ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ตามคาดการณ์ ส่งให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ระดับ 2.75% อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์อยู่ที่ระดับ 2.9% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 3.15% นับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. ปีที

ประเด็นร้อน: ECB ลดดอกเบี้ยตามคาด เผยอาจมีลดอีกเดือน มี.ค. นี้

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ตามคาดการณ์ ส่งให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ระดับ 2.75% อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์อยู่ที่ระดับ 2.9% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 3.15% นับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. ปีที

  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ตามคาดการณ์ ส่งให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ระดับ 2.75% อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์อยู่ที่ระดับ 2.9% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 3.15% นับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. ปีที่ผ่านมา
  • โดย K WEALTH มีมุมมอง Neutral ต่อการลงทุนกองทุนหุ้นยุโรป โดยเศรษฐกิจยุโรปยังมีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องและยังโดนกดดันจากหลายปัจจัย แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจยุโรปได้ในอนาคต

ECB ลดดอกเบี้ย 0.25% เผยอาจลดเพิ่ม มี.ค. นี้ กังวลทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้า

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ตามคาดการณ์ ส่งให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ระดับ 2.75% อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์อยู่ที่ระดับ 2.9% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 3.15% นับเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. ปีที่ผ่านมา


แม้ประธานาธิบดีทรัมป์จะยังไม่ปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้ากับยุโรป แต่ประธาน ECB มองว่าการใช้นโยบายขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก ส่วนผลต่ออัตราเงินเฟ้อมีความซับซ้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตอบโต้และการปรับตัวของตลาดการค้า


ขณะเดียวกันผู้กำหนดนโยบาย 3 ท่านของ ECB เผยกับสำนักข่าว Reuters ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยอีกในการประชุมเดือน มี.ค. นี้


นอกจากนี้ ECB ประเมินว่าเงินเฟ้อมีพัฒนาการตามที่คาดไว้และคาดว่าจะกลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ในปีนี้ โดยค่าจ้างที่ชะลอตัว จะช่วยลดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลต่อให้รายได้ที่แท้จริงปรับเพิ่มขึ้น และการผ่อนคลายนโยบายการเงินจะช่วยให้การเติบโตทางเศรษฐกิจได้


หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ตลาดการเงินยุโรปตอบรับในเชิงบวก โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจสำคัญของยุโรปทั้งระยะสั้นและยาวปรับตัวลงทันที อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนี อายุ 2 ปี ลดลง 3.09% มาที่ระดับ 2.195% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมนี อายุ 10 ปี ลดลง 1.94% มาที่ระดับ 2.517% เป็นปัจจัยหนุนให้ตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวขึ้น 0.86%



มุมมองการลงทุน

อย่างไรก็ตาม K WEALTH มีมุมมอง Neutral ต่อการลงทุนกองทุนหุ้นยุโรป โดยเศรษฐกิจยุโรปยังมีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่อง และยังโดนกดดันจากหลายปัจจัย เช่น ภาคอุตสาหกรรมซบเซาโดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์, เศรษฐกิจจีนชะลอตัวกระทบการส่งออก และการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจยุโรปได้ในอนาคต และ ECB ยังมีระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากพอให้ปรับลดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีก


คำแนะนำสำหรับกองทุนหุ้นยุโรป ดังนี้

ผู้ที่ถือกองทุนที่มีสัดส่วนหุ้นยุโรป แนะนำถือต่อ


ผู้ที่ถือกองทุนที่ไม่มีสัดส่วนหุ้นยุโรป แนะนำรอจังหวะ หรือลงทุนกองทุนแนะนำอื่น


โดยมีคำแนะนำในกองทุนแนะนำ มีดังนี้

  • ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
    • แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology
    • แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-USA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พร้อมรับทุกโอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจและธุรกิจสหรัฐฯ
    • แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม
    • แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GINFRA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ซึ่งลงในบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า สนามบิน
    • แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GOLD** (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
  • สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น หรือกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน
    • หากรับความเสี่ยงได้บ้าง หรือเป็นเงินลงทุนที่ถือได้อย่างน้อย 1 ปี ขอแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่
      • กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ
      • กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้
  • หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือต้องการหลีกเลี่ยงทางเลือกที่มีความผันผวน หรือต้องการพักเงินสั้นๆ เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง แนะนำ
    • กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน
    • กองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Bloomberg



คำเตือน

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

*กองทุน K-GHEALTH, K-VIETNAM, K-GINFRA, K-USA มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนหรือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน

**กองทุน K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS, K-SF-A, K-SFPLUS และ K-GOLD มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด

ผู้เขียน

K WEALTH

Back to top