-
ปี 2025 ตลาดการลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญความท้าทาย เช่น ความไม่แน่นอนจากสงครามการค้า อัตราดอกเบี้ยลดลงช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ และเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ กลยุทธ์การลงทุนแบบ DCA (Dollar-Cost Averaging) เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากช่วยให้การลงทุนสม่ำเสมอและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด
-
การเลือกกองทุน DCA ควรพิจารณาจากเป้าหมายการลงทุน ความเสี่ยง และสัดส่วนกองทุนที่มีในพอร์ตเดิม หากเป็นผู้เริ่มต้นหรือมี Core Portfolio น้อยกว่า 70% แนะนำ K-WealthPLUS Series แต่หากต้องการผลตอบแทนสูงขึ้นหรือมี Core Portfolio เหมาะสมแล้ว แนะนำ DCA ในกองทุน Satellite ที่มีศักยภาพเติบโตสูงอย่าง K-USA, K-VIETNAM และ K-GINFRA ซึ่งในระยะยาวการลงทุนแบบ DCA มักจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนแบบซื้อแล้วถือ
-
ลงทุนแบบ DCA ผ่าน K PLUS หรือ K-My Funds ในกองทุนต่างประเทศ, กองทุนหุ้น, กองทุนผสม และกองทุนลดหย่อนภาษี ที่ร่วมรายการ รับ KPOINT สูงสุด 20,000 คะแนน (อัตรา 0.2% ของยอดลงทุนสะสม) เมื่อมียอดลงทุนสะสมขั้นต่ำ 3 ครั้ง และรวมไม่น้อยกว่า 3,000 บาท โดยต้องตั้งแผน DCA ก่อน 24 ต.ค. 68 และตัดเงินสำเร็จครั้งแรกภายใน 25 ต.ค. 68 ร่วมแคมเปญได้ตั้งแต่ 15 มี.ค. 68 – 25 ต.ค. 68
กลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจท่ามกลางความท้าทายในปี 2025
เริ่มต้นปี 2025 ตลาดการลงทุนทั่วโลกยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน เช่น ความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เม็กซิโก และแคนาดา ที่ทวีความรุนแรงขึ้น จากการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าหลายประเภท เช่น สินค้าอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และยานยนต์ ส่งผลให้ต้นทุนภาคธุรกิจสูงขึ้นและกระทบห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงช้ากว่าคาดจากเงินเฟ้อที่ยังสูงโดยเฉพาะในสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการดำเนินนโยบายการเงิน เนื่องจากแรงกดดันด้านราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น
รวมถึงเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนอุปสงค์ของโลก ยังคงเผชิญกับปัญหาการบริโภคที่ซบเซา ส่งผลให้ความต้องการสินค้าและบริการในตลาดโลกลดลง และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่นที่พึ่งพาการค้ากับจีนโดยตรง
ในสถานการณ์ที่ตลาดยังคงผันผวนและคาดเดายาก การลงทุนแบบ DCA (Dollar-Cost Averaging) เป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจ เนื่องจากช่วยให้การลงทุนเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและลดความเสี่ยงจากการแกว่งตัวของตลาด DCA คือการทยอยลงทุนในจำนวนเงินที่เท่ากันในแต่ละงวด ไม่ว่าตลาดจะอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง วิธีนี้ช่วยในการเฉลี่ยต้นทุนและลดความกังวลเรื่องการจับจังหวะตลาด นอกจากนี้ DCA ยังช่วยให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้อย่างมีวินัยและเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีอีกด้วย
DCA กองทุนแบบไหนดี
การเลือกกองทุนสำหรับการลงทุนแบบ DCA ควรพิจารณาจากเป้าหมายการลงทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และสัดส่วนของ Core Portfolio ที่มีอยู่แล้ว โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักดังนี้
-
กองทุนผสม – ทางเลือกที่มั่นคงสำหรับผู้เริ่มต้น
เหมาะสำหรับนักลงทุนที่เพิ่งเริ่มต้น หรือมีสัดส่วน Core Portfolio น้อยกว่า 70% ของพอร์ต โดยกองทุนประเภทนี้จะมีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ทั้ง ตราสารหนี้และหุ้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด ทำให้พอร์ตมีเสถียรภาพมากขึ้น แม้ในช่วงที่ตลาดเผชิญความไม่แน่นอน ตัวอย่างกองทุนที่น่าสนใจคือ K-WealthPLUS Series ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดความผันผวน สร้างผลตอบแทนที่สมดุลในระยะยาว พร้อมทางเลือกให้นักลงทุนเลือกลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่รับได้
-
กองทุนที่มีศักยภาพเติบโตสูง – สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น หรือมี Core Portfolio ในระดับที่เหมาะสมแล้ว กองทุนกลุ่มนี้มุ่งเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ซึ่งอาจมีความผันผวนมากกว่ากองทุนผสม แต่ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว เช่น
-
K-USA – กองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภายในสหรัฐของทรัมป์ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก รวมถึงธุรกิจที่ได้รับแรงหนุนจากการลดภาษีนิติบุคคล
-
K-VIETNAM – เหมาะสำหรับผู้ที่มองหาโอกาสในตลาดเกิดใหม่ โดยเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตจากการบริโภคภายในที่แข็งแกร่ง และโอกาสในการได้รับการปรับสถานะเป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market)
-
K-GINFRA – กองทุนที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก ได้ประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าสนใจของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่มักให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลในระดับสูง
ตัวอย่างการลงทุนแบบ DCA
ในตัวอย่างนี้จะใช้กองทุน K-WPULTIMATE เป็นกรณีศึกษาในการลงทุนแบบ DCA
หากนำเงิน 10,000 บาท มาลงทุนแบบ DCA ในกองทุน K-WPULTIMATE ทุกๆ 6 เดือน เป็นเวลา 3 ปี จำนวนเงินลงทุนรวม 60,000 บาท ได้หน่วยลงทุนทั้งสิ้น 6,763.53 หน่วย ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 8.89 บาทต่อหน่วย โดยปัจจุบัน ณ วันที่ 03/03/2025 ราคาต่อหน่วยลงทุนอยู่ที่ 9.49 บาทต่อหน่วย ทำให้มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นมาเป็น 64,185.89 บาท กำไร 4,185.89 หรือคิดเป็นอัตรากำไร 6.97%
แต่ถ้าหากซื้อแล้วถือยาว (Buy & Hold) ตั้งแต่วันที่ 03/03/2022 ลงทุนด้วยจำนวนเงิน 60,000 บาทเท่ากัน ด้วยราคาต่อหน่วยลงทุนที่ 9.04 บาท จะได้หน่วยลงทุนทั้งสิ้น 6,637.16 หน่วยปัจจุบันมูลค่าเงินลงทุนจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 62,986.65 บาท กำไร 2,986.65 บาท หรือคิดเป็นอัตรากำไร 4.97%
จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า การลงทุนแบบ DCA ช่วยเพิ่มโอกาสให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าในระยะยาว เนื่องจากสามารถเฉลี่ยต้นทุนที่ต่ำกว่าในช่วงที่ตลาดผันผวน ทำให้มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นมากกว่าการลงทุนแบบ Buy & Hold ที่ลงทุนครั้งเดียว
แคมเปญสำหรับการลงทุนแบบ DCA
เมื่อลงทุนแบบ DCA ผ่าน K PLUS หรือ K-My Funds ในกลุ่ม กองทุนต่างประเทศ, กองทุนหุ้น, กองทุนผสม และกองทุนลดหย่อนภาษี ที่ร่วมรายการ (สามารถดูได้ที่หน้าเว็บไซต์ธนาคารกสิกรไทยหรือ K-Contact Center โทร 02-8888888 กด 865) รับคะแนนสะสม KPOINT สูงสุด 20,000 คะแนน ในอัตรา 0.2% พิจารณาจากยอดลงทุนสะสม ขั้นต่ำ 3 ครั้ง ยอดลงทุนสะสม ขั้นต่ำ 3,000 บาท เลือกตั้งแผน DCA ก่อน 24 ตุลาคม และตัดครั้งแรกสำเร็จภายใน 25 ตุลาคม 2568 ระยะเวลาแคมเปญ ระหว่างวันที่ 15 มี.ค. 68 – 25 ต.ค. 68 เงื่อนไขการลงทุนมีดังนี้
ที่มา: Kasikornbank
อัตราการใช้คะแนน K Point จะแตกต่างและขึ้นอยู่กับแต่ละช่องทางการใช้งาน
ตัวอย่างการคำนวณรับคะแนน K Point จะมีด้วยกันทั้งหมด 3 กรณี ดังนี้:
ที่มา: Kasikornbank
สามารถตรวจสอบคะแนนที่ได้รับจาก Application K PLUS โดยคลิ๊กปุ่ม “1. สิทธิประโยชน์ 2.ดูรายละเอียดคะแนน 3.ดูประวัติคะแนน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: KBank, KAsset