-
ตลาดหุ้นทั่วโลกในปี 2568 เต็มไปด้วยความผันผวนจากปัจจัยเศรษฐกิจ มาตรการทางการเงิน และสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ อย่างดัชนี S&P500 ปรับฐานลงแรงในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม K WEALTH ยังคงมีมุมมองในเชิงบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในปีนี้
-
แม้ผลตอบแทนของกองทุน K-WealthPLUS Series จะมีการเคลื่อนไหวตามตลาดโลก แต่ข้อดีของการลงทุนในกองทุน K-WealthPLUS Series คือการกระจายความเสี่ยงไปยังหลากหลายสินทรัพย์และภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้มีการปรับตัวลงน้อยกว่าการลงทุนในสินทรัพย์เดียว และในช่วงที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับฐานค่อนข้างหนัก ถือเป็นโอกาสที่ดีในการทยอยสะสมกองทุน K-WealthPLUS Series
เข้าสู่ปี 2568 ลองมาเช็กผลตอบแทนกองทุน K-WealthPLUS Series กันบ้าง
ปี 2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักลงทุนหลายคน เนื่องจากตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง เช่นเดียวกับผลตอบแทนของกองทุน K-WealthPLUS Series ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ค่อนข้างดีสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนตั้งแต่ต้นปี หรือคว้าโอกาสในช่วงที่ตลาดปรับฐาน (ภาพที่ 1) โดย K-WPBALANCED (+5.13%), K-WPSPEEDUP (+5.75%) และ K-WPULTIMATE (+5.02%) สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนระหว่างปี ในช่วงที่ราคาของกองทุนปรับขึ้นมามาก ปัจจุบันอาจมีผลขาดทุนบ้าง แต่ไม่ต้องกังวลใจเพราะทางผู้จัดการกองทุนคอยหาจังหวะปรับสัดส่วนเพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะข้างหน้า
ภาพที่ 1 ผลตอบแทนของกองทุน K-WealthPLUS Series ปี 2567
พอเข้าสู่ปี 2568 ตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้รับแรงกดดันทั้งจากปัจจัยเศรษฐกิจ มาตรการทางการเงิน และสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่กังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เกิดแรงขายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ รวมถึงกดดันผลตอบแทนของกองทุน K-WealthPLUS Series ด้วยเช่นกัน (ภาพที่ 2) โดยเฉพาะในส่วนของกองทุน K-WPULTIMATE ที่มีสัดส่วนลงทุนในหุ้นสูง อย่างไรก็ตาม ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของไตรมาส 1 ตลาดเริ่มคลายความกังวลลงบ้างหลัง Fed มองว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมนั้น “ยังดีอยู่” ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และรวมถึงกองทุน K-WealthPLUS Series สามารถสร้างผลตอบแทนกลับมาได้ดีอีกครั้งในสัปดาห์ที่ผ่านมา (19-26 มี.ค.)
ภาพที่ 2 ผลตอบแทนของกองทุน K-WealthPlus ตั้งแต่ต้นปี 2568
การปรับสัดส่วนพอร์ตลงทุนในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับฐานแรงประมาณ -10% (ภาพที่ 3) แต่กองทุน K-WealthPLUS มีการปรับตัวลงน้อยกว่าดัชนี S&P500 โดยเฉพาะกองทุน K-WPULTIMATE ที่มีสัดส่วนในหุ้นมากที่สุดแต่ปรับตัวลงแค่ -6% อันเนื่องมาจากการกระจายการลงทุนหลากหลายสินทรัพย์และภูมิภาค และอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือการมีผู้จัดการกองทุนที่คอยเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดโดยในช่วงที่ผ่านมา มีการปรับสัดส่วนการลงทุนดังนี้:
-
ลดสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ ก่อนที่ตลาดจะมีการปรับฐานจากความไม่แน่นอนในระยะสั้นที่อาจกดดันเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ตลอดจนมูลค่าของหุ้นโดยรวมที่ตึงตัว อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการกองทุนยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในปีนี้ และหาโอกาสที่จะกลับมาเพิ่มสัดส่วนในระยะถัดไป
- เพิ่มสัดส่วนหุ้นเทคโนโลยีของจีนที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาของหุ้นกลุ่ม AI รวมถึงแนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่ชัดเจนมากขึ้น
-
เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ อย่างตราสารหนี้ไทยเพื่อรอรับความผันผวนในระยะข้างหน้า ยิ่งตอกย้ำว่าการลงทุนในกองทุน K-WealthPLUS Series นั้นมีความยืดหยุ่นรวมถึงความผันผวนที่น้อยกว่าการลงทุนในหุ้นแค่กองทุนเดียว
ภาพที่ 3 ผลตอบแทนกองทุน K-WealthPLUS Series เทียบกับดัชนี S&P 500
ภาพที่ 4 สัดส่วนการลงทุนรายประเทศของกองทุน K-WealthPLUS Series
ความกังวลต่อเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลาย แนะนำกลับมาทยอยลงทุนได้ต่อ
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังต้องเผชิญความผันผวนตามกระแสข่าวเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ รวมถึงท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต่อทิศทางดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางการลงทุนของนักลงทุนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม Fed ได้ส่งสัญญาณเชิงบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปีนี้ โดยระบุถึงความเป็นไปได้ที่จะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งภายในปีนี้ และแสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังดีอยู่สะท้อนจากการบริโภคในสหรัฐฯ เอง และความกังวลยิ่งลดลงหลังจาก GDP สหรัฐฯ ใน Q4/24 ออกมาเติบโต +2.4% QoQ ดีกว่าที่ตลาดคาด
ภาพที่ 5 สถิติของตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังมีการปรับฐาน

จากข้อมูลข้างต้น ทำให้นักลงทุนเริ่มตระหนักว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังดีอยู่ประกอบกับรับรู้ประเด็นเรื่องการขึ้นภาษีไปมากแล้ว และหากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มีการเจรจากับนานาประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดความรุนแรงของภาษีตอบโต้สำเร็จ จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักลงทุนคลายกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ มากขึ้น โดยประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าเมื่อดัชนี S&P 500 เข้าสู่การปรับฐาน มักเป็นโอกาสเข้าซื้อที่น่าดึงดูดใจ หากไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอย (ภาพที่ 5)
คำแนะนำการลงทุน:
- นักลงทุนเดิมที่มีสัดส่วนในกองทุน K-WealthPLUS อยู่แล้วและมีกำไร ไม่จำเป็นต้องรีบขายออก ถือเป็นเป็นจังหวะที่ดีในการทยอยสะสมเพิ่มเติม และเนื่องจากกองทุนนี้มีการกระจายการลงทุนที่ดี มีโอกาสเติบโตได้ในระยะยาว สามารถถือเป็นเงินลงทุนหลักได้ถึง 60% ของเงินลงทุนรวม
- นักลงทุนเดิมที่ขาดทุนเนื่องจากความผันผวนของตลาด สามารถถือต่อได้หรือทยอยสะสมเพิ่มเติมเพื่อเฉลี่ยต้นทุน โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยปรับสัดส่วนการลงทุนเพื่อแสวงหาผลตอบแทนในระยะข้างหน้า
- นักลงทุนที่ยังไม่เคยมีกองทุน K-WealthPLUS ถือเป็นจังหวะที่ดีในการกระจายการลงทุนไปทั่วโลกเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวในช่วงที่ตลาดมีการปรับฐาน
- นักลงทุนเดิมหรือนักลงทุนที่อยากลงทุนในกองทุน K-WealthPlus RMF ในการใช้สิทธิทางภาษีสามารถทยอยสะสมได้ต่อเนื่องเพื่อผลตอบแทนในระยะยาว