-
การประชุมระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สหรัฐฯ และประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2025 สิ้นสุดลงอย่างตึงเครียด หลังเกิดข้อพิพาทจนข้อตกลงด้านแร่ธาตุถูกยกเลิก อย่างไรก็ตามเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2568 ในการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปที่กรุงลอนดอน บรรดาผู้นำของประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะยุโรป ได้ออกมาแสดงท่าทีสนับสนุนประธานาธิบดีเซเลนสกี โดยจะจัดตั้ง "กลุ่มพันธมิตรที่เต็มใจ (Coalition of the Willing)" และร่างแผนสันติภาพเพื่อนำไปเสนอต่อประธานาธิบดีทรัมป์ พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยเหลือยูเครนให้มากขึ้น
-
ผลกระทบ: ตลาดทุนผันผวนระยะสั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลงเล็กน้อย สะท้อนการเข้าซื้อพันธบัตรที่มากขึ้นของนักลงทุน และสกุลเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้น สะท้อนนักลงทุนเข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยมมากขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันยังคงผันผวนจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน
-
มุมมองและคำแนะนำในลงทุน: แม้ตลาดหุ้นจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว แต่ควรจับตาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-ยูเครน แนะนำพิจารณาการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง เน้นสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เช่น กองทุนรวมผสม พันธบัตร ทองคำเพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น
การเจรจาที่ล้มเหลวระหว่าง Trump vs. Zelenskyy
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2025 มีการประชุมอย่างเป็นทางการระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ และประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ซึ่งจัดขึ้นที่ทำเนียบขาว (Oval Office) โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อหารือข้อตกลงด้านแร่ธาตุ และหาทางลดความตึงเครียดจากความขัดแย้งที่ยังดำเนินอยู่กับรัสเซีย
อย่างไรก็ตาม การเจรจาครั้งนี้กลับตึงเครียดจนกลายเป็นข้อพิพาท ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวหาโดยตรงว่าประธานาธิบดีเซเลนสกีกำลัง “เล่นเกมเสี่ยงจนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3” ส่งผลให้การประชุมยุติลงทันที และข้อตกลงด้านแร่ธาตุก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ความล้มเหลวในการเจรจาทำให้เกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับท่าทีของสหรัฐฯ ในการสนับสนุนยูเครนต่อไป และเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลยูเครนที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในการช่วยเหลือจากชาติตะวันตก
ผลกระทบต่อตลาดการลงทุน
- Dow Jones +1.39%
- S&P 500 +1.59%
- Nasdaq +1.63%
- Euro Stoxx 50 -0.16%
- พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี -5.2bps
- ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น +0.35%
- EUR/USD อ่อนค่าลง -0.22%
- ทองคำ -0.68%
- WTI -0.84%
- Brent -1.03%
ตลาดหุ้น (Equity Markets) : การโต้แย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศทำให้เกิดแรงเทขายในช่วงสั้น ๆ ดัชนีหลักต่าง ๆ ปรับตัวลดลงในช่วงระยะหนึ่ง แต่ฟื้นตัวได้เร็ว เนื่องจากนักลงทุนมองว่าคำพูดของประธานาธิบดีทรัมป์อาจเป็นการสร้างแรงกดดันทางการเมืองมากกว่าเป็นนโยบายที่แท้จริง
ตลาดพันธบัตร (Bond Markets) : ความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ทางการทูตนี้ ทำให้นักลงทุนหันไปหาสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว (เช่น 10 ปี) ปรับตัวลดลงเล็กน้อย สะท้อนการเข้าซื้อพันธบัตรที่มากขึ้นของนักลงทุน
ราคาทองคำ : ปรับตัวลงเนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์ ที่เป็นผลมาจากการลดความเสี่ยงของนักลงทุน
ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Markets) : ราคาน้ำมันเผชิญแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่กังวล และภาวะตึงเครียดทางการค้าการเจรจาที่ล้มเหลวระหว่างสหรัฐฯ-ยูเครน ยิ่งทำให้ความคาดหวังต่อข้อตกลงสันติภาพรัสเซีย-ยูเครนลดลง และส่งผลให้ราคาน้ำมันมีความผันผวนต่อไป
มุมมองและคำแนะนำการลงทุน
การประชุมที่ล้มเหลวระหว่างทรัมป์และเซเลนสกีส่งผลให้ตลาดการเงินเผชิญความผันผวนระยะสั้น แม้ว่าตลาดหุ้นโดยรวมจะสามารถฟื้นตัวได้ แต่นักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น โดยอาจพิจารณากระจายความเสี่ยง หรือถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น เช่น กองทุนรวมผสม พันธบัตร ทองคำ เพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์
โดยมีคำแนะนำในกองทุนแนะนำ มีดังนี้
-
ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
- กองทุนรวมผสม K-WealthPLUS Series* กองทุนมีกลยุทธ์กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์ทางเลือก เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ได้แก่
- กองทุน K-WPBALANCED และ K-WPSPEEDUP (ระดับความเสี่ยง 5 จาก 8 ระดับ)
- กองทุน K-WPULTIMATE (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ)
- กองทุน K-GINFRA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ซึ่งลงในบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า สนามบิน
- กองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology
- กองทุน K-GOLD** (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
- สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น หรือกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน
- หากรับความเสี่ยงได้บ้าง หรือเป็นเงินลงทุนที่ถือได้อย่างน้อย 1 ปี ขอแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่
- กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ
- กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้
-
หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือต้องการหลีกเลี่ยงทางเลือกที่มีความผันผวน หรือต้องการพักเงินสั้นๆ เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง แนะนำ
- กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน
- กองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน