ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็นครั้งที่ 2 ของปี ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอน แนวโน้มตลาดหุ้นยุโรปยังคงเปราะบาง นักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวัง และกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

ประเด็นร้อน: ECB ปรับลดดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็นครั้งที่ 2 ของปี ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอน แนวโน้มตลาดหุ้นยุโรปยังคงเปราะบาง นักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวัง และกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

กดฟัง
หยุด
  • เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ซึ่งเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ของปีนี้ และครั้งที่ 6 ในรอบ 9 เดือน นับตั้งแต่เริ่มวัฏจักรการลดดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน 2567 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 2.50% อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์อยู่ที่ 2.65% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ 2.90%
  • K WEALTH มีมุมมองค่อนข้างลบ (Slightly Negative) กับตลาดหุ้นยุโรป แม้คาดว่า ECB จะลดดอกเบี้ยลงเพิ่มเติมในปีนี้ จากภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอลง แต่สภาพเศรษฐกิจที่ยังคงซบเซา ประกอบกับความไม่แน่นอนจากสงครามการค้า ทำให้แนวโน้มตลาดหุ้นยุโรปยังคงมีความเปราะบาง
  • นักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นยุโรป อาจใช้โอกาสที่ตลาดปรับตัวขึ้นในการทยอยทำกำไร พร้อมกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือกองทุนผสมที่มีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

ECB ลดดอกเบี้ย: มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยุโรปในยุควิกฤต

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ตามที่ตลาดคาดการณ์ เมื่อวานนี้ (6 มีนาคม 2568) ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 2.50% อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์อยู่ที่ 2.65% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ 2.90% ซึ่งเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ของปีนี้ และครั้งที่ 6 ในรอบ 9 เดือน นับตั้งแต่เริ่มวัฏจักรการลดดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน 2567


ECB ประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อปรับลดลง แต่ยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยง โดย ECB คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมาย 2% ในปีหน้า แต่ช้ากว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ เนื่องจากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์


ที่มา : Bloomberg 7 มีนาคม 2568


การปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้ ถือเป็นการตอบสนองต่อสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในภูมิภาคยุโรป โดยมีปัจจัยหลักมาจากความไม่แน่นอนในตลาดโลกและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน การลดอัตราดอกเบี้ยมีเป้าหมายเพื่อ:

  • ลดต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจและครัวเรือน
  • กระตุ้นการบริโภคและการลงทุน
  • สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะกลางถึงระยะยาว

ผลกระทบต่อภาคการเงินและตลาด

ความเคลื่อนไหวของดัชนี ณ วันที่ 6 มีนาคม 2568


  • ดัชนี STOXX 600 ปิดตลาดที่ระดับ 555.90 จุด ลดลง 0.19 จุด หรือ -0.03%
  • ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 8,197.67 จุด เพิ่มขึ้น 23.92 จุด หรือ +0.29%
  • ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 23,419.48 จุด เพิ่มขึ้น 338.45 จุด หรือ +1.47%
  • ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 8,682.84 จุด ลดลง 73.00 จุด หรือ -0.83%

การลดดอกเบี้ยโดย ECB ส่งผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการส่งออกของประเทศในเขตยูโรโซน เนื่องจากสินค้ายุโรปจะมีราคาถูกลงในตลาดโลก นอกจากนี้การลดอัตราดอกเบี้ยยังเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อของผู้คนในกลุ่มยูโรโซนและส่งเสริมการลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจยุโรป


มุมมองการลงทุน

K WEALTH มีมุมมองค่อนข้างลบ (Slightly Negative) ต่อการลงทุนกองทุนหุ้นยุโรป จากเศรษฐกิจยุโรปยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากหลายปัจจัย เช่น ภาคอุตสาหกรรมซบเซาโดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์, เศรษฐกิจจีนชะลอตัวกระทบการส่งออก และความไม่แน่นอนจากสงครามการค้า นอกจากนี้ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากการลดดอกเบี้ยของ ECB ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ยังคงระมัดระวังต่อการลดดอกเบี้ย ส่งผลให้นักลงทุนอาจหันไปถือสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เช่น ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ


คำแนะนำสำหรับกองทุนหุ้นยุโรป

นักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นยุโรป อาจใช้โอกาสที่ตลาดปรับตัวขึ้นในการทยอยทำกำไร พร้อมกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือกองทุนผสมที่มีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม


ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงที่น่าสนใจ จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลง นักลงทุนสามารถพิจารณาสะสมทองคำเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุน


สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นยุโรป แนะนำรอประเมินสถานการณ์ หรือลงทุนกองทุนแนะนำอื่น


กองทุนแนะนำ

  • ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
    • กองทุนรวมผสม K-WealthPLUS Series* กองทุนมีกลยุทธ์กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์ทางเลือก เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ได้แก่
      • กองทุน K-WPBALANCED และ K-WPSPEEDUP (ระดับความเสี่ยง 5 จาก 8 ระดับ)
      • กองทุน K-WPULTIMATE (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ)
    • กองทุน K-GINFRA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ซึ่งลงในบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก เช่น ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า สนามบิน
    • กองทุน K-GHEALTH* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology
    • กองทุน K-GOLD** (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
  • สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น หรือกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน
    • หากรับความเสี่ยงได้บ้าง หรือเป็นเงินลงทุนที่ถือได้อย่างน้อย 1 ปี ขอแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่
      • กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ
      • กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้
  • หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือต้องการหลีกเลี่ยงทางเลือกที่มีความผันผวน หรือต้องการพักเงินสั้นๆ เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง แนะนำ
    • กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน
    • กองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน


คำเตือน

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

*กองทุน K-WealthPLUS Series, K-GINFRA, K-GHEALTH มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนหรือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน

**กองทุน K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS, K-SF-A, K-SFPLUS และ K-GOLD มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด

ผู้เขียน

KWEALTHวรสุดา ใช้เทียมวงศ์ CFP®

Back to top