-
เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนมกราคมสูงเกินคาด CPI เพิ่มขึ้น 0.5% MoM และ 3.0% YoY ขณะที่ Core CPI แตะ 3.3% YoY โดยราคาสินค้าหลายหมวด เช่น ยานยนต์มือสอง, ประกันภัยรถยนต์ และอาหาร ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ตลาดคาดว่า Fed อาจชะลอการลดดอกเบี้ย
-
K WEALTH มองตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้ม Slightly Positive โดยแนะนำหุ้นขนาดกลางและเล็ก ซึ่งได้ประโยชน์จากนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ เช่น การลดภาษีนิติบุคคลและการผ่อนคลายกฎระเบียบ
เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนมกราคมพุ่งสูงกว่าคาด ตลาดคาด Fed อาจยังไม่ลดดอกเบี้ยเร็วๆ นี้
รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐฯ ประจำเดือนมกราคม 2025 พบว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงกว่าคาดการณ์ โดยตัวเลข CPI เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบรายเดือน (MoM) และ 3.0% เมื่อเทียบรายปี (YoY) ขณะที่ดัชนี Core CPI ซึ่งตัดผลกระทบจากราคาอาหารและพลังงานออก เพิ่มขึ้น 0.4% (MoM) และแตะระดับ 3.3% (YoY)
แรงกดดันเงินเฟ้อจากหลายปัจจัย
แม้ว่าราคาเช่าที่อยู่อาศัยเริ่มแสดงสัญญาณชะลอตัว แต่ราคาสินค้าหลายหมวดกลับพุ่งสูงขึ้นเกินคาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้นในเดือนมกราคม โดยหมวดสินค้าที่มีการปรับราคาสูงขึ้นอย่างชัดเจน ได้แก่
- • ราคายานยนต์มือสอง เพิ่มขึ้น 2.2% หลังจากที่มีแนวโน้มลดลงช่วงปลายปี 2024
- • ค่าใช้จ่ายด้านประกันภัยรถยนต์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.0% สะท้อนแนวโน้มค่าประกันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง
- • ราคาห้องพักโรงแรมและที่พักชั่วคราว เพิ่มขึ้น 1.4% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นที่ค่อนข้างแรง
- • ราคาอาหาร ปรับตัวขึ้น 0.4% โดยเฉพาะราคาไข่ที่พุ่งสูงถึง 15.2% ในเดือนเดียว อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก
- • ราคาพลังงาน ปรับขึ้น 1.8% ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อโดยรวม
อย่างไรก็ตาม บางหมวดหมู่ของสินค้ามีแนวโน้มเงินเฟ้อที่ลดลง เช่น ราคาสินค้าแฟชั่นลดลง 1.4% ขณะที่ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นเพียง 0.2% แต่ยังไม่เพียงพอจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง
ผลกระทบต่อเฟดและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมกราคมนี้อาจกระทบต่อแนวทางนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดยก่อนหน้านี้ตลาดคาดการณ์ว่า Fed อาจเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในครึ่งแรกของปี 2025 แต่จากข้อมูลเงินเฟ้อที่ยังคงแข็งแกร่ง อาจทำให้เฟดเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ เพื่อเฝ้าติดตามแนวโน้มเงินเฟ้อต่อไป
อีกปัจจัยที่น่าสนใจคือ การปรับปรุงวิธีการคำนวณข้อมูลตามฤดูกาล (Seasonal Adjustment) อาจทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อในช่วงต้นปีดูสูงเกินจริง อย่างไรก็ตาม Fed จะต้องพิจารณาข้อมูลเงินเฟ้อจากเดือนต่อไปและตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่จะเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อที่แท้จริง
มุมมองการลงทุน
ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมกราคมที่สูงเกินคาด สะท้อนว่าเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยง ทำให้ Fed มีแนวโน้ม ชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นบางส่วน โดยเฉพาะหุ้นเติบโตสูงที่ต้องการอัตราดอกเบี้ยต่ำ
K WEALTH มองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มบวกในระดับ Slightly Positive แต่แนะนำให้นักลงทุนมุ่งเน้นไปที่ หุ้นขนาดกลางและเล็ก (Mid-Small Cap) เนื่องจากได้ประโยชน์จากนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งจากการลด Corporate tax cut และ Deregulation
คำแนะนำสำหรับกองทุนหุ้นสหรัฐฯ ดังนี้
ผู้ที่ถือกองทุนที่มีสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำถือต่อ แนะนำลงทุนเพิ่มได้
ผู้ที่ถือกองทุนที่ไม่มีสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำทยอยสะสม
โดยมีคำแนะนำในกองทุนแนะนำ มีดังนี้
- ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
- แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology
- แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-USA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พร้อมรับทุกโอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจและธุรกิจสหรัฐฯ
- แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม
- แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GINFRA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ซึ่งลงในบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า สนามบิน
- แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GOLD** (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
- สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น หรือกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน
- หากรับความเสี่ยงได้บ้าง หรือเป็นเงินลงทุนที่ถือได้อย่างน้อย 1 ปี ขอแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่
- กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ
- กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้
- หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือต้องการหลีกเลี่ยงทางเลือกที่มีความผันผวน หรือต้องการพักเงินสั้นๆ เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง แนะนำ
- กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน
- กองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Bloomberg