ในสังคมไทยเรา ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสับสน ภาพลักษณ์ของคนที่ป่วยด้วยโรคนี้มักจะถูกมองว่าเป็น "คนที่ผิดปกติทางจิตใจ" หรือ "คนเครียดจัด" ซึ่งเป็นการมองแบบผิวเผิน และไม่เข้าใจถึงความรู้สึกที่แท้จริงของผู้ป่วย บางคนอาจคิดว่า "ก็แค่เศร้าๆ เดี๋ยวก็หาย" แต่ไม่รู้เลยว่านี่คือภาวะที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง มิเช่นนั้นอาจจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น เราควรเปิดใจและเข้าใจกันมากขึ้น เพื่อให้คนที่ป่วยด้วยโรคนี้ได้รับการดูแลและการยอมรับจากสังคม ไม่ใช่ถูกมองว่าเป็นคนที่ "ไม่ปกติ" ซึ่งหากเป็นโรคนี้มีสิทธิ์การรักษาอะไรบ้าง แล้วประกันสุขภาพ ให้ความคุ้มครองไหม บทความนี้มีคำตอบ
สาเหตุและอาการของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าดูจะเป็นเรื่องใหม่ที่ยังมีหลายคนไม่เข้าใจกัน โดยมีสาเหตุและอาการดังนี้
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
- ปัจจัยทางพันธุกรรม บางคนมีความเสี่ยงสูงกว่าคนอื่นเนื่องจากมีประวัติครอบครัว
- ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ระดับของสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน โดปามีน และนอร์เอพินเฟริน อยู่ในภาวะไม่สมดุล
- เหตุการณ์ในชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด เช่น การสูญเสีย การเลิกรา ปัญหาการเงิน หรือการเจ็บป่วย
อาการของโรคซึมเศร้า
- ความรู้สึกเศร้า หดหู่ ท้อแท้อย่างต่อเนื่อง
- สูญเสียความสนใจและความสุขในกิจกรรมที่เคยชอบ
- เปลี่ยนแปลงการนอนและการรับประทานอาหาร
- รู้สึกอ่อนแอ ไร้ค่า หรือรู้สึกผิด
- มีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
- มีปัญหาในการตัดสินใจและ ปัญหาเรื่องสมาธิ
หากใครประสบกับอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง
การรักษาและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
การได้รับการดูแลและการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างเหมาะสมตามอาการจะช่วยลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม อาการก็อาจทวีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อตัวเอง ครอบครัว คนรอบข้าง และชีวิตการทำงาน ส่วนค่ารักษาพยาบาลขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
การรักษาตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยควบคุมอาการได้ในระยะยาว โดยแบ่งวิธีการรักษาได้ดังนี้
1. การตรวจวินิจฉัยและติดตามอาการกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องสำคัญในการดูแลสุขภาพ ช่วยให้แพทย์สามารถติดตามสภาพร่างกายและสามารถตรวจพบปัญหาได้ทันท่วงที อีกทั้งยังช่วยให้แพทย์ประเมินวิธีการรักษาและแผนการดูแลสุขภาพให้เหมาะสม โดยค่าตรวจวินิจฉัยและติดตามอาการกับแพทย์อาจมีค่าใช้จ่ายประมาณ 300 - 1,000 บาทต่อครั้ง
2. การใช้ยาเพื่อช่วยลดอาการซึมเศร้า
ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants)
ยาที่ช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง เช่น serotonin, norepinephrine และ dopamine ลดอาการซึมเศร้า หงุดหงิด วิตกกังวล และฟื้นฟูสภาพจิตใจ โดยมีค่ายาประมาณ 30 - 100 บาทต่อครั้ง และต้องรับประทานอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการหยุดยาเอง เพราะอาจมีผลข้างเคียง โดยอาจใช้ร่วมกับยาต้านซึมเศร้าอื่นๆ เช่น ยานอนหลับ ยาควบคุมอารมณ์ ยาลดความวิตกกังวล จะช่วยให้อาการดีขึ้น
สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนปรับเปลี่ยนขนาดหรือหยุดยา แจ้งแพทย์ทุกครั้งเมื่อพบผลข้างเคียง เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษา
ค่าใช้จ่ายในรักษา
การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยการดูแลด้านจิตใจและการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายนั้น อาจมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปในแต่ละกรณี เช่น
• ค่าจิตบำบัดมักอยู่ในช่วง 500 - 2,000 บาทต่อครั้ง
• ค่าใช้จ่ายสำหรับการฟื้นฟูสภาพร่างกาย เช่น กิจกรรมกลุ่มหรือการออกกำลังกาย ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ทั้งนี้ หากรวมกับค่ายารักษาโรคซึมเศร้าแล้ว ค่าใช้จ่ายโดยรวมอาจอยู่ในช่วง 500 – 3,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการรักษาแต่ละบุคคล
สิทธิประกันสังคมและประกันสุขภาพในการรักษาโรคซึมเศร้า
สิทธิประกันสังคมและสิทธิบัตรทอง
สิทธิประกันสังคมครอบคลุมการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวช โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สามารถรับการรักษาที่โรงพยาบาลที่อยู่ในระบบประกันสังคม สอบถามสิทธิเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันสังคม 1506
สำหรับผู้ถือสิทธิบัตรทองสามารถรักษาโรคซึมเศร้าฟรี หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และสามารถเข้าถึงยารักษาได้ 8 รายการ สอบถามสิทธิเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน สปสช. 1330
สำหรับการเจ็บป่วยทางร่างกาย ที่เกิดจากความเครียดหรือวิตกกังวลต่างๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ซึ่งโรคเหล่านี้ประกันสุขภาพจะให้ความคุ้มครอง ทำให้หมดกังวลเรื่องค่ารักษา โดยแนะนำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่ให้ความคุ้มครองสูง เช่น
• สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ อีลิท เฮลท์ พลัส
คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลตั้งแต่ 20-100 ล้านบาทต่อปี ทั้งกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก กรณีผู้ป่วยในสามารถนอนพักรักษาในห้องเดี่ยวมาตรฐานได้ทุกโรงพยาบาล หรือเลือกห้องเดี่ยวพิเศษได้ตั้งแต่ 10,000 - 25,000 บาทต่อวัน นอกจากนี้ ยังครอบคลุมการรักษาโรคด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy), CT Scan, MRI, การฟอกไต โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
• ประกันชีวิตและสุขภาพ D Health Plus
คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 5 ล้านบาทต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง กรณีผู้ป่วยในสามารถนอนพักรักษาในห้องเดี่ยวมาตรฐานได้ทุกโรงพยาบาล สามารถปรับแผนได้ตรงใจ เช่น ปรับเพิ่มความคุ้มครองเมื่อถึงวัยเกษียณ (Convertible Option) หรือ เลือกซื้อแบบมีความรับผิดส่วนแรกได้ (Deductible) โดยเบิกสวัสดิการหรือประกันที่มีก่อนเพื่อค่าเบี้ยที่ถูกลง
อย่างไรก็ดี การดูแลสุขภาพกายและใจเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและรับมือกับอาการซึมเศร้า การรักษาสมดุลร่างกายและจิตใจ เช่น การออกกำลังกายและพักผ่อนเพียงพอ จะช่วยลดความเครียดและวิตกกังวล นอกจากนี้ การรับฟังตัวเอง ทำกิจกรรมที่ชอบ และการดูแลจากคนรอบข้าง ก็เป็นกุญแจหลักในการดูแลสุขภาพจิต รวมถึงช่วยป้องกันและจัดการกับอาการซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
• สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
•ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลากรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
• การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบมจ.เมืองไทยประกันชีวิต
คำเตือน : ผู้ซึ้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
• เมืองไทยประกันชีวิต