ราคาน้ำมันปรับตัวลง หลังอิสราเอลยันไม่โจมตีแหล่งน้ำมันอิหร่าน คลายกังวลอุปทานชะงัก
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวร่วงแรงในวันอังคาร (15 ต.ค.) เห็นได้จากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลง 4.14% ปิดที่ 74.25 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ West Texas Intermediate (WTI) ของสหรัฐฯ ร่วงแรง 4.40% ปิดที่ 70.58 ดอลลาร์/บาร์เรล
หลังอิสราเอลไม่มีแผนโจมตีแหล่งน้ำมันหรือโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลที่ว่าอาจเกิดภาวะอุปทานชะงักงันครั้งใหญ่ ทำให้ความเสี่ยงที่ปริมาณน้ำมันดิบในตลาดโลกจะตึงตัวนั้นลดลง อย่างไรก็ตามอิสราเอลยังคงมีแผนโจมตีทางการทหารในอิหร่านอยู่เช่นเดิม
ขณะเดียวกัน สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ได้ออกรายงานเตือนอาจเกิดภาวะน้ำมันล้นตลาด อันเนื่องมาจากความต้องการน้ำมันโลกซบเซา ข้อมูลระบุว่า ความต้องการน้ำมันโลกจะเพิ่มขึ้นเพียง 900,000 บาร์เรล/วันในปีนี้ และ 1 ล้านบาร์เรล/วันในปีหน้า ซึ่งถือว่าลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับระดับ 2 ล้านบาร์เรล/วันในช่วงสิ้นสุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
นอกจากนี้ ความต้องการน้ำมันของจีนลดลง 500,000 บาร์เรล/วันในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่การผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาร์เรล/วันในปีนี้และปีหน้า ประกอบกับโอเปกมีการคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันที่ลดลงเหลือขยายตัวเพียง 1.6 ล้านบาร์เรล/วันในปีหน้า ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 1.7 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งรายงานของโอเปกสอดคล้องกับ IEA ที่มีการปรับลดตัวเลขคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันในปีนี้และปีหน้าลง (การปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดังกล่าวนับเป็นการปรับลดลงติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 ของโอเปก)
ซึ่งจากสถานการณ์ที่สะท้อนความต้องการใช้น้ำมันลดลง และกำลังการผลิตน้ำมันสู่ตลาดโลกที่อาจจะเพียงต่อความต้องการ หรืออาจจนถึงขั้นล้นตลาดอย่างที่ IEA ได้รายงานไว้ นอกจากส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบลดลงแล้ว ยังส่งผลต่อหุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับน้ำมันด้วย ซึ่งเห็นได้จาก
• ดัชนี Dow Jones (15 ต.ค.) -0.75% ปิดที่ 42,740.42 จุด ซึ่งถูกกดดันจากหุ้นกลุ่มพลังงานที่ดิ่งลง 3% ตามราคาน้ำมัน
• ดัชนี SET (15 ต.ค.) -0.34% % ปิดที่ 1,465.03 จุด ซึ่งถูกกดดันจากแรงขายหุ้นกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และ China play จากโอเปกลดคาดการณ์ความต้องการน้ำมันโลกและผิดหวังจากจีนที่ไร้รายละเอียดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ตลาดหุ้นจีนร่วงต่อ หลังนักลงทุนไม่มั่นใจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน
ณ 15 ต.ค. 67 ดัชนีตลาดหุ้นจีนและฮ่องกง ปรับตัวลงเทียบกับวันก่อนหน้า
• ดัชนี Shanghai Composite -2.53% ปิดที่ 3,201.29 จุด
• ดัชนี China A50 -2.78% ปิดที่ 13,418.37 จุด
• ดัชนี Hang Seng -3.67% ปิดที่ 20,318.79 จุด
• กองทุน K-CHX -3.42%
• กองทุนหลักของ K-CHINA (JPMorgan Funds – China Fund) -4.30%
• กองทุนหลักของ K-ASIAX (iShares MSCI All Country Asia ex Japan ETF) -2.46%
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (12 ต.ค.) กระทรวงการคลังของจีนได้เปิดเผยมาตรการทางการคลังหลายรายการ รวมถึงการออกพันธบัตรรัฐบาลใหม่ระดมทุนกว่า 850 พันล้านดอลลาร์ หรือ 6 ล้านล้านหยวน อีกทั้งการเพิ่มการใช้จ่ายทางการคลัง และมาตรการสนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซา แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับขนาดและระยะเวลาของมาตรการทางการคลังที่ชัดเจน ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนเนื่องจากยังขาดมาตรการในการสนับสนุนการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญของเศรษฐกิจจีน
นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเงินฝืดในประเทศอีกด้วย โดยเงินเฟ้อจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลงสู่ระดับ 0.4% ในเดือน ก.ย. จากระดับ 0.6% ในเดือน ส.ค. และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ร่วงลง 2.8% โดยลดลงเป็นเดือนที่ 24 ติดต่อกัน กดดันให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนมีแนวโน้มลดลงต่อ
มุมมองการลงทุนกองทุนน้ำมัน
ปัจจัยกดดันราคาน้ำมันจากอุปสงค์โลกที่ลดลงสะท้อนแนวโน้มการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันในระยะยาวอาจถูกจำกัด นอกจากนี้เศรษฐกิจจีนที่เป็นตลาดสำคัญก็ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน แต่โอกาสที่ราคาน้ำมันจะปรับลงแรงมีค่อนข้างน้อย เพราะราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมารับรู้ปัจจัยลบจากอุปสงค์ที่ลดลงไปแล้ว เว้นแต่จะเกิดความขัดแย้งในตะวันออกกลางจะกลับมารุนแรงขึ้นหรือมีแรงกระทบอื่น ๆ ที่ไม่คาดคิด ซึ่งยังมีโอกาสเป็นไปได้ต่ำ
ดังนั้น K WEALTH จึงมีมุมมองเป็นกลางต่อการลงทุนในน้ำมัน นักลงทุนที่มีสัดส่วนการถือครองกองทุน K-OIL* (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) ในสัดส่วนที่สูงเกินกว่า 15%ของเงินลงทุนทั้งหมด หรือ มีความกังวลจากราคาที่ปรับลง อาจพิจารณาลดสัดส่วนกองทุนไปยังกองทุนแนะนำของ K WEALTH ในรายละเอียดด้านล่างท้ายบทความ
มุมมองการลงทุนกองทุนหุ้นจีน
Downside ต่อจากนี้ของตลาดหุ้นจีนมีค่อนข้างจำกัดจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดทุนที่มีมีออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงระดับ Valuation ที่ชื้อขายอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ แม้จะยังขาดรายละเอียดของแต่ละมาตรการก็ตาม
ดังนั้น K WEALTH ยังมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นจีน นักลงทุนที่มีสัดส่วนการถือครองกองทุน K-CHINA , K-CCTV , K-CHX (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) แนะนำรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจต่อจากนี้ที่จะสะท้อนความเชื่อมั่นของภาคประชาชนและภาคการบริโภค เช่น GDP , ดัชนีค้าปลีก นักลงทุนที่สนใจเข้าลงทุนยังคงต้องระมัดระวังการลงทุนเพิ่ม แต่หากกองทุนที่ถือมีกำไรแนะนำให้พิจารณาขายทำกำไร
สำหรับผู้กำลังพิจารณาทางเลือกการลงทุน ขอแนะนำกองทุนแนะนำของ K WEALTH มีดังนี้
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น MedTech, Biotechnology
o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GOLD** (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น หรือกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน
o หากรับความเสี่ยงได้บ้าง หรือเป็นเงินลงทุนที่ถือได้อย่างน้อย 1 ปี ขอแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่
กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ
กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้
• หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือต้องการหลีกเลี่ยงทางเลือกที่มีความผันผวน หรือต้องการพักเงินสั้นๆ เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง แนะนำ กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก RYT9
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
*กองทุน K-GHEALTH, และ K-OIL มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
**กองทุน K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS, K-SF-A, K-CHINA, K-CCTV , K-CHX และ K-GOLD มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด