-
เมื่อวันที่ 2 เมษายน ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศนโยบาย Reciprocal Tariffs กำหนดภาษีนำเข้าขั้นต่ำ 10% และเพิ่มภาษีเฉพาะกลุ่ม อาจส่งผลให้ อัตราภาษีแท้จริงเพิ่มขึ้น 26% ดัชนี CPI เพิ่ม 2.5% ขณะที่ GDP สหรัฐฯ คาดว่าเติบโตเพียง 1.5%
-
ผลกระทบต่อคู่ค้า โดยจีนอาจเสีย GDP -0.5%, ยูโรโซน ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร -0.2% ส่วนออสเตรเลีย บราซิล และอังกฤษ ซึ่งเสียภาษี 10% ได้รับผลกระทบน้อยกว่า
-
ในระยะสั้นตลาดการลงทุนทั่วโลกจะมีผันผวนสูง การกระจายลงทุนทั่วโลกและหลากหลายสินทรัพย์ช่วยลดความเสี่ยง และช่วยรับมือกับความผันผวนของตลาดได้ดีขึ้น โดยแนะนำทยอยลงทุนใน Core Port ด้วยกองทุน K- WealthPLUS Series
-
นโยบายภาษีของสหรัฐฯ ส่งผลต่อตราสารหนี้ไทยค่อนข้างจำกัด รวมถึงเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว และเงินเฟ้อต่ำจะเป็นการเพิ่มโอกาสต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แนะนำทยอยสะสมกองทุนตราสารหนี้ได้
Market Update
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศนโยบาย "Liberation Day" ซึ่งมีการเก็บ ภาษีนำเข้าแบบ Reciprocal Tariffs หรือภาษีแบบตอบโต้ตามระดับภาษีที่ประเทศต่างๆ เรียกเก็บกับสหรัฐฯ โดยเริ่มจาก ภาษีฐานขั้นต่ำ 10% สำหรับสินค้านำเข้าทุกประเทศ และ เพิ่มภาษีเฉพาะกลุ่มเพิ่มเติม เช่น รถยนต์จากต่างประเทศ 25% และ ภาษีแบบเฉพาะเจาะจงตามประเทศสูงสุดถึง 46% สำหรับบางประเทศที่สหรัฐฯมองว่ากีดกันการค้ากับสหรัฐฯประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ จีน (34%) เวียดนาม (46%) ไต้หวัน (32%) อินเดีย (26%) เกาหลีใต้ (25%) ญี่ปุ่น (24%) และ สหภาพยุโรป (EU) ที่ 20% ขณะที่ แคนาดาและเม็กซิโก ได้รับการยกเว้นส่วนใหญ่ภายใต้ข้อตกลง USMCA โดยเฉพาะหากสินค้าส่งออกมีคุณสมบัติเป็น "USMCA-compliant" ซึ่งจะเสียภาษีเพียงประมาณ 5% รัฐมนตรีกระทรวงการคลังออกมาอธิบายว่าตัวเลข Reciprocal Tariffs ที่เปิดเผยออกมาเป็นเพียงตัวเลขภาษีสูงสุดที่จะเรียกเก็บ พร้อมเปิดทางให้แต่ละประเทศเข้ามาเจรจากับสหรัฐฯ
พิจารณาผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ
- Capital Economics ประเมินว่า การเก็บภาษีในรอบนี้จะทำให้ อัตราภาษีที่แท้จริง (Effective Tariff Rate) ของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นจาก 2.3% ในปี 2024 เป็น ประมาณ 26% ในปี 2025 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 131 ปี ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (structural break) ต่อระบบการค้าโลก
- การขึ้นภาษีครั้งนี้อาจส่งผลให้ราคาสินค้าผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นประมาณ 2.5% ภายในสิ้นปี 2025 เนื่องจากการนำเข้าสินค้าคิดเป็น 10% ของการบริโภคทั้งหมดของสหรัฐฯ ทำให้เงินเฟ้อเร่งขึ้นเหนือ 4% แต่ด้วยแรงกดดันจากความไม่แน่นอนเชิงนโยบาย Fed น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 4.25-4.50% ตลอดปีนี้
- ในเชิงนโยบายการคลัง หากรัฐบาลนำรายได้จากภาษี (ประมาณ 700 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.3% ของ GDP) ไปใช้ลดภาษีด้านอื่นๆ ผลกระทบเชิงลบต่อ GDP อาจถูกบรรเทาได้บางส่วน โดย Capital Economics คาดว่า GDP ของสหรัฐฯ จะเติบโตเพียง 1.5% แบบ annualized ใน 4 ไตรมาสข้างหน้า แต่หากใช้เงินเพื่อลดการขาดดุล จะกลายเป็นการ "เข้มงวดทางการคลัง (fiscal tightening)" ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะถดถอย
- ประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบต่างกันตามสัดส่วนการค้ากับสหรัฐฯ และความสามารถในการเจรจา เช่น
- จีน: อาจกระทบ GDP ประมาณ -0.5%
- ยูโรโซน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร: กระทบ ประมาณ -0.2% หรืออาจน้อยกว่านั้น
- ประเทศที่ได้รับผลกระทบต่ำ เช่น ออสเตรเลีย บราซิล อังกฤษ ที่เสียภาษีเพียง 10%
- ทั้งนี้ ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในประเทศอื่นๆ จะเกิดขึ้นหากประเทศเหล่านั้นไม่ตอบโต้ด้วยมาตรการภาษีเช่นกัน หากไม่มีการตอบโต้ ก็อาจมีแรงกดดันให้ธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้ลดดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
CORE Portfolio : K- WealthPLUS Series
ตลาดผันผวนสูงในระยะสั้นจากความไม่แน่นอนของนโยบายภาษีการค้า การปรับพอร์ตอย่างรอบคอบและยึดกลยุทธ์ระยะยาวจึงเป็นสิ่งสำคัญ การกระจายลงทุนทั่วโลกและหลากหลายสินทรัพย์ช่วยลดความเสี่ยง สร้างสมดุลให้พอร์ต และช่วยรับมือกับความผันผวนของตลาดได้ดีขึ้น โดยผ่านการทยอยลงทุนใน Core Port ด้วยกองทุน K- WealthPLUS Series
กองทุนที่เกี่ยวข้อง (YTD / 2Y ณ วันที่ 31 มี.ค.)
- K-WPBalanced -0.46% / 3.36%
- K-WPSPEEDUP -0.55% / 4.65%
- K-WPULTIMATE -1.26% / 3.84%
มุมมองการลงทุนและการปรับพอร์ตของกองทุน WealthPLUS Series เพื่อรับมือกับ Reciprocal Tariffs
ภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ยังคงกดดันเศรษฐกิจโลกและสร้างความผันผวนระยะสั้น แต่คาดว่าผลกระทบจะจำกัดและไม่กระทบรุนแรงต่อแนวโน้มโดยรวม ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนยังเติบโต โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น JPMAM คาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) ของ S&P 500 เติบโต 7% ส่วนตลาดหุ้นยุโรปและญี่ปุ่นเติบโตประมาณ 5-6%
การปรับพอร์ตการลงทุน เพื่อรับมือกับ Reciprocal Tariffs
- การปรับลดสัดส่วนหุ้นลงจากตั้งแต่ต้นปีทั้ง 3 โมเดลของ WealthPLUS Series ได้มีการทยอยปรับน้ำหนักในหุ้นลง ประมาณ 1 %
- สัดส่วนการลงทุนในหุ้น กระจายทั่วโลก และได้ทยอยลดสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯลงตั้งแต่ต้นปี ไปเพิ่มการลงทุนในยุโรปและญี่ปุ่น เพื่อลดการกระจุกตัวในหุ้นสหรัฐฯ ส่วนการลงทุนในหุ้นจีน มีเพียง 3-4% เน้น หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ที่ได้อานิสงค์จาก AI จีน
- ตั้งแต่ต้นปี ได้เพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตลง โดย K-WPBALANCED ที่เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ มีสัดส่วนตราสารหนี้สูงถึง 68% (รวม Cash 2%) ณ 28 ก.พ. 2025 โดยเน้นลงทุนในตราสารหนี้ไทยเป็นหลัก เนื่องจากมีมุมมองเชิงบวกและมีความผันผวนน้อยกว่าตราสารหนี้โลก บวกกับแนวโน้มที่ กนง. มีโอกาสลดดอกเบียเพิ่มอีกในรอบการประชุมเดือนเม.ย.นี้ เพื่อพยุงเศรษฐกิจ โดยมองเป้าหมายดอกเบียปีนื้ที่ 1.75%
คำแนะนำการลงทุน
- นักลงทุนที่กังวลความผันผวนระยะสั้น แนะนำชะลอลงทุน โดยพักเงินไว้ที่ K-SF PLUS หรือ K-FIXEDPLUS
- นักลงทุนที่ไม่กังวลกับความผันผวนระยะสั้น และพร้อมลงทุนระยะยาว แนะนำทยอยลงทุนใน Core Port ผ่านกองทุน K-WealthPLUS Series ที่เน้นการกระจายลงทุนทั่วโลกและหลากหลายสินทรัพย์ ช่วยลดความเสี่ยงและสร้างสมดุลให้พอร์ตโดยรวม โดยนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนให้ตรงกับระดับความเสี่ยงที่รับได้
มุมมองการลงทุนในตราสารหนี้
ภาพรวมประเมินการเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้จะส่งผลต่อตราสารหนี้ไทยจำกัดมองการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอาจชะลอลงจากการส่งออกที่ยากขึ้นของนโยบายภาษี อย่างไรก็ดีประเมินเงินเฟ้อไทยได้รับผลกระทบจำกัดและจากการที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำในปัจจุบันนั้น จะเป็นการเพิ่มโอกาสต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ซึ่งจะส่งผลดีต่อกองทุนตราสารหนี้ไทยในภาพรวม ทั้งนี้คาด กนง. จะลดดอกเบี้ยเป็ น 1.75% ในการประชุมวันที่ 30 เมษายนนี้
คำแนะนำกองทุนตราสารหนี้
- K-FIXEDLUS-A ที่มีอายุเฉลี่ยของตราสารที่ลงทุนค่อนข้างยาวประมาณ 3 ปี ซึ่งจะได้รับผลประโยชน์จากการที่ Bond yield ปรับลงได้ดีกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น และกองทุนยังคงเน้นลงทุนในหุ้นกู้คุณภาพดี (อันดับเครดิต A- ขึ้นไป) ในสัดส่วนที่สูง ซึ่งหุ้นกู้คุณภาพดีจะสามารถรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจได้ดีกว่า
- สำหรับนักลงทุนที่เน้นสภาพคล่อง แนะนำกองทุน K-SFPLUS ที่มีความเสี่ยงด้านดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า แต่ยังคงได้รับปัจจัยหนุนจากดอกเบี้ยขาลง และเน้นลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพดี มีอันดับเครดิตเฉลี่ยอยู่ที่ A+
หมายเหตุ:
- ระดับความเสี่ยงกองทุน
- K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
- K-VIETNAM, K-GHEALTH, K-ASIAX, KVIETNAMRMF, K-USA-A(A) K-USA-A(D), K-HIT-A(A) ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-GHEALTH, K-USA-A(A) K-USA-A(D), K-HIT-A(A): ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-VIETNAM, K-ASIAX, KVIETNAMRMF: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
- K-FIXEDPLUS-A: T+2
- K-GHEALTH, K-ASIAX, K-USA-A(A) K-USA-A(D), K-HIT-A(A): T+4
- K-VIETNAM: T+5
- KVIETNAMRMF: T+5 (เมื่อลงทุนครบตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร)
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6