สอบถามเรื่องการเงินหรือนัดผู้เชี่ยวชาญวางแผนการลงทุนได้เลย เพียงสแกน QR Code เพื่อเพิ่มเพื่อนกับ Line KBank Live
สแกน QR Code โดยใช้ กล้องมือถือ หรือ LINE เพื่อดำเนินการต่อบน LINE KBank Live
สอบถามเรื่องการเงิน หรือ สอบถามผู้เชี่ยวชาญ วางแผนการลงทุนได้เลย โทร. 02-8888888 กด 865
สอบถามเรื่องการเงิน หรือ นัดผู้เชี่ยวชาญวางแผนการลงทุนได้เลย
เพียงสแกน QR Code เพื่อเพิ่มเพื่อนกับ
สมัครสมาชิก K WAELTH ฟรี
รวมรายการสิทธิค่าหักลดหย่อนภาษี ปี 2567
ThaiESG / SSF / RMF กองทุนลดหย่อนภาษี
กองทุนรวมแนะนำจาก K WEALTH
มุมมองตลาด
เทคนิคการเก็บเงินให้พอใช้หลังเกษียณ
ค้นหา ผลิตภัณฑ์ กองทุน ประกัน ที่ใช่ที่สุดสำหรับคุณ
พูดคำที่คุณต้องการค้นหา
ไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถตรวจสอบได้
วันที่ 08 มกราคม 2568
การจัดการเงินลงทุนในกองทุน LTF ที่ครบเงื่อนไขเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่ไม่มีรายได้แล้ว ค้นพบวิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยการเลือกทางเลือกการลงทุนที่เหมาะสมและมีความเสี่ยงต่ำ เพื่อให้เงินลงทุนของคุณเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่
ทำอย่างไร? กับเงินลงทุนในกอง LTF ที่ถือมาครบ 7 ปีปฏิทิน... หากเป็นคนที่ยังมีรายได้ต้องเสียภาษีอยู่ ส่วนใหญ่คงนำเงินที่ครบไปลงทุนกองทุน ThaiESG หรือกองทุน RMF เพื่อลดหย่อนภาษีต่ออีกครั้ง แต่สำหรับคนที่ปีนี้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว หากยังไม่รู้ว่าควรถือกองทุน LTF ต่อ หรือย้ายเงินไปทำอย่างอื่นดี K WEALTH มีทางเลือกที่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ถือกองทุน LTF ทุกคน มาฝากกัน
หากลองพิจารณาผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปี ณ 2 ม.ค. 68 ของกองทุน LTF บลจ.กสิกรไทย พบว่านอกจากกองทุน KMSLTF-C(L) ที่มีผลการดำเนินงานเป็นบวกที่ 1.06% ต่อปีแล้ว กองทุน LTF อื่น ยังมีผลขาดทุนอยู่ที่ 1.30 - 5.02% ต่อปี หรือเทียบเป็นขาดทุนสะสม 5 ปีประมาณ 6.50 - 25.10% (รวมผลตอบแทนจากเงินปันผลแล้ว)
หากพิจารณาผลการดำเนินงานของดัชนี SET TRI ซึ่งเป็นตัวแทนการลงทุนในหุ้นไทย ตามปีปฏิทินย้อนหลัง* ในช่วงปี 2557-2567 พบว่า มีอยู่ 7 ปี ที่ผลการดำเนินงานเป็นบวก และมีอยู่ 4 ปี ที่มีผลการดำเนินงานมากกว่า 15% ต่อปี (17.30 - 23.89% ต่อปี) ดังนั้นหากใครยังขาดทุนจากการถือกองทุน LTF สูงอยู่ เช่น ขาดทุนเกิน 10% การถือกองทุน LTF ต่อ ก็มีโอกาสที่อาจใช้เวลาไม่กี่ปี ที่มูลค่ากองทุน LTF จะกลับมาเท่าทุนหรือกำไรได้
K WEALTH ยังมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นไทย โดยประเทศไทยยังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำให้การแข่งขันด้านการส่งออกด้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน อีกทั้งการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวจากนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงอยู่จะจำกัดการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนในระยะข้างหน้าด้วย อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น ในช่วงต้นปี 68 คาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการบริโภค ส่วนระยะกลางถึงระยะยาวคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนภาครัฐ ดังนั้นกองทุน LTF ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นไทย จึงยังคงสามารถถือต่อได้
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ และต้องการให้เงินที่ถืออยู่นี้ มีการเติบโตต่อในทางเลือกอื่นนอกเหนือจากหุ้นไทย หรือรู้สึกว่ากองทุน LTF ที่ถือขาดทุนไม่มาก เช่น ขาดทุนไม่เกิน 10% และพร้อมที่จะย้ายเงินไปลงทุนทางเลือกอื่นที่มีแนวโน้มดีกว่า เราขอแนะนำการลงทุนในกองทุนแนะนำของ K WEALTH โดยอาจทำรายการ “ขายคืน” กองทุน LTF เดิมและรอรับเงินค่าขายคืนเพื่อนำเงินนั้นไปทำรายการซื้อกองทุนอีกครั้ง หรือทำการ “สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน” จากกองทุน LTF ไปยังกองทุนอื่นโดยทำรายการเพียงครั้งเดียวก็ได้
ผู้ลงทุนสามารถเลือกกองทุนที่ต้องการลงทุนได้จากกองทุนแนะนำของ K WEALTH ประจำเดือน ม.ค. 68 ซึ่งผลการดำเนินงานย้อนหลัง* ณ 30 ธ.ค. 67 ส่วนใหญ่สูงกว่ากองทุน LTF เช่น
หรือหากมีเป้าหมายที่จะนำเงินกองทุน LTF ที่ครบนี้ไปใช้จ่ายเรื่องอื่นนอกเหนือจากการลงทุน เช่น นำเงินไปเป็นค่าเบี้ยประกัน เพื่อเป็นหลักประกันไว้ใช้ในยามเกษียณให้กับตนเอง หรือเพื่อใช้สร้างมรดกหรือความคุ้มครองชีวิตก้อนโตให้กับครอบครัว ก็สามารถนำเงินจากกองทุน LTF ที่ครบนี้ ไปพักไว้ในกองทุน K-SF-A เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนระหว่างที่รอนำเงินนี้ไปจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันในปีต่อๆ ไปได้ โดยกองทุน K-SF-A เน้นลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งภาครัฐและเอกชน มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี ณ 2 ม.ค. 68 อยู่ที่ 2.23% ต่อปี* หากต้องการใช้เงิน สามารถขายคืนได้ทุกวันทำการ และรอ 1 วันทำการก็ได้เงิน (T+1)
สำหรับคนที่เกษียณหรือออกจากงานแล้ว แม้ไม่ต้องเสียภาษีแต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับการจัดสรรเงินไว้ให้เพียงพอกับการใช้จ่ายหลังเกษียณ โดยเงินส่วนใหญ่ควรเป็นทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากแต่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ มีผลตอบแทนหรือเงินคืนที่ค่อนข้างแน่นอน เช่น
นอกจากการนำเงินไปต่อยอดให้กับตนเองแล้ว การนำไปสร้างหลักประกันให้กับคนในครอบครัว ในวันที่เราจากไปก็เป็นสิ่งที่หลายครอบครัวอาจต้องการ ซึ่งประกันชีวิตแบบคุ้มครองตลอดชีพสามารถแปลงเงินหลักหมื่นให้กลายเป็นความคุ้มครองชีวิตหลักแสนได้
ตัวอย่างเช่น มีเงินครบจากกองทุน LTF จำนวน 150,000 บาท สำหรับผู้ชายอายุ 60 ปี หากนำไปทยอยเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/5 ปีละ 30,000 บาท (โดยค่าเบี้ยปีที่ 2-5 แนะนำพักไว้ในกองทุน K-SF-A) จะสามารถสร้างความคุ้มครองชีวิตได้ประมาณ 190,000 บาท นับตั้งแต่วันที่กรมธรรม์อนุมัติ หรือแม้ไม่ได้เสียชีวิต เบี้ยประกันที่จ่ายไปก็ถูกสะสมไว้ในรูปแบบของมูลค่าเงินเวนคืน หรือเมื่อครบสัญญาตอนอายุ 99 ปี ก็จะได้รับเงินก้อนเท่ากับทุนประกันเริ่มต้น หรือกรณีนี้คือประมาณ 190,000 บาท ซึ่งสูงกว่าค่าเบี้ยประกันรวมที่จ่ายไปประมาณ 40,000 บาท
เงินครบจากกองทุน LTF เป็นเงินเก็บที่สะสมมานานกว่า 5-7 ปี หากจะนำไปใช้จ่ายหรือต่อยอดเรื่องใด ควรพิจารณาให้รอบด้าน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด หรือหากยังไม่รีบร้อนต้องใช้เงิน ก็ยังคงสามารถถือลงทุนต่อหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุนที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี เพื่อให้เงินได้งอกเงยต่อเนื่อง ไม่หยุดเติบโตหรือใช้จ่ายหมดภายในไม่กี่วัน หลังจากที่ได้ลงทุนมานานกว่า 5-7 ปี
* สามารถดูผลการดำเนินงานย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่ www.kasikornasset.com
หมายเหตุ:
K WEALTHราชันย์ ตันติจินดา CFP®
โดยใช้กล้องมือถือ หรือ LINE เพื่อดำเนินการต่อบน K PLUS
รับข่าวสารการเงินผ่าน LINE KBank Live อัปเดตได้ทุกที่ ทันทุกสถานการณ์ ตามติดทุกเทรนด์การลงทุน