ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงแรง! Dow Jones -2.08%, S&P 500 -2.70% และ Nasdaq -4.00% จากความกังวลเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยหลังนโยบายภาษีของทรัมป์ นักลงทุนควรวางกลยุทธ์อย่างไร? อ่านฉบับเต็มที่นี่

ประเด็นร้อน: หุ้นสหรัฐฯร่วงแรง จากความกังวลเศรษฐกิจถดถอย

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงแรง! Dow Jones -2.08%, S&P 500 -2.70% และ Nasdaq -4.00% จากความกังวลเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยหลังนโยบายภาษีของทรัมป์ นักลงทุนควรวางกลยุทธ์อย่างไร? อ่านฉบับเต็มที่นี่

กดฟัง
หยุด
  • เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงแรง ดัชนี Dow Jones -2.08%, S&P 500 -2.70% และNasdaq -4.00% จากความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจเข้าสู่ recession และแนวโน้มที่ GDP ไตรมาส 1 ของสหรัฐฯมีโอกาสหดตัว ซึ่งเป็นผลจากนโยบายภาษีของทรัมป์
  • ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10ปี ปรับลดลงแรง โดยปรับตัวลง 14 bps อยู่ที่ระดับ 4.16% ส่งผลดีต่อราคาตราสารหนี้ คาดว่ากองทุนตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศจะได้ผลบวกจากการตีราคาตลาด (Mark to the market)
  • K WEALTH มีมุมมองบวก (Slightly Positive) ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยมองว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของทรัมป์ (Pro-Growth Policies) การเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน และแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง จะสนับสนุนการเติบโตของหุ้น แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนต่อเนื่อง
  • นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย อาจพิจารณาปรับลดสัดส่วนลง และกระจายความเสี่ยงไปยังกองทุนรวมผสม กองทุนตราสารหนี้ หรือ ทองคำเพิ่มขึ้น

ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงแรงเมื่อคืนที่ผ่านมา โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่เผชิญแรงขายหนักที่สุดตั้งแต่ปี 2022 แรงกดดันหลักมาจากความกังวลเรื่อง สงครามการค้าและนโยบายภาษีของทรัมป์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยที่ส่งผลให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังถูกเทขายอย่างหนัก มาจากผลกระทบของเงินเยนที่แข็งค่าและการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่น ท่ามกลางความหวังที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ ส่งผลให้นักลงทุนลดการทำ Carry Trade ในสกุลเงินเยน และเกิดแรงเทขายในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงหุ้น 7 บริษัทเทคโนโลยีที่มีมาร์เก็ตแคปสูง หรือกลุ่ม “Magnificent Seven” ได้แก่ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, Nvidia, Tesla และ Meta นักลงทุนจึงเข้าสู่โหมด Risk-off และเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10ปี ปรับตัวลงกว่า 14 bps และราคาตราสารหนี้ปรับเพิ่มขึ้น

(หมายเหตุ : ธุรกรรม Carry Trade คือการที่นักลงทุนกู้ยืมเงินเยนซึ่งมีต้นทุนต่ำ เพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น)


ผลกระทบต่อภาคการเงินและตลาด

ความเคลื่อนไหวของดัชนี ณ วันที่ 10 มีนาคม 2568


  • ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปิดที่ 41,911.71 จุด ลดลง 890.01 จุด หรือ -2.08%
  • ดัชนี S&P500 ปิดที่ 5,614.56 จุด ลดลง 155.64 จุด หรือ -2.70%
  • ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 17,468.32 จุด ลดลง 727.90 จุด หรือ -4.00%
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10ปี ปรับตัวลง 14 bps อยู่ที่ระดับ 4.16%

สถานการณ์เศรษฐกิจและความเสี่ยง Recession

รายงานล่าสุดชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสหดตัวในไตรมาสแรก (1Q GDP -1.9%) เนื่องจาก:


  • การนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ
    • จากภาคธุรกิจเร่งนำเข้าสินค้าก่อนที่มาตรการภาษีใหม่ของทรัมป์จะมีผล ซึ่งส่งผลให้การขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น
  • การบริโภคชะลอตัว
    • ผู้บริโภคเริ่มลดการใช้จ่ายและเพิ่มการออม เนื่องจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อและผลกระทบจากนโยบายภาษี
  • ผลกระทบจากสภาพอากาศ
    • สภาพอากาศหนาวจัดส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในเดือนมกราคม

มุมมองการลงทุน

K WEALTH ยังมีมุมมองค่อนข้างบวก (Slightly Positive) ต่อการลงทุนกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) แต่ GDP คาดว่า ไตรมาส 2 อาจฟื้นตัวได้ เนื่องจากการนำเข้าจะกลับสู่ระดับปกติ และภาคการบริโภคจะปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงมีโอกาสเติบโต จาก นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของทรัมป์ (Pro-Growth Policies) การเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน และแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง สนับสนุนการเติบโตของหุ้น


ความเสี่ยงสำคัญคือ นโยบายการค้าของทรัมป์ หากเกิดความไม่แน่นอนต่อเนื่อง ก็อาจผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยเต็มรูปแบบได้ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ยังคงระมัดระวังต่อการลดดอกเบี้ย ส่งผลให้นักลงทุนอาจหันไปถือสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น เช่น ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ


คำแนะนำสำหรับนักลงทุน

สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย หรือถือครองหุ้นสหรัฐฯ ในสัดส่วนเกิน 30% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด อาจพิจารณาปรับลดสัดส่วนลง และกระจายความเสี่ยงไปยังกองทุนรวมผสม กองทุนตราสารหนี้ หรือ ทองคำเพิ่มขึ้น


สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ ยังมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ไม่มาก หรือนักลงทุนใหม่ อาจใช้จังหวะที่ตลาดย่อตัวลงในการทยอยสะสมได้


กองทุนแนะนำ

  • ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
    • กองทุนรวมผสม K-WealthPLUS Series* กองทุนมีกลยุทธ์กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์ทางเลือก เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ได้แก่
      • กองทุน K-WPBALANCED และ K-WPSPEEDUP (ระดับความเสี่ยง 5 จาก 8 ระดับ)
      • กองทุน K-WPULTIMATE (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ)
    • กองทุน K-USA* (ระดับความเสี่ยง 6 จาก 8 ระดับ) ลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพในตลาดหุ้นสหรัฐฯ พร้อมรับทุกโอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจและธุรกิจสหรัฐฯ
    • กองทุน K-GOLD** (ระดับความเสี่ยง 8 จาก 8 ระดับ) เพื่อรับกับความผันผวนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
  • สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น หรือกังวลกับความเสี่ยงในการลงทุน
    • หากรับความเสี่ยงได้บ้าง หรือเป็นเงินลงทุนที่ถือได้อย่างน้อย 1 ปี ขอแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่
      • กองทุน K-FIXED-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศ
      • กองทุน K-FIXEDPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ในกรณีที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนต่างประเทศหรือรับความเสี่ยงจากการลงทุนต่างประเทศได้
  • หากรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือต้องการหลีกเลี่ยงทางเลือกที่มีความผันผวน หรือต้องการพักเงินสั้นๆ เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง แนะนำ
    • กองทุน K-SF-A** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน
    • กองทุน K-SFPLUS** (ระดับความเสี่ยง 4 จาก 8 ระดับ) เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน


คำเตือน

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
*กองทุน K-WealthPLUS Series, K-USA มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนหรือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน
**กองทุน K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS, K-SF-A, K-SFPLUS และ K-GOLD มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด

ผู้เขียน

K WEALTHวรสุดา ใช้เทียมวงศ์ CFP®

Back to top