ราคาน้ำมันพุ่ง จากความขัดแย้งในตะวันออกกลางและพายุถล่มสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปลายสัปดาห์นี้ หลังจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสทวีความรุนแรงขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่มขึ้น 0.8% ปิดที่ 77.21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.9% ปิดที่ 73.87 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้กองทุน Invesco DB Oil ทีเป็น Master Fund ของ K-OIL ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.42% ในวันที่ผ่านมา
ล่าสุดสถานการณ์ในตะวันออกกลางมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น หลังจากที่อิสราเอลเตรียมพร้อมตอบโต้การโจมตีด้วยขีปนาวุธจากอิหร่าน ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้ตลาดกังวลถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดลดลงของอุปทานน้ำมันในตลาดโลก ด้านประธานาธิบดี Joe Biden ได้ออกมาเตือนให้หลีกเลี่ยงการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำมันของอิหร่าน ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก
นอกจากนี้ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นก่อนพายุเฮอริเคนมิลตันเข้าโจมตีในสหรัฐฯ ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อราคาน้ำมัน เนื่องจากพายุส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันสำคัญของสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนยังคงจับตาดูความเป็นไปได้ที่อุปทานน้ำมันจะได้รับผลกระทบจากพายุนี้
มุมมองการลงทุน
แม้ว่าการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันล่าสุดจะสะท้อนถึงการหยุดชะงักของอุปทานในระยะสั้นและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่แนวโน้มการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันในระยะยาวอาจถูกจำกัดด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น การปล่อยน้ำมันสำรองเชิงกลยุทธ์ของสหรัฐฯ ออกสู่ตลาดน้ำมันโลก และความเป็นไปได้ในการเพิ่มการผลิตจากผู้ผลิตนอกกลุ่ม OPEC+ ที่ช่วยลดผลกระทบจากอุปทานที่ลดลงได้ นอกจากนี้เศรษฐกิจจีนที่เป็นตลาดสำคัญก็ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันอาจไม่ได้มี upside มากนัก เว้นแต่จะเกิดความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่รุนแรงขึ้นหรือมีแรงกระทบอื่น ๆ ที่ไม่คาดคิด ซึ่งยังมีโอกาสเป็นไปได้ต่ำ
ดังนั้น K WEALTH จึงมีมุมมองเป็นกลางต่อการลงทุนในน้ำมัน นักลงทุนที่มีสัดส่วนการถือครองกองทุน K-OIL* (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) ในสัดส่วนที่สูง ควรระมัดระวังต่อการถือครองกองทุนน้ำมันในภาวะที่มีความไม่แน่นอนนี้ เนื่องจากราคามีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงเมื่อปัจจัยชั่วคราวสิ้นสุดลง
โดยมีคำแนะนำในกองทุนแนะนำ สำหรับผู้ที่มีเงินลงทุนเพิ่ม มีดังนี้
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น MedTech, Biotechnology
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GINFRA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ซึ่งลงในบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า สนามบิน
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GOLD** (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น หรือกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน
o หากรับความเสี่ยงได้บ้าง หรือเป็นเงินลงทุนที่ถือได้อย่างน้อย 1 ปี ขอแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่
กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ
กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้
• หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือต้องการหลีกเลี่ยงทางเลือกที่มีความผันผวน หรือต้องการพักเงินสั้นๆ เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง แนะนำ
o กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน
o กองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Bloomberg
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
*กองทุน K-GHEALTH, K-VIETNAM, K-GINFRA และ K-OIL มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
**กองทุน K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS, K-SF-A, K-SFPLUS และ K-GOLD มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด