การลาออกจากงานเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่ท้าทายทางการเงิน โดยเฉพาะเมื่อต้องรอเวลาได้งานใหม่ เงินประกันสังคมจึงเป็นแหล่งเงินสำคัญที่จะช่วยประคับประคองชีวิตในช่วงนี้ได้ รู้หรือไม่ว่า มีวิธีการขอรับเงินชดเชยจากประกันสังคมให้เร็วและครบถ้วนได้ แต่จะทำอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเงินประกันสังคม
เงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบไปทุกเดือนไม่ใช่เงินที่จ่ายทิ้งเนื่องจากผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองกลับมาได้หลายกรณี ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ประกันตน โดยความคุ้มครองพื้นฐานที่ผู้ประกันตนแต่ละประเภทได้รับ ได้แก่ ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต
ทำไมเงินประกันสังคมจึงสำคัญ
เงินประกันสังคมไม่ได้มีไว้เพื่อช่วยเหลือยามเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักประกันความมั่นคงในยามว่างงานและยามเกษียณอีกด้วย ซึ่งถือเป็นแหล่งเงินที่มาช่วยประคับประคองชีวิตในช่วงที่ยังว่างงานหรือเกษียณอายุได้
นอกจากนี้ ประกันสังคมยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่หลายคนอาจไม่ทราบมาก่อน เช่น เงินสงเคราะห์บุตร เงินสงเคราะห์การคลอดบุตร เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ
วิธีขอเงินประกันสังคมอย่างถูกต้อง
ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ลูกจ้าง)
เมื่อลาออกจากงาน หากเป็นการลาออกโดยสมัครใจหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา ผู้ประกันตนมาตรา 33 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ซึ่งจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานในอัตรา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน โดยว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
สำหรับผู้ประกันตนที่ลาออกจากงาน แนะนำให้เตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนยื่นขอรับเงินชดเชย เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณา โดยหลักฐานที่ต้องใช้ ได้แก่ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) สำเนาบัตรประชาชน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงาน
ขั้นตอนการขอรับเงินทดแทน
- ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานในพื้นที่ภายใน 30 วันนับจากวันที่ลาออก และรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางานของรัฐ
- ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่
- รอผลการพิจารณาประมาณ 5-7 วันทำการ
ผู้ประกันตนมาตรา 39 (ผู้สมัครใจส่งเงินสมทบต่อด้วยตนเอง)
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 จะยังไม่ได้รับเงินคืนทันทีเมื่อลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน แต่จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปี โดยจะได้รับในรูปแบบของเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการส่งเงินสมทบ โดยหากส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ หากส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ
เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ประกันสังคม มาตรา 33, 39 และ 40
ผู้ประกันตนแต่ละมาตรามีสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
จัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพหลังลาออกจากงาน
การลาออกจากงานอาจทำให้ขาดรายได้ประจำ แต่ด้วยการวางแผนที่ดีก็สามารถจัดการเงินให้เพียงพอและทำให้เงินงอกเงยได้ โดย
-
รักษาสิทธิประกันสังคม โดยพิจารณาสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน เพื่อรักษาความต่อเนื่องของสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไข
-
บริหารเงินที่ได้รับ โดยแบ่งเงินเป็นสัดส่วนสำหรับเป็นเงินที่นำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ส่วนที่เหลือเก็บไว้ในทางเลือกเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูง
-
ลงทุนในกองทุน RMF/Thai ESG สำหรับผู้ที่มีรายได้นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนที่ออกจากงาน ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี และมีเงินเก็บหรือแหล่งรายได้อื่นเพื่อใช้จ่ายแล้ว นอกจากจะช่วยลดหย่อนภาษีแล้ว ยังเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินระยะยาว ทำให้มีเงินก้อนไว้ใช้ในอนาคต โดยกองทุน RMF/Thai ESG แนะนำ ได้แก่
-
กองทุน KWPBALRMF กองทุนผสมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ 70% และลงทุนในหุ้น 30%
-
กองทุน K-BL30-ThaiESG กองทุนผสมที่ลงทุนในหุ้นที่มีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้านความยั่งยืน หรือหุ้นที่มีการเปิดเผยข้อมูล แผนการจัดการ และการตั้งเป้าหมายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือหุ้นที่มีธรรมาภิบาล รวมถึงตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือตราสารเพื่อความยั่งยืน หรือตราสารส่งเสริมความยั่งยืน
-
กองทุน K-ESGSI-ThaiESG กองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรที่กระทรวงการคลังคํ้าประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือหุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ ซึ่งเป็นพันธบัตรหรือหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พันธบัตรหรือหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน หรือพันธบัตรหรือหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน
คำถามที่พบบ่อย
Q: ลาออกจากงาน แล้วยังต่อสิทธิได้หรือไม่?
A: สามารถต่อสิทธิได้ โดยสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน หากพ้นกำหนดนี้ จะต้องเริ่มนับระยะเวลาการส่งเงินสมทบใหม่
Q: เงินกรณีชราภาพตอนอายุ 55 ปีขึ้นไป รอนานแค่ไหน? กว่าจะได้รับเงิน
A: สำนักงานประกันสังคมจะแจ้งให้ผู้ประกันตนมายื่นขอรับเงินบำเหน็จชราภาพภายใน 30 วันนับจากวันที่อายุครบ 55 ปี และจะได้รับเงินภายใน 45-60 วันหลังจากยื่นเรื่อง
การวางแผนจัดการสิทธิประกันสังคมอย่างรอบคอบควบคู่กับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ เช่น กองทุน RMF และ Thai ESG เป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างความมั่นคงทางการเงินทั้งในปัจจุบันและอนาคต ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด การรู้จักสิทธิประโยชน์ประกันสังคมและการวางแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้เราก้าวผ่านช่วงเปลี่ยนผ่านทางอาชีพได้อย่างมั่นคง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : • บลจ.กสิกรไทย, สำนักงานประกันสังคม