อาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์มีความเสี่ยงทั้งด้านรายได้ไม่แน่นอนและไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล บทความนี้มีแนวทางในการป้องกันและปิดความเสี่ยงมาแนะนำ

ความมั่นคงที่ฟรีแลนซ์เลือกได้ เริ่มที่การดูแลตัวเอง

อาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์มีความเสี่ยงทั้งด้านรายได้ไม่แน่นอนและไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล บทความนี้มีแนวทางในการป้องกันและปิดความเสี่ยงมาแนะนำ

  • • ความอิสระและความยืดหยุ่นของอาชีพฟรีแลนซ์ ทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนเลือกเดินในเส้นทางนี้ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความไม่แน่นอนด้านรายได้และการขาดสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ซึ่งอาจกระทบเงินออมอย่างมากหากเจ็บป่วย
  • • การทำประกันสุขภาพเป็นทางเลือกหนึ่งในการบริหารความเสี่ยง โดยผู้ทำอาชีพฟรีแลนซ์ควรศึกษาและเปรียบเทียบแผนประกันต่างๆ ให้เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานและความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน เพื่อสร้างหลักประกันด้านสุขภาพในระยะยาว

หากพูดถึงอาชีพที่กำลังมาแรงในยุคดิจิทัล "ฟรีแลนซ์" หรือ "อาชีพอิสระ" คงเป็นหนึ่งในอาชีพที่หลายคนให้ความสนใจ ด้วยความยืดหยุ่นในการทำงาน มีอิสระในการบริหารเวลา และโอกาสในการสร้างรายได้อย่างไม่จำกัด แต่อีกด้านหนึ่งที่ฟรีแลนซ์ต้องรับมือคือ การดูแลตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพที่ไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลรองรับเหมือนพนักงานประจำ


เหมือนในภาพยนตร์เรื่อง “ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ” ซึ่งเป็นเรื่องราวของฟรีแลนซ์ที่ทำงานรีทัชรูป แต่งานยุ่งมากจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ทำให้เริ่มมีผื่นแดงขึ้นตามตัวและตามร่างกายจึงต้องไปรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การเป็นฟรีแลนซ์แม้จะมีอิสระในการทำงาน แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความไม่แน่นอนของรายได้และการขาดสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล หากเจ็บป่วยกะทันหันหรือต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอาจกระทบต่อเงินออมที่มี


ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ฟรีแลนซ์ต้องระวัง

ฟรีแลนซ์มักต้องเผชิญปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทำงาน เช่น


  • อาการออฟฟิศซินโดรมจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • ความเครียดจากการทำงานภายใต้กำหนดเวลา
  • ปัญหาสายตาจากการจ้องหน้าจอ
  • โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จากพฤติกรรมการทำงานและการพักผ่อนไม่เป็นเวลา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น นอกจากนี้ ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ยิ่งทำให้ฟรีแลนซ์ต้องวางแผนการเงินอย่างรัดกุมมากขึ้น

ทำไมฟรีแลนซ์ควรมีประกันสุขภาพ

การมีประกันสุขภาพช่วยฟรีแลนซ์ลดภาระค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นทุกปี สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลชั้นนำ และสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วยเงินชดเชยรายได้ระหว่างที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย การขาดรายได้ และสามารถวางแผนการเงินระยะยาวได้ดีขึ้น


D Health Easy Care: ทางเลือกที่ใช่สำหรับชาวฟรีแลนซ์

K WEALTH ขอแนะนำ “ประกันชีวิตและสุขภาพ D Health Easy Care” แพ็กเกจประกันสุขภาพที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ ด้วยจุดเด่นสำคัญ ได้แก่


  1. ความคุ้มครองครอบคลุม
    • คุ้มครองครบทั้งกรณีผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก และชดเชยรายได้
    • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในสูงสุด 700,000 บาทต่อครั้ง และไม่จำกัดวงเงินต่อปี
    • รับเงินก้อนเพิ่ม เมื่อตรวจเจอมะเร็งทุกระยะ สูงสุดถึง 700,000 บาท
    • คุ้มครองค่าห้องจ่ายตามจริงสำหรับห้องเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล
  2. คุ้มค่าด้วยเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียง 1,229 บาทต่อเดือน (ตัวอย่างเบี้ยประกันภัยสำหรับเพศชาย อายุ 21 ปี แผน IPD 200,000)
    • เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามความต้องการ
    • ชำระเบี้ยประกันแบบรายเดือนได้ เพื่อยืดหยุ่นตามรายได้
    • นำค่าเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด

ที่สำคัญคือ สมัครง่ายผ่านออนไลน์ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ


คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับฟรีแลนซ์

นอกจากการทำประกันสุขภาพแล้ว K WEALTH แนะนำให้ฟรีแลนซ์วางแผนการเงินและดูแลสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ดังนี้


  1. เก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอย่างน้อย 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน
  2. ดูแลสุขภาพเชิงป้องกันด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี
  3. พิจารณาทำประกันโรคร้ายแรงเพิ่มเติม
  4. วางแผนการออมเพื่อเกษียณตั้งแต่เนิ่นๆ

สำหรับฟรีแลนซ์ การมีประกันสุขภาพที่ดีไม่เพียงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในยามเจ็บป่วย แต่ยังช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาที่ดีที่สุดเมื่อต้องการ ลงทุนกับการดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้ เพื่อความอุ่นใจ สบายใจในวันข้างหน้า


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เมืองไทยประกันชีวิต


.