สถานการณ์ตราสารหนี้ในปัจจุบัน
แนวโน้มนโยบายการเงินทั่วโลก หลังจากที่หลายประเทศได้ใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดโดยการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง (จากภาพที่1) เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ขณะนี้สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อเงินเฟ้อในหลายประเทศเริ่มปรับตัวลงใกล้ระดับ 2% ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ธนาคารกลางหลายแห่งตั้งไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือ 4.25% ในการประชุมล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นับเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปี ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ก็ได้แสดงความพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยหากทิศทางของเงินเฟ้อและเศรษฐกิจเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ในการประชุมเมื่อเดือนสิงหาคม สะท้อนถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกกำลังผ่านระดับสูงสุดและเตรียมจะปรับลง
ภาพที่ 1 : ข้อมูลจาก KS Research
มุมมองของนักลงทุน จากข้อมูลที่ได้จากราคาของสัญญาฟิวเจอร์ส 30-Day Federal Funds ที่ซื้อขายในตลาด CME แสดงให้เห็นถึงมุมมองของนักลงทุนที่คาดการณ์ว่าในปีนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทั้งหมด 3 ครั้ง รวมเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง 1% มาอยู่ที่ระดับ 4.25%-4.50% จากภาพที่ 2 อธิบายให้เห็นว่าในการประชุมวันที่ 18/9/2024 นักลงทุนให้น้ำหนักว่า Fed มีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึง 54.5% ตามลำดับ การคาดการณ์นี้สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มองว่าภาวะเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ Fed สามารถดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นได้
ภาพที่ 2 : ข้อมูลจาก CME group
ทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ทุกครั้งที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นสาเหตุหลักมาจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน แสดงให้เห็นว่าเมื่อเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นนักลงทุนจะขายตราสารหนี้ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้น จากภาพด้านที่ 3 หลังจากที่เงินเฟ้อในสหรัฐฯ (CPI) ทำสถิติสูงสุดของปีที่ 3.5% ในเดือนมีนาคม 2024 สถานการณ์เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเงินเฟ้อค่อยๆ ปรับตัวลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีลดลงจากจุดสูงสุดของปีที่ 18.30% โดยปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 4% การปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลนี้มักเกิดจากการไหลเข้าของเงินทุนเข้าสู่พันธบัตรรัฐบาลที่มีมากขึ้น
ภาพที่ 3 : ข้อมูลจาก TradingView
ทางเลือกในการลงทุนสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้
เมื่อเราพิจารณาถึงปัจจัยที่มีแนวโน้มจะส่งผลดีต่อตราสารหนี้ เช่น อาจมีการลดอัตราดอกเบี้ยตามมาหากสหรัฐฯ ตัดสินใจทำเช่นนั้น น่าจะนำไปสู่การปรับลดดอกเบี้ยในประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทยด้วยเหตุผลเช่นการเงินเฟ้อที่ลดลงและการรักษาความมั่นคงของสกุลเงิน ผลที่ตามมาคือการลงทุนในตราสารหนี้จึงกลายเป็นตัวเลือกที่ดึงดูดความสนใจ สำหรับนักลงทุนไทยมีทางเลือกอะไรบ้างสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ที่เข้าถึงได้ง่าย
ตราสารหนี้ในที่นี้นักลงทุนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
ประเภทที่ 1 การลงทุนทางตรง คือการลงทุนระยะยาว ที่เน้นถือครองตราสารหนี้ถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน เพื่อล็อคผลตอบแทนในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยกำลังจะลดลง เช่น พันธบัตรรัฐบาล(พันธบัตรออมทรัพย์ผ่านวอลเล็ต) และ หุ้นกู้เอกชน
ประเภทที่ 2 การลงทุนทางอ้อม คือการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม นอกจากจะสามารถถือครองในระยะยาวได้แล้ว นักลงทุนยังสามารถทำกำไรในระยะสั้นถึงกลางได้ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยลดลงและราคาตราสารหนี้ที่ถืออยู่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น การลงทุนในกองทุน K-FIXED-A และ K-FIXEDPLUS-A
1.กระทรวงการคลังได้เปิดตัว "พันธบัตรออมทรัพย์ผ่านวอลเล็ต" เป็นครั้งที่ 2 โดยมีมูลค่ารวม 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ ประเภทอายุ 5 ปี ให้อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี และประเภทอายุ 10 ปี ให้อัตราดอกเบี้ย 3.40% ต่อปี (ยังไม่รวมภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15%) พันธบัตรผ่านวอลเล็ตจำหน่ายผ่านแอป "เป๋าตัง" มูลค่า 10,000 ล้านบาท และผ่านธนาคารที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอีก 25,000 ล้านบาท รวมถึงจำหน่ายให้กับนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรจำนวน 5,000 ล้านบาท พันธบัตรจะเริ่มจำหน่ายในวันที่ 19-27 สิงหาคมนี้ พร้อมการลงทุนขั้นต่ำที่ 1,000 บาท ในครั้งก่อนหน้านี้ "พันธบัตรออมทรัพย์ผ่านวอลเล็ต" ครั้งที่ 1 ซึ่งมีเงื่อนไขเช่นเดียวกัน ได้รับการตอบรับดีมาก และมีการจองจำนวนมากจนขายหมดอย่างรวดเร็ว
ที่มา : ข้อมูล Kasikorn Bank
2.หุ้นกู้ภาคเอกชน ตัวอย่างของหุ้นกู้เอกชนที่น่าสนใจในช่วงเดือน ส.ค. ซึ่งได้รับการประเมินความน่าเชื่อถือสูง ที่ได้ถูกเสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ซึ่งนักลงทุนสามารถลงทุนผ่านสถาบันการเงินที่จัดจำหน่ายโดยมีธนาคารกสิกรเป็นหนึ่งในผู้ร่วมจัดจำหน่ายในครั้งนี้
2.1.บริษัท ซีพี ออลล์ (CPALL) ได้เปิดเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปทั้งหมด 4 ชุด Rating หุ้นกู้ AA- โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ 4 ปี ถึง 10 ปี โดยจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3.05% ถึง 3.75% ขึ้นอยู่กับระยะเวลาถือครอง (ยังไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%) เปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 19-21 สิงหาคม 2024
2.2.บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล (MTC) ได้เปิดเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปทั้งหมด 3 ชุด Rating หุ้นกู้ BBB+ โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ 2 ปี ถึง 4 ปี โดยจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 4.30% ถึง 4.95% ขึ้นอยู่กับระยะเวลาถือครอง (ยังไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%) เปิดให้จองซื้อระหว่าง 16 และ 19 - 20 สิงหาคม 2024
ที่มา : ข้อมูลจาก ThaiBMA
3.กองทุน K-FIXED-A เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มุ่งเน้นการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งของรัฐและเอกชนในประเทศไทย โดยมีผลตอบแทนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาที่ 3.03% ข้อมูล ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2024 ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพและลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียว โดยกองทุนนี้มีการจัดสรรสินทรัพย์ที่หลากหลาย ซึ่งช่วยสร้างความมั่นคงและลดความผันผวนของผลตอบแทน นอกจากนี้ กองทุนยังมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้นักลงทุนสามารถมั่นใจได้ว่าการลงทุนของตนจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและมีโอกาสในการเติบโตในระยะยาว จากข้อมูลในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2024 มีสินทรัพย์ถือครอง 5 อันดับแรกคือ
ที่มา : ข้อมูลจาก Kasikorn Asset
4.กองทุน K-FIXEDPLUS-A เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการลงทุนในต่างประเทศ โดยมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ทำให้สามารถลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้นักลงทุนมีโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยผลตอบแทนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 3.15% ข้อมูล ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2024 กองทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ กองทุนยังมีผลตอบแทนที่น่าสนใจในระยะยาว ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างความมั่นคงในพอร์ตการลงทุน จากข้อมูลในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2024 มีสินทรัพย์ถือครอง 5 อันดับแรกคือ
ที่มา : ข้อมูลจาก kasikornasset
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: CME group, KS Research, TradingView, ThaiBMA, Kasikorn Bank, Kasikorn Asset