Global Minimum Tax กระทบต่อกำไรสุทธิของบริษัทข้ามชาติ โดยเฉพาะที่ตั้งในประเทศที่เสียภาษีต่ำกว่า 15% จะกระทบหุ้นกลุ่มไหน ธุรกิจไหนบ้าง มีคำแนะนำการลงทุนอะไรบ้าง

Global Minimum Tax กระทบธุรกิจ และพอร์ตลงทุนแค่ไหน

Global Minimum Tax กระทบต่อกำไรสุทธิของบริษัทข้ามชาติ โดยเฉพาะที่ตั้งในประเทศที่เสียภาษีต่ำกว่า 15% จะกระทบหุ้นกลุ่มไหน ธุรกิจไหนบ้าง มีคำแนะนำการลงทุนอะไรบ้าง

กดฟัง
หยุด
  • Global Minimum Tax คือ มาตรการที่จะช่วยให้การเก็บภาษีในประเทศต่างๆเป็นธรรมมากขึ้น กล่าวคือ ประเทศใดที่มีการเก็บภาษีน้อยกว่า 15% จะเรียกเก็บภาษีเพิ่ม ประเทศใดที่มีการเก็บภาษีสูงกว่า 15% จะไม่เก็บเพิ่ม
  • มาตรการ Global Minimum Tax จะกระทบกับบริษัทข้ามชาติ ที่วางแผนภาษีด้วยการไปลงทุนในประเทศที่เป็น Tax Haven จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ประเทศที่เก็บภาษีน้อยกว่า 15% จะได้รับผลกระทบรองลงมา สำหรับในประเทศไทยจะมีบางบริษัทที่เสียภาษีในอัตราน้อยกว่า 15% หมายความว่าบริษัทกลุ่มนี้จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น และกระทบกำไรสุทธิ
  • เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากมาตรการ Global Minimum Tax เราควรเลือกลงทุนในหุ้น หรือ กองทุน ที่เน้นลงทุนในประเทศที่เสียภาษีตั้งแต่ 15% ขึ้นไป K WEALTH ยังคงแนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนตามกลยุทธ์ Core & Satellite โดยส่วน Core สัดส่วนประมาณ 70% ของเงินลงทุน แนะนำลงทุนในกองทุนผสม K WealthPLUS Series ที่ทาง K WEALTH มีมุมมองเป็นบวกเล็กน้อย (Slightly Positive) เพื่อกระจายการลงทุนและนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยง ส่วนอีก 30% จะเป็นส่วน Satellite แนะนำลงทุนในกองทุนต่างประเทศอย่าง K-HIT-A(A) หรือ K-GHEALTH ที่เน้นหุ้นในประเทศสหรัฐฯ หรือ แถบประเทศยุโรป ที่ฐานภาษี 15% ขึ้นไป

การเสียภาษีเงินได้ ถือเป็นต้นทุนประเภทหนึ่งของการทำธุรกิจ หากธุรกิจใดที่ต้องการ Tax Haven ทำธุรกิจโดยปราศจากภาษีหรือเสียภาษีต่ำ ก็จะเลือกจดทะเบียนในประเทศที่งดหรือลดการเก็บภาษี เช่น หมู่เกาะเคย์แมน บาฮามาส UAE บาร์เรนห์ ที่มีอัตราภาษีค่อนข้างต่ำหรือไม่เรียกเก็บเลย อย่างไรก็ตาม การกระทำเช่นนี้ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับประเทศที่จัดเก็บภาษีในระดับปกติ เช่น 15%-20% จึงเป็นที่มาของมาตรการ Global Minimum Tax แล้วมาตรการนี้ จะส่งผลกระทบธุรกิจ และพอร์ตลงทุนแค่ไหน บทความนี้K WEALTH จะเล่าถึงธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ และพอร์ตการลงทุนที่ควรจะลงทุน หากมาตรการ Global Minimum Tax ถูกบังคับใช้ เพื่อให้นักลงทุนศึกษาเป็นข้อมูลให้ไม่พลาดกับโอกาสการลงทุนในปี 2568


Global Minimum Tax คืออะไร

อัตราภาษีขั้นต่ำ (15%) ที่จะจัดเก็บบริษัทข้ามชาติให้เท่าเทียมกันในกลุ่มประเทศ OECD (องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ส่งผลให้บริษัทข้ามชาติที่ไปลงทุนในประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า 15% (ส่วนใหญ่จะได้รับการสนับสนุนด้านภาษี เช่น คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในประเทศนั้นๆ) จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น ในขณะที่บริษัทข้ามชาติที่ไปลงทุนในประเทศที่มีอัตราภาษีมากกว่าหรือเท่ากับ 15% เช่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ หรือประเทศแถบยุโรป จะไม่ได้รับผลกระทบหรือได้รับผลกระทบน้อยกว่า เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษีเพิ่ม


ผลกระทบกับใครบ้าง

  1. บริษัทที่มีรายได้จากทั่วโลก ตั้งแต่ 20,000 ล้านยูโรต่อปี และมีกำไรมากกว่า 10% ของรายได้ ต้องจ่ายภาษีให้กับประเทศที่เป็นแหล่งรายได้ และ
  2. บริษัทข้ามชาติ (บริษัทที่ไปลงทุนในต่างประเทศ) ที่มีรายได้ทั่วโลกเกิน 750 ล้านยูโร (ย้อนหลังไป 4 ปี มีอย่างน้อย 2 ปีที่เข้าข่าย) จะต้องโดนคำนวณภาษีด้วยอัตราภาษีขั้นต่ำ 15%

โดยการคาดการณ์ผลกระทบของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยสามารถดูได้เบื้องต้นจาก Effective Tax Rate ในงบการเงินของบริษัท เช่น หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า มี Effective Tax Rate อยู่ในช่วง 10.2-16.4% จากการประมาณการณ์ของ KS (ข้อมูล ณ 17 ธ.ค. 67) อีกกลุ่มคือ หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ มี Effective Tax Rate อยู่ในช่วง 4-5% (ข้อมูลจาก Liberator Securities) และกลุ่มผู้ผลิตอาหาร มี Effective Tax Rate อยู่ที่ 7-8% (ข้อมูลจาก บล.บัวหลวง) ทำให้เห็นผลกระทบเบื้องต้นว่ามาตรการ Global Minimum Tax จะทำให้ภาระภาษีเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณารายละเอียดจากเกณฑ์ภาษีนิติบุคคลอื่นๆ ด้วย เช่น ภาระขาดทุนสะสม 5 ปีล่าสุด ที่สามารถยกมาเครดิตภาษีนิติบุคคลได้ หรือ มีบางโครงการที่เข้าข่ายได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการการลงทุน (BOI) จึงจะสามารถหาผลกระทบที่แท้จริงของมาตรการนี้ต่อบริษัทจดทะเบียนได้ ล่าสุดมีการประกาศ พรก. ภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 ธ.ค. 2567 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2568


กลยุทธ์การลงทุน

ประเด็นที่ต้องติดตาม : มาตรการภาษีส่วนเพิ่มของประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศไทย ที่จะมีผลต่อการเก็บภาษีและกำไรของบริษัท ทำให้ในเชิงผลกระทบการลงทุนในต่างประเทศยังรอความชัดเจนจากการบังคับใช้กฎหมาย ดังนั้น สำหรับมาตรการ Global Minimum Tax มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยแค่กับหุ้นบางตัว และจะเริ่มเห็นผลกระทบตั้งแต่ปีภาษี 2568 เป็นต้นไป โดยมีคำแนะนำ ดังนี้


ดังนั้น การลงทุนในหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีอัตราภาษี 15% ขึ้นไปจึงเป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะเสียภาษีในอัตราเดิมและไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ Global Minimum Tax แล้ว ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ ประเทศแถบยุโรป ออสเตรเลีย เป็นต้น


วิธีการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. ลงทุนหลักทรัพย์ในตลาดต่างประเทศโดยตรง วิธีนี้ จะเลือกลงทุนในหุ้น หรือ กองทุน Exchange Traded Fund (ETF) เป็นกองทุนเปิดที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในต่างประเทศ ด้วยราคาตลาดในขณะนั้น (Real Time Price) ทำให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก Global Minimum Tax หรือ ลงทุนในตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่มีอัตราภาษี 15% ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม การลงทุนโดยตรงจะมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องจะกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย
  2. ลงทุนผ่านกองทุนรวมที่จัดตั้งในประเทศไทย มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ เช่น กองทุน K-HIT-A(A) ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีผลกระทบเชิงบวก โดยพิจารณาหุ้นที่มี Theme 5-7 Theme แห่งอนาคตในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในสหรัฐฯ หรือ ประเทศแถบยุโรป, K-GHEALTH ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นกลุ่มสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในสหรัฐฯ เช่นกัน หากต้องการกระจายความเสี่ยง เลือกกองทุนผสมที่ลงทุนในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ อย่าง กองทุน K-WealthPLUS Series เช่น กองทุน K-WPBALANCED ที่มีสัดส่วนหุ้นประมาณ 30% หรือเพิ่มสัดส่วนหุ้น ก็มี K-WPULTIMATE ที่มีสัดส่วนหุ้นประมาณ 85% เป็นต้น กองทุนต่างประเทศหรือกองทุนผสมจะช่วยลดผลกระทบจาก Global Minimum Tax จากกลุ่มประเทศที่ไปลงทุน (กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จะมีอัตราภาษี 15% ขึ้นไป) และยังมีทางเลือกป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อีกด้วย

  3. นอกจากนี้ หุ้นไทยถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากมาตรการ Global Minimum Tax แต่ก็อาจจะไม่มากอย่างที่คิด และอาจจะได้รับผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากอัตราภาษี ไม่ได้ทำให้ภาวะการแข่งขันของสินค้าเปลี่ยนแปลงไป และ บล.กสิกรไทย คาดการณ์ว่าภาครัฐจะจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นจากมาตรการ Global Minimum Tax ของไทย อยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท จากฐานภาษีที่จัดเก็บได้ 800,000-900.000 ล้านบาท (ประมาณ 10% ที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น)


    คำแนะนำการลงทุนในต่างประเทศ

    สำหรับมุมมองการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ K WEALTH มีมุมมองบวกเล็กน้อย (Slightly Positive) ต่อกองทุนผสม K WealthPLUS Series และแนะนำให้ใช้เป็น Core Port ซึ่งคิดเป็นประมาณ 70% ของเงินลงทุนทั้งหมด และอีกประมาณ 30% ที่เหลือ ลงทุนในกองทุนหุ้นต่างประเทศ เป็น Satellite Port เพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะสั้น โดยให้


    Core Port สัดส่วน 70% ของเงินลงทุน

    สำหรับผู้รับความเสี่ยงได้น้อย แนะนำ K-WPBALANCED ที่เป็นกองทุนผสม มีหุ้นประมาณ 30% หรือ


    สำหรับผู้รับความเสี่ยงได้สูง แนะนำ K-WPULTIMATE ที่เป็นกองทุนผสม มีหุ้นประมาณ 85% เป็นต้น โดยตราสารหนี้จะได้รับประโยชน์จากปัจจัยอัตราดอกเบี้ยขาลง และจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลง ทำให้นักลงทุนเพิ่มความสนใจลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้มีแรงซื้อในตลาดหุ้นต่างประเทศ ดังนั้น กองทุนผสม จะตอบโจทย์ที่ได้ประโยชน์จากตราสารหนี้ และหุ้นต่างประเทศ ที่ได้รับอานิสงส์แนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในต่างประเทศ


    Satellite Port สัดส่วน 30% ของเงินลงทุน

    สำหรับผู้รับความเสี่ยงได้น้อย แนะนำ K-GHEALTH ที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มสุขภาพหลากหลายกลุ่ม เช่นกลุ่ม Pharmaceuticals หรือผู้พัฒนายารักษาโรค ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิต และบางส่วนในกลุ่มหุ้นบริษัทจัดจำหน่ายอุปกรณ์หรือเครื่องมือหรือบริษัทให้บริการทางการแพทย์ (Health Care Equipment & Supplies) ที่เป็นหุ้นกลุ่ม Defensive ราคาจะไม่เคลื่อนไหวตามตลาดมาก


    สำหรับผู้รับความเสี่ยงได้สูง แนะนำ K-HIT-A(A) ที่เน้นลงทุนในหุ้นอนาคตดีในอีก 20 ปีข้างหน้า ใน Theme การลงทุน 5-7 Theme ที่น่าสนใจ และมีการทบทวน Theme การลงทุนทุกปี


    สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วมีหรืออยากจัดพอร์ตโดยมีหุ้นไทยในพอร์ต ทาง K WEALTH มีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นไทย แม้ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวจากมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น ด้วยมาตรการแจกเงิน 10,000 บาท และมาตรการ Easy e-Receipt แต่ยังมีปัญหาระยะยาวเชิงโครงสร้าง เช่น หนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และแรงกดดันเพิ่มเติมจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ในขณะที่ Fwd P/E ของตลาดหุ้นไทย (ณ มกราคม 68) อยู่ที่ 15.0 เท่า* ซึ่งสูงกว่า Fwd P/Eระดับค่าเฉลี่ยของตลาดเอเชียที่ 12.6 เท่า*ในขณะที่ EPS เติบโตต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค


    *ข้อมูล จาก www.set.or.th (ณ มกราคม 68)



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTHสุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®

Back to top