วันที่ 26 ก.พ. 68 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 2.25% เป็น 2.00% โดยมีผลทันที เหตุผลหลักมาจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด

ประเด็นร้อน: กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25% กังวลเศรษฐกิจไทยโตช้ากว่าคาด

วันที่ 26 ก.พ. 68 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 2.25% เป็น 2.00% โดยมีผลทันที เหตุผลหลักมาจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด

กดฟัง
หยุด
  • วันที่ 26 ก.พ. 68 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 2.25% เป็น 2.00% โดยมีผลทันที เหตุผลหลักมาจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด
  • การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ไทย แต่ในทางกลับกันก็สะท้อนถึงความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว คาดว่าทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐบาลจะใช้นโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้
  • K WEALTH ยังมีมุมมอง Neutral ต่อการลงทุนตลาดหุ้นไทย และมีมุมมอง Positive ต่อการลงทุนตราสารหนี้ไทยที่มีระดับอัตราผลตอบแทนน่าสนใจเมื่อเทียบกับในอดีตและมีความผันผวนต่ำกว่าตราสารหนี้ต่างประเทศ

กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25% เหตุปัจจัยรุมเร้ากดดันเศรษฐกิจไทย

วันที่ 26 ก.พ. 68 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 2.25% เป็น 2.00% โดยมีผลทันที เหตุผลหลักมาจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด จากแรงกดดันในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง การแข่งขันจากสินค้าต่างประเทศ และความเสี่ยงสูงขึ้นจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก


แม้เศรษฐกิจไทยยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศและการท่องเที่ยว แต่คณะกรรมการเห็นควรปรับลดดอกเบี้ยเพื่อรองรับความเสี่ยงที่ชัดเจนขึ้นในอนาคต ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทรงตัวใกล้ขอบล่างของเป้าหมายจากราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มลดลง และการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงขึ้น


ภาวะสินเชื่อยังคงตึงตัว โดยเฉพาะ สินเชื่อ SMEs ที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทผันผวนจากความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจโลกและการค้าโลก


หลังการประชุมครั้งนี้ นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ในฐานะเลขานุการ ธปท. เผยว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ประเมินจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่มีโอกาสเติบโตน้อยกว่าที่ประเมินไว้ที่ 2.9% โดยอาจสูงกว่าระดับ 2.5% เล็กน้อย


มุมมองการลงทุน

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ไทย แต่ในทางกลับกันก็สะท้อนถึงความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและ SMEs ที่ยังเปราะบาง ในระยะสั้นการลดดอกเบี้ยอาจช่วยลดภาระต้นทุนทางการเงินให้ภาคธุรกิจ แต่ในระยะยาวอาจต้องเฝ้าติดตามว่า จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด ท่ามกลางปัญหาเชิงโครงสร้างที่ยังคงมีอยู่


ถึงแม้ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลงมาส่งให้อัตราส่วน P/E มาอยู่ที่ 15.3 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีที่ 19.6 เท่า แต่นักวิเคราะห์ยังปรับประมาณการ EPS ในปี 2568 ลงอย่างต่อเนื่อง หลังไร้ปัจจัยสนับสนุนใหม่ทั้งภายในและภายนอกที่จะทำให้ EPS กลับมาเติบโตโดดเด่นกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคเดียวกัน


อย่างไรก็ตามคาดว่าทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐบาลจะใช้นโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่เข้ามาช่วยสนับสนุนตลาดหุ้นไทยได้ จากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมา K WEALTH ยังมีมุมมอง Neutral ต่อการลงทุนตลาดหุ้นไทย และมีมุมมอง Positive ต่อการลงทุนตราสารหนี้ไทย ที่มีระดับอัตราผลตอบแทนน่าสนใจเมื่อเทียบกับในอดีตและมีความผันผวนต่ำกว่าตราสารหนี้ต่างประเทศ


คำแนะนำสำหรับกองทุนหุ้นไทย ดังนี้

ผู้ที่ถือกองทุนที่มีสัดส่วนในกองทุนหุ้นไทย หากมีสัดส่วนเกิน 30% ของพอร์ต อาจพิจารณาปรับลดความเสี่ยง หรือหากมีสัดส่วนน้อยกว่า 30% ของพอร์ต แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนเดิม


สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสัดส่วนในกองทุนหุ้นไทย แนะพิจารณาลงทุนกองทุนแนะนำอื่น


คำแนะนำสำหรับกองทุนตราสารหนี้ไทย ดังนี้

ผู้ที่ถือกองทุนที่มีสัดส่วนในกองทุนตราสารหนี้ไทย แนะนำทยอยลงทุนเพิ่มได้ตามระดับความเสี่ยงที่รับได้


สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสัดส่วนในกองทุนตราสารหนี้ไทย แนะนำลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่รับได้


โดยมีคำแนะนำในกองทุนแนะนำ มีดังนี้

  • ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
    • แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology
    • แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-USA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พร้อมรับทุกโอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจและธุรกิจสหรัฐฯ
    • แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-VIETNAM* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนหุ้นเวียดนามที่รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น บริโภคภายใน การเงิน อุตสาหกรรม
    • แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GINFRA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ซึ่งลงในบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า สนามบิน
    • แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GOLD** (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
  • สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น หรือกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน
    • หากรับความเสี่ยงได้บ้าง หรือเป็นเงินลงทุนที่ถือได้อย่างน้อย 1 ปี ขอแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่
      • กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ
      • กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้
  • หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือต้องการหลีกเลี่ยงทางเลือกที่มีความผันผวน หรือต้องการพักเงินสั้นๆ เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง แนะนำ
    • กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน
    • กองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Bloomberg


คำเตือน

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

*กองทุน K-GHEALTH, K-VIETNAM, K-GINFRA, K-USA มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนหรือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน

**กองทุน K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS, K-SF-A, K-SFPLUS และ K-GOLD มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด

ผู้เขียน

KWEALTHวีรพล บางแวก

Back to top