นโยบายการเงินคืออะไร? ทำความเข้าใจ พร้อมปรับกลยุทธ์การลงทุน

นโยบายการเงินคืออะไร? รู้จักบทบาทและประเภทนโยบายการเงินทั้งผ่อนคลายและเข้มงวด วิเคราะห์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การลงทุน และแนวทางปรับพอร์ตให้เหมาะสมกับภาวะตลาดการเงิน

  • นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือสำคัญของธนาคารกลางในการบริหารเศรษฐกิจ ผ่านการควบคุมปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ย เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน
  • การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ไม่ว่าจะเป็นแบบผ่อนคลายหรือเข้มงวด ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดการเงิน การลงทุน และชีวิตประจำวันของประชาชน ผ่านการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และสภาพคล่องในระบบ
  • นักลงทุนควรติดตามและทำความเข้าใจทิศทางนโยบายการเงิน เพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดและโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสม

นักลงทุนน่าจะเคยได้ยินข่าวธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จัดประชุมเพื่อกำหนดนโยบายการเงิน เช่น ลดดอกเบี้ย คงดอกเบี้ย หรือใช้มาตรการต่างๆ ให้เหมาะกับสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนั้น แล้วนโยบายการเงิน คืออะไร มีบทบาทอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ และส่งผลกระทบต่อการลงทุนอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้


นโยบายการเงินคืออะไร

นโยบายการเงิน เป็นเครื่องมือสำคัญที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ใช้ในการบริหารจัดการเศรษฐกิจผ่านการควบคุมปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ยในระบบ โดยมีเป้าหมายหลักในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน


นโยบายมี 2 แบบคือ นโบายการเงิน และนโยบายการคลัง ซึ่งนโยบายการเงินแตกต่างจากนโยบายการคลังที่ดำเนินการโดยรัฐบาล โดยนโยบายการเงินจะเน้นการควบคุมปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ในขณะที่นโยบายการคลังจะใช้เครื่องมือด้านภาษีและการใช้จ่ายของภาครัฐ


ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำหน้าที่กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน โดยมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้พิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงิน


เป้าหมายและบทบาทของนโยบายการเงิน

ธนาคารกลางในแต่ละประเทศมีเป้าหมายหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน ได้แก่


  1. การควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป โดยทั่วไปธนาคารกลางมักตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ที่ประมาณ 2% ต่อปี ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสำหรับปี 2568 อยู่ในช่วง 1-3%
  2. การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผ่านการรักษาสมดุลระหว่างการกระตุ้นการลงทุนและการควบคุมเสถียรภาพทางการเงิน
  3. การรักษาเสถียรภาพของค่าเงินและระบบการเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย

ประเภทของนโยบายการเงิน

นโยบายการเงินมี 2 ประเภท ได้แก่


  1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (Expansionary Monetary Policy)
  2. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมักถูกนำมาใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวหรือเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยมีมาตรการสำคัญ ได้แก่


    • การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมและกระตุ้นการลงทุน
    • การดำเนินมาตรการ QE (Quantitative Easing) หรือการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินในตลาด เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
    • การผ่อนคลายเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

    • ตัวอย่างเช่น ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ธนาคารกลางทั่วโลกได้ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างเข้มข้น โดยการลดดอกเบี้ยลงสู่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์และอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ


  3. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (Contractionary Monetary Policy)
  4. นโยบายการเงินแบบเข้มงวดมักถูกนำมาใช้เมื่อเศรษฐกิจมีความร้อนแรงหรือเงินเฟ้อสูงเกินไป โดยมีมาตรการสำคัญ ได้แก่


    • การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อชะลอการกู้ยืมและควบคุมเงินเฟ้อ
    • การดำเนินมาตรการ QT (Quantitative Tightening) หรือการลดขนาดงบดุลของธนาคารกลาง
    • การเพิ่มอัตราเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์

เครื่องมือทางการเงินของธนาคารกลาง

ธนาคารกลางมีเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน ดังนี้


  1. อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเครื่องมือหลักที่ธนาคารกลางใช้ส่งสัญญาณทิศทางนโยบายการเงิน โดยการปรับขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมในระบบ
  2. การซื้อขายพันธบัตรและตราสารหนี้ ธนาคารกลางสามารถเพิ่มหรือลดสภาพคล่องในระบบผ่านการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้อื่นๆ
  3. การควบคุมอัตราเงินสำรอง การกำหนดสัดส่วนเงินสำรองที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงไว้ เพื่อช่วยควบคุมปริมาณเงินในระบบ
  4. การบริหารอัตราแลกเปลี่ยน การแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน

ผลกระทบของนโยบายการเงินต่อเศรษฐกิจและการลงทุน

สำหรับผลกระทบของนโยบายการเงินมีดังนี้


  1. ผลกระทบต่อตลาดทุนและการลงทุน
    • ตลาดตราสารหนี้ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยราคาตราสารหนี้จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ย เมื่อดอกเบี้ยลดลง ราคาตราสารหนี้จะสูงขึ้น
    • ตลาดหุ้นมักตอบสนองในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ย เมื่อดอกเบี้ยลดลง ราคาหุ้นมักปรับตัวขึ้น
    • กลุ่มหุ้นได้รับผลกระทบแตกต่างกัน เช่น หุ้นกลุ่มธนาคารมักได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มักได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง
  2. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและค่าครองชีพ
    • อัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจและการบริโภคของประชาชน
    • ค่าครองชีพและเงินเฟ้อมีความสัมพันธ์โดยตรงกับนโยบายการเงิน
    • การจ้างงานและค่าแรงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงิน

กรณีศึกษานโยบายการเงินในประเทศและต่างประเทศ

  1. กรณีศึกษาธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)
  2. ช่วงปี 2020-2024 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินอย่างรวดเร็ว


    • ปี 2020 Fed ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างมากเพื่อรับมือกับวิกฤตโควิด-19 โดยลดดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 0-0.25%
    • ปี 2022-2023 ปรับเปลี่ยนเป็นนโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ โดยขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องสู่ระดับ 5.25-5.50%
    • ปี 2024 เริ่มส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงิน หลังเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัว
  3. กรณีศึกษานโยบายการเงินของยุโรปและญี่ปุ่น
  4. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวทางที่แตกต่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน


    • ECB เน้นการควบคุมเงินเฟ้อเป็นหลัก โดยปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2022-2023
    • BOJ ยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องยาวนาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและแก้ปัญหาเงินฝืด
  5. นโยบายการเงินของไทย
  6. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินนโยบายการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไป


    • รักษาสมดุลระหว่างการควบคุมเงินเฟ้อและการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
    • ให้ความสำคัญกับเสถียรภาพระบบการเงินและค่าเงินบาท
    • ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงปี 2023-2024

คำแนะนำสำหรับนักลงทุน

นักลงทุนควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงิน เพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนดังนี้


ในช่วงนโยบายการเงินผ่อนคลาย


  • พิจารณาลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสเติบโต เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มเติม
  • เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน

ในช่วงนโยบายการเงินเข้มงวด


  • เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดีและมีโอกาสจ่ายเงินปันผลสูง
  • เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น

กองทุนแนะนำจาก K WEALTH

เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงิน K WEALTH แนะนำกองทุนดังนี้


กองทุนตราสารหนี้ เหมาะกับการลงทุนในช่วงดอกเบี้ยขาลง


  • กองทุน K-FIXEDPLUS-A ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ภาคเอกชน และเงินฝากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

กองทุนผสม เหมาะกับการลงทุนระยะยาวเป็นพอร์ตหลัก เน้นกระจายความเสี่ยงและรับมือกับความผันผวน


  • กองทุน K-WPBALANCED ลงทุนในหุ้น 15-45% และลงทุนในตราสารหนี้ 55-85%
  • กองทุน K-WPULTIMARE ลงทุนในหุ้น 70-100% และลงทุนในตราสารหนี้ 0-30%

กองทุนหุ้น เหมาะกับนักลงทุนที่มองหาโอกาสเพิ่มผตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสเติบโตได้ดี


  • กองทุน K-USA-A(A) ลงทุนในหุ้นของบริษัทสหรัฐอเมริกาขนาดใหญ่ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีศักยภาพการเติบโตสูง
  • กองทุน K-HIT-A(A) ลงทุนในหุ้นทั่วโลก เน้นสร้างพอร์ตการลงทุนให้หลากหลายผ่านกลยุทธ์การคัดเลือก ธีมการลงทุน กลุ่มอุตสาหกรรม และหุ้น

นโยบายการเงินเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน การทำความเข้าใจและติดตามการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงินจะช่วยให้นักลงทุนสามารถปรับกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยแนะนำให้กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท และเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : บลจ.กสิกรไทย, ธนาคารแห่งประเทศไทย


คำเตือน

กองทุน K-FIXEDPLUS-A มีระดับความเสี่ยงที่ 4 (จากสูงสุด 8 ระดับ) กองทุน K-WPBALANCED มีระดับความเสี่ยงที่ 5 (จากสูงสุด 8 ระดับ) ส่วนกองทุน K-WPULTIMATE, K-USA-A(A) และ K-HIT-A(A) มีระดับความเสี่ยงที่ 6 (จากสูงสุด 8 ระดับ)

กองทุน K-FIXEDPLUS-A มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ

กองทุน K-WPBALANCED และ K-WPULTIMATE มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

ส่วนกองทุน K-USA-A(A) และ K-HIT-A(A) มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

K WEALTHสุวิมล ยิ่งเจริญรุ่งโรจน์ CFP®

Back to top