นญี่ปุ่น แนะนำถือลงทุนต่อ หรือหากมีกำไรมากกว่า 10% แนะนำให้ทยอยขายทำกำไร


มุมมองต่อการลงทุนตลาดหุ้นเอเชีย

K WEALTH มองว่าตลาดหุ้นเอเชียในวันนี้ปรับตัวบวก จากการปรับตัวลดลงจากความผันผวนจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ แต่อย่างไรก็ตามให้เน้นเลือกลงในในประเทศที่มีความแข็งแกร่ง อย่างประเทศเวียดนาม ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นและมี Valuation ที่น่าสนใจ



คำแนะนำการลงทุนกองทุนรวมหุ้นเอเชีย

• คำแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นเอเชีย มีดังนี้

o นักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นเอเชีย แนะนำลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น ๆ ด้านล่าง

o นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนหุ้นเอเชีย แนะนำถือลงทุนต่อ หรือหากมีกำไรมากกว่า 10% แนะนำให้ทยอยขายทำกำไร



สำหรับกองทุนแนะนำอื่น มีดังนี้

• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology

o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GINFRA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ซึ่งลงในบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า สนามบิน


• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น

o หากไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี


• ชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี


• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Investing, Bloomberg

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

*กองทุน K-GHEALTH, K-VIETNAM และ K-GINFRA มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

**กองทุน K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS, K-SF-A และ K-SFPLUS มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH
Back to top