-
ผลกระทบจากการครบกำหนดของ LTF ต่อตลาดหุ้นไทย: ในปี 2025 การครบกำหนดของ LTF คาดว่าจะทำให้เกิดเงินไหลออกประมาณ 23.68 พันล้านบาท โดยปกติแล้วจะมี Flow ของ LTF ไหลออกมากที่สุดในไตรมาส 1 ที่ประมาณ 50% ของปริมาณการไหลออกทั้งหมด แต่จากการคำนวณของทาง K WEALTH เราได้ข้อสรุปว่าผลกระทบของการขาย LTF ครบกำหนดในปี 2025 ต่อตลาดหุ้นไทยคาดว่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำมาก โดยคิดเป็นเพียง 0.9% ของปริมาณการซื้อขายรายไตรมาสเท่านั้น
-
ทางเลือกการลงทุนหลัง LTF ครบกำหนด: หากนักลงทุนขาดทุนไม่มากและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีไปแล้ว แนะนำให้นักลงทุนขาย LTF ที่ครบกำหนด และนำเงินไปลงทุนในกองทุนที่แนะนำตามกลยุทธ์การลงทุนปี 2025 หรือนำเงินไปซื้อประกันชีวิต ที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงและเป้าหมายการเงินของแต่ละบุคคล
LTF ครบกำหนด กระทบกับตลาดหุ้นไทยแค่ไหน?
เนื่องจากปี 2025จะเป็นปีที่ครบกำหนดของกองทุนรวมหุ้นในระยะยาว หรือ LTF ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกคนสามารถขายออกได้ทั้งหมด ในบทความนี้จึงชวนมาดูกันว่า ถ้ามีการขายออกมาจะกระทบกับตลาดหุ้นไทยมากแค่ไหนในปี 2025 โดยทาง K WEALTH ได้มีการตั้งสมมติฐานอ้างอิงจากข้อมูลในอดีต ดังนี้
- ในช่วงปี 2020-2021 เป็นช่วงที่ไม่มี LTF ครบกำหนด นักลงทุนถือลงทุนมาเรื่อย ๆ สะสมมาหลายปี เรามองว่าการขายในช่วงนี้เป็น การขายออกเป็นปกติ เราจะทำการเฉลี่ยการไหลออกจาก AUM ตั้งต้น ในช่วง 2 ปีนี้ (ค่าเฉลี่ยระหว่าง -2.73% ในปี 2020 กับ -5.59% ในปี 2021) โดยเฉลี่ยกันแล้วจะคิดเป็นการเทขายของนักลงทุนที่ประมาณ -4.16% ของ AUM ตั้งต้น
- ในช่วงปี 2022-2024 เป็นช่วงที่มี LTF ครบกำหนดและมีการขายออกเป็นปกติด้วย ดังนั้นถ้าเราต้องการหาการขายออกจากการครบกำหนดของ LTF เพียงอย่างเดียว เราจึงนำ จำนวนการขายทั้งหมดของปีนั้น มาลบกับจำนวนเฉลี่ยของการขายปกติ
ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2022 การขายออกจากการครบกำหนดของ LTF มาจากมูลค่าการขายออกทั้งหมด (-31,238 ล้านบาท) หักลบกับเม็ดเงินไหลออกตามปกติจากข้อ 1. (-14,696 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นจาก 4.16% ของ AUM ตั้งต้นปี 2022) ดังนั้นจำนวนเงินที่ไหลออกจากการครบกำหนดจะเป็น -16,542 ล้านบาท
โดยจำนวนเงินที่ไหลออกจากการครบกำหนดในปี 2022 มาจากการซื้อกอง LTF ในปี 2016 ซึ่งมีการซื้อเข้ามาจำนวน 22,244 ล้านบาท ดังนั้นการขายออกของปี 2022 ที่ 16,542 ล้านบาท จึงคิดเป็นประมาณ -74% ของการซื้อ LTF ในปี 2016 ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงปี 2023 และ 2024 ที่ปริมาณการขายออกจากการที่ LTF ครบกำหนด คิดเป็นราว ๆ -67% และ -72% ของการซื้อ LTF ในปี 2017 และ2018 ตามลำดับ โดยเมื่อนำมาเฉลี่ยกัน 3 ปี ปริมาณการขายออกจาก LTF ที่ครบกำหนด จะคิดเป็น -71% ของจำนวน LTF ที่ซื้อเข้ามา ซึ่งเราจะนำตัวเลขเฉลี่ยนี้มาใช้ประมาณการจำนวนการขายออกที่เกิดจาก LTF ที่ครบกำหนดเพียงอย่างเดียวในปี 2025 ต่อไป
- ดังนั้นถ้าเราต้องการคำนวณจำนวนการขาย LTF ของปี 2025 ทั้งหมด เราก็จะสามารถหาได้จากการนำเม็ดเงินที่เกิดจากขายออกเป็นปกติ (-9,576 ล้าน มาจาก 4.16% ของเงินตั้งต้นปี 2025) รวมกับจำนวนการขายออกของ LTF ที่ครบกำหนดอายุในปี 2025 เพียงอย่างเดียว (-14,104 ล้านบาท มาจาก 71% ของจำนวน LTF ที่ซื้อเข้ามาในปี 2019 ที่ 19,869 ล้านบาท) ซึ่งคำนวณออกมาได้จำนวนเงินที่คาดว่าจะไหลออกในปี 2025 เท่ากับ -23,680 ล้านบาท
ที่นี้เรามาดูว่าปริมาณการขายออกที่คำนวณได้ จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยมากแค่ไหน ซึ่งโดยปกติแล้วนั้น Flow ของ LTF จะไหลออกจากตลาดหุ้นไทยมากที่สุดในไตรมาส 1 เฉลี่ยประมาณ 50% ของจำนวนการไหลออกของทั้งปี โดยปี 2025 จากการคำนวณตามสมมติฐานอยู่ที่ประมาณ -12,000 ล้านบาท และถ้าเทียบกับปริมาณการซื้อขายหุ้นไทยเฉลี่ยในแต่ละไตรมาส ที่ราว ๆ 1.3 ล้านล้านบาท จะคิดเป็นแค่ประมาณ 0.9% จึงสรุปได้ว่า ปริมาณการขายออกที่คำนวณได้ จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยอย่างมีนัยสำคัญ
คนที่ถืออยู่ LTF อยู่ ครบกำหนดแล้วทำยังไงดี ?
ผลตอบแทนของกองทุน LTF ของบลจ KAsset
ถ้าเราพิจารณาผลตอบแทนรวมปันผลของกองทุน LTF ของบลจ. กสิกรไทย จะเห็นว่า ผู้ที่ซื้อกองทุน LTF มาในช่วงก่อนปี 2016 จะยังคงได้กำไรอยู่ แต่ถ้าซื้อหลังจากช่วงปี 2016 นักลงทุนส่วนมากจะขาดทุน
ผลตอบแทนของกองทุน LTF ของบลจ KAsset รวมผลจากการลดหย่อนภาษี 15%
แต่ถ้าเรารวมผลของการได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี โดยเราคาดว่าผู้ที่ซื้อ LTF จะเป็นผู้ที่ต้องเสียภาษีอยู่ที่ 15% จะเห็นว่า ถ้ารวมประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี ผลตอบแทนจะปรับขึ้นมาเป็นบวกในเกือบทุก ๆ ปีที่ซื้อ จึงสามารถพิจารณาขายออกแล้วไปลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น ๆ ตามกลยุทธ์การลงทุนปี 2025 เพื่อลงทุนต่อในกองทุนปกติ กองทุนลดหย่อนภาษี หรือประกันต่าง ๆ ได้ เช่น ลงทุนในกองทุนรวมผสม K-WealthPLUS Series เผื่อรับมือกับความผันผวนของตลาดการลงทุนปี 2025
ถ้าต้องการลดหย่อนภาษีต่อ มีทางเลือกอะไรบ้าง
ถ้าท่านนักลงทุนที่ขาดทุนกองทุน LTF อยู่จำนวนมากแต่ยังไม่อยากตัดขาดทุน นักลงทุนสามารถถือต่อไปได้ โดยทาง K WEALTH จะมีการณ์อัปเดตสถานการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้อย่างต่อเนื่อง ส่วนถ้ายังต้องการลดภาษีก็สามารถนำเงินก้อนใหม่มาลงทุนตามกองทุนหรือประกันตามคำแนะนำได้ เช่นกัน
สำหรับผู้ที่ขาดทุนกอง LTF อยู่ไม่มาก หรือ กำไรอยู่ และได้รวมผลประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีไปแล้ว สามารถขายกอง LTF แล้วไปลงทุนกองทุนแนะนำตามระดับความเสี่ยงที่รับได้หรือไปซื้อประกัน เพื่อลดหย่อนภาษีได้
- รับความเสี่ยงได้น้อย
- กองทุน ThaiESG ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้รัฐบาลไทยอย่าง กองทุน K-ESGSI ThaiESG หรือกองทุนรวมผสมหุ้นไทยและตราสารหนี้ไทย อย่าง กองทุน K-BL30-ThaiESG
- กองทุน RMF ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นอย่าง กองทุน KSFRMF หรือกองทุนรวมผสมหุ้น ตราสารหนี้และสินทรัพย์ทางเลือกทั่วโลกอย่าง กองทุน KWPBALRMF
- รับความเสี่ยงได้มาก
- กองทุน ThaiESG ที่เป็นกองทุนหุ้นไทยอย่าง กองทุน K-TNZ-ThaiESG
- กองทุน RMF กองทุนรวมผสมหุ้น ตราสารหนี้และสินทรัพย์ทางเลือกทั่วโลกอย่าง กองทุน KWPSPEEDRMF และ กองทุน KWPULTIRMF หรือกองทุนที่เน้นลงทุนรายประเทศหรือรายอุตสาหกรรมอย่าง กองทุน KUSARMF, กองทุน KGHRMF และ กองทุน KGTECHRMF
- หรือพิจารณาทางเลือกประกันชีวิตได้ หาก
- มีคนในอุปการะที่ต้องเลี้ยงดูหรือเป็นเสาหลักของครอบครัว สามารถนำเงินครบจากกองทุน LTF มาแบ่งเป็น 5 ส่วน เพื่อทยอยเป็นค่าเบี้ยประกันคุ้มครองตลอดชีพ 99/5 ที่คุ้มครองยาวนานถึงอายุ 99 ปี เพื่อสร้างมรดกให้กับครอบครัวและคนรอบข้าง
- ต้องการทางเลือกที่ไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน สามารถนำเงินครบจากกองทุน LTF มาแบ่งเป็น 6 ส่วน เพื่อทยอยเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิตเพื่อสะสมเพื่อทรัพย์ 615 Global ที่มีลุ้นผลตอบแทนจากการลงทุนทั่วโลก และการันตีเงินต้นไม่หาย บริหารงานโดย Goldman Sachs มีการจ่ายเงินปันผล หรือแบ่งเป็น 8 ส่วนเพื่อทยอยเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิต 80/8 Big Bonus จ่ายเบี้ยประกัน 8 ปี คุ้มครองถึงอายุ 80 ปี รับเงินคืน 12% ทุกปี ครบสัญญารับเงินก้อน 800%