-
เหตุแผ่นดินไหวในวันที่ 28 มีนาคม 2568 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) ประเมินความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 20,000 ล้านบาท และการท่องเที่ยวอาจจะได้รับผลกระทบในระยะสั้น เศรษฐกิจโดยรวมจากเหตุการณ์นี้อาจทำให้ GDP ปี 2568 ลดลง -0.06% และหากสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าไทย 25% เพิ่มเติมในวันที่ 2 เมษายนนี้ อาจกระทบ GDP อีก -0.3%
-
เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคอสังหาริมทรัพย์และการท่องเที่ยว ความเสี่ยงในภาคการเงินยังคงมีอยู่เนื่องจากคุณภาพหนี้ที่เปราะบาง ธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ KS ประเมินว่า EPS จะได้รับแรงกดดันประมาณ 1.0%
Market Update
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่มีศูนย์กลางอยู่ในเมืองสะกาย ประเทศเมียนมา ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนรุนแรง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) ประเมินความเสียหายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งกระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน มาจากการหยุดชะงักหรือเลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาคบริการและภาคอสังหาริมทรัพย์
นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) มองว่าตลาดนักท่องเที่ยวเป็นอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงในระยะสั้นเพิ่มขึ้น และอาจมีการทบทวนประมาณการใหม่อีกครั้ง
ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมจากเหตุการณ์นี้อาจทำให้ GDP ปี 2568 ลดลง -0.06% และหากสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าไทย 25% เพิ่มเติมในวันที่ 2 เมษายนนี้ อาจกระทบ GDP อีก -0.3% ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี
ดัชนีและกองทุนที่เกี่ยวข้อง ( ณ วันที่ 31 มี.ค.)
- SET Index: -1.48% ปิดที่ 1,158.09 จุด
มุมมองตลาด
ในระยะสั้น แรงกดดันจากภัยธรรมชาติและความไม่แน่นอนทางการค้า จะเป็นปัจจัยหลักที่ถ่วงภาพรวมเศรษฐกิจไทย ซึ่งส่งผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์และการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบโดยตรง ด้านภาคการเงินยังมีความเสี่ยงจากคุณภาพหนี้ที่เปราะบาง ขณะที่ภาคประกันจะต้องบริหารความเสี่ยงจากการเคลมและค่าเสียหายที่สูงขึ้น แต่คาดว่าผลกระทบจะอยู่ในกรอบที่บริหารจัดการได้
และศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด โดยคาดว่ามีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือน เม.ย. นี้ เพื่อพยุงเศรษฐกิจ โดยมองเป้าหมายดอกเบี้ยปีนี้ไว้ที่ 1.75%
ด้าน KS ประเมินว่า EPS จะโดนกดดันประมาณ 1.0% โดยกลุ่มอสังหาฯ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหลัก และกลุ่มธนาคารได้รับผลกระทบในระดับที่ต่ำกว่า
โดย K WEALTH มีมุมมอง Neutral ต่อการลงทุนกองทุนหุ้นไทย แนะนำให้นักลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนถือลงทุนต่อ และนักลงทุนที่ไม่มีสัดส่วน แนะนำให้รอติดตามสถานการณ์ และลงทุนในกองทุนแนะนำอื่น
คำแนะนำการลงทุน
- ลูกค้าที่ถือกองทุนหุ้นไทยแนะนำถือต่อเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนได้ แต่หากกองทุนหุ้นไทยหรือกองทุนหุ้นอื่นที่ถือมีกำไรเกิน 10% แนะนำ Take profit บางส่วน
- สำหรับลูกค้ารับความเสี่ยงได้สูงสามารถทยอยเข้าลงทุนกองทุน PRINCIPLE-VNEQ และ K-VIETNAM รวมถึงเป็นจังหวะทยอยสะสมกองทุนลดหย่อนภาษีทั้ง KVIETNAMRMF หรือทยอยเข้าลงทุนกลุ่ม Global Healthcare ผ่านกองทุน KT-HEALTHCARE และ K-GHEALTH หุ้นเอเชีย ผ่านกองทุน K-ASIAX และ KFHASIA
- สำหรับลูกค้ารับความเสี่ยงได้กลาง แนะนำสามารถเข้าซื้อกองทุนผสม K-WealthPLUS Series เช่น K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP
- สำหรับลูกค้ารับความเสี่ยงต่ำ แนะนำสามารถเข้าซื้อกองทุนตราสารหนี้ K-FIXEDPLUS
หมายเหตุ:
- ระดับความเสี่ยงกองทุน
- K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
- K-VIETNAM, K-GHEALTH, K-ASIAX, KVIETNAMRMF, K-USA-A(A) K-USA-A(D), K-HIT-A(A) ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-GHEALTH, K-USA-A(A) K-USA-A(D), K-HIT-A(A): ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-VIETNAM, K-ASIAX, KVIETNAMRMF: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
- K-FIXEDPLUS-A: T+2
- K-GHEALTH, K-ASIAX, K-USA-A(A) K-USA-A(D), K-HIT-A(A): T+4
- K-VIETNAM: T+5
- KVIETNAMRMF: T+5 (เมื่อลงทุนครบตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร)
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6