เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศนโยบาย "Liberation Day" ซึ่งมีการเก็บ ภาษีนำเข้าแบบ Reciprocal Tariffs ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพการลงทุนทั่วโลก

ประเด็นร้อน: กองทุนหุ้นต่างประเทศเอายังไงต่อ หลังสหรัฐฯ ประกาศภาษีนำเข้า

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศนโยบาย "Liberation Day" ซึ่งมีการเก็บ ภาษีนำเข้าแบบ Reciprocal Tariffs ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพการลงทุนทั่วโลก

กดฟัง
หยุด
  • เมื่อวันที่ 2 เมษายน ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศนโยบาย Reciprocal Tariffs กำหนดภาษีนำเข้าขั้นต่ำ 10% โดยกำหนด ยกเว้นแคนาดาและเม็กซิโกพร้อมเรียกเก็บภาษีเพิ่มเฉพาะประเทศ (country-specific) ตามขนาดดุลการค้า
  • เนื่องจากนโยบายการขึ้นภาษีนี้ถูกมองว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศคู่ค้าเจรจากับสหรัฐฯ หากมีการขึ้นอัตราภาษีตามที่ประกาศไว้ อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทั่วโลก สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีการลงทุนในสหรัฐ แนะนำให้ชะลอการลงทุนและติดตามสถานการณ์
  • ในระยะสั้นตลาดหุ้นจีนมีความเสี่ยงที่เงินลงทุนจะไหลออก ทำให้ค่าเงินหยวนผันผวนและความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลง รวมถึงจีนอาจตอบโต้สหรัฐฯ แนะนำให้ชะลอการลงทุนใหม่และติดตามสถานการณ์
  • เศรษฐกิจเวียดนามอาจโตไม่ถึงเป้าของทางการ หากโดนภาษีนำเข้าจากทางสหรัฐ แนะนำการลงทุนในเวียดนามควรเป็นไปอย่างระมัดระวัง สำหรับนักลงทุนใหม่ให้ชะลอการลงทุนและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

I. Market Update : กองทุนหุ้นสหรัฐฯ

เมื่อ 2 เม.ย. 2025 ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศใช้นโยบาย Reciprocal Tariffs อย่างเป็นทางการ โดยกำหนด ภาษีขั้นต่ำ 10% สำหรับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศ ยกเว้นแคนาดาและเม็กซิโกพร้อมเรียกเก็บภาษีเพิ่มเฉพาะประเทศ (country-specific) ตามขนาดดุลการค้า โดยใช้สูตร “50% x (US trade deficit / US imports)” ทำให้ประเทศที่เกินดุลมาก เช่น จีน (34%), ญี่ปุ่น (34%), เวียดนาม (46%) ถูกเก็บภาษีในระดับที่สูงผิดคาด


ภาษีเหล่านี้ซ้อนทับกับภาษีรอบก่อนหน้า (ก.พ.–มี.ค.) ซึ่งทำให้ Effective Tariff Rate โดยรวมของสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 15-25% และอาจสูงกว่านี้หากมีการใช้ ภาษีเฉพาะสินค้า (sectoral tariffs) เพิ่มเติมในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ยา หรือทองแดงในช่วงครึ่งหลังปีนี้


นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังยกเลิกการยกเว้นภาษี De minimis สำหรับสินค้าจากจีนและฮ่องกง ซึ่งกระทบโดยตรงต่อสินค้าราคาต่ำและการค้าปลีกออนไลน์โดยเฉพาะกลุ่ม e-commerce


ผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ: ความเสี่ยงสูงต่อทั้งการเติบโตและเงินเฟ้อ

  • นักวิเคราะห์เริ่มออกมาประเมินว่าหลังรวมภาษีที่ประกาศตั้งแต่ต้นปี อัตราภาษีที่แท้จริงของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้น 15-25% ซึ่งถือว่า สูงที่สุดตั้งแต่ยุค Great Depression ปี 1930 และส่งผลกระทบหลายด้าน:
  • ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ
  • กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • ความไม่แน่นอนทางนโยบาย ทำให้ภาคธุรกิจระงับการลงทุนชั่วคราว
  • นักวิเคราะห์คาดว่า GDP สหรัฐฯ อาจถูกกดดันลง -1.0% ถึง -1.5% ภายในปี 2025 ขึ้นอยู่กับระดับการตอบโต้จากประเทศคู่ค้า และความสามารถของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการควบคุมเงินเฟ้อโดยไม่กระทบนโยบายการเงิน
  • อีกประเด็นที่ต้องติดตามคือ การดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ภายใต้สถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 1% ทำให้ Fed ต้องดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวังมากขึ้น โดยพิจารณาความสมดุลระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพของอัตราเงินเฟ้อ

มุมมองเชิงกลยุทธ์และสิ่งที่ต้องติดตามต่อ

นโยบายนี้ถูกมองว่า เป็น “Tariff Shock” มีโอกาสเป็นนโยบายที่เปิดโอกาสให้ประเทศคู่ค้าเข้ามาเจรจากับสหรัฐฯ เนื่องจากหากมีการขึ้นอัตราภาษีตามที่ประกาศออกไป จะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทั่วโลก


สิ่งที่ต้องติดตามในระยะต่อไป

  • ปฏิกิริยาตอบโต้จากจีนและท่าทีการเจรจาของประเทศในอาเซียน
  • ท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ท่ามกลางสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้อที่อาจเพิ่มขึ้น
  • ท่าทีของตลาดพันธบัตรและค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งหากเงินดอลลาร์แข็งค่า อาจกดดันภาคส่งออกสหรัฐฯ เพิ่มเติม

คำแนะนำการลงทุน

สำหรับนักลงทุนที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำชะลอการลงทุนและติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้


สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐฯ


  • หากมีสัดส่วนมากกว่า 30% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต โดยนำเงินที่ขายพักไว้ในกองทุน K-SFPLUS ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง ที่พร้อมสับเปลี่ยนเข้ากองทุนหุ้นอีกครั้งเมื่อสถานการณ์ชัดเจนขึ้น
  • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 30% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า

II. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีน

  • ด้วยภาษี 34% โดยตรง และการโดนปิดช่องทางส่งออกทางอ้อมผ่านประเทศเพื่อนบ้าน จีนจึงถูกกระทบ ทั้งทางตรงและทางโครงสร้าง ผ่านการชะลอตัวของ “Factory Asia” ทั้งภูมิภาค
  • อุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนเทคโนโลยีขั้นสูง จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากต้นทุนที่สูงขึ้นและคำสั่งซื้อลดลง
  • K WEALTH คาดว่า จีนจะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ทั้งด้านนโยบายการคลังและการเงิน เช่น การลดค่าเงินหยวน (RMB depreciation) เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อรองรับผลกระทบเชิงลึก

มุมมองการลงทุนต่อกองทุนหุ้นจีน

  • ในระยะสั้นมีความเสี่ยงต่อเงินทุนไหลออก ค่าเงินหยวนผันผวนไปในเชิงอ่อนค่า และความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลง อาจกดดันตลาดหุ้นจีนต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก
  • คาดว่าจีนจะตอบโต้สหรัฐฯ ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าวกว่าประเทศอื่นในเอเชีย โดยอาจเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่ม พร้อมใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี สะท้อนความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นชัดเจน ความเสี่ยงสงครามการค้าระลอกใหม่ระหว่างสหรัฐฯ–จีนจึงยังไม่จบ และอาจยืดเยื้อไปสู่ครึ่งปีหลัง

คำแนะนำการลงทุน

สำหรับนักลงทุนที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน แนะนำชะลอการลงทุนและติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้


สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นจีน


  • หากมีสัดส่วนมากกว่า 30% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต โดยนำเงินที่ขายพักไว้ในกองทุน K-SFPLUS ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง ที่พร้อมสับเปลี่ยนเข้ากองทุนหุ้นอีกครั้งเมื่อสถานการณ์ชัดเจนขึ้น
  • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 30% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า

III. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเวียดนาม

  • เศรษฐกิจเวียดนามอาจชะลอตัว: GDP ปี 2025 เสี่ยงเติบโตไม่ถึง 5% หากการส่งออกถูกกระทบจากภาษีสหรัฐฯ ทั้งหมดโดยไม่มีการเจรจาลด Reciprocal Tariffs
  • ความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุน: ในระยะสั้นจะมีความผันผวนจากนักลงทุนที่กังวล ส่งผลให้มีเงินทุนไหลออก ค่าเงินดองอ่อนค่า และตลาดหุ้นถูกกดดันจากแรงขาย
  • นโยบายการเงินมีบทบาทเด่นในช่วงที่เหลือของปี: ธนาคารกลางเวียดนามจะเผชิญกับความท้าทายในสร้างความสมดุลระหว่างการกระตุ้นเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพทางการเงินทั้งประเด็นค่าเงิน กระแสเงินทุน และอัตราเงินเฟ้อ

มุมมองต่อตลาดหุ้นเวียดนาม

  • ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ในระยะสั้น การลงทุนในเวียดนามควรเป็นไปอย่างระมัดระวังมากที่สุดในรอบหลายปี แม้เวียดนามจะเป็นเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานดีและเคยเป็น “ดาวรุ่ง” ของภูมิภาคเอเชีย แต่ระดับการจัดเก็บภาษีที่ 46% เป็นระดับที่กระทบต่อสภาพเศรษฐกิจเวียดนามี 46% จากสหรัฐฯ เป็น “แรงกดดันเชิงโครงสร้าง” ไม่ใช่แค่ความผันผวนชั่วคราว
  • อย่างไรก็ตามจากถ้อยแถลงของรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ที่ออกมาอธิบายว่าตัวเลข Reciprocal ดังกล่าวเป็นตัวเลขระดับภาษีสูงสุดที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บ พร้อมเปิดทางให้แต่ละประเทศเข้ามาเจรจากับสหรัฐฯ ซึ่ง K WEALTH มองว่าจากท่าทีในช่วงที่ผ่านมาของรัฐบาลเวียดนามซึ่งมุ่งเน้นการประนีประนอมกับสหรัฐฯ ทางรัฐบาลเวียดนามจะใช้โอกาสที่มีในการเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ

คำแนะนำการลงทุน

สำหรับนักลงทุนที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นเวียดนาม แนะนำชะลอการลงทุนและติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้ โดยสามารถ


  • พักเงิน 3-6 เดือน ในกองทุน K-SFPLUS ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น หรือหากต้องการพักเงินนานขึ้น เช่น 1-1.5 ปี แนะนำถือเงินลงทุนในกองทุน K-FIXED-A K-FIXEDPLUS-A ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว ที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ และได้รับปัจจัยหนุนจากดอกเบี้ยขาลง
  • หรือหากยังเห็นเป็นโอกาสการลงทุน แนะนำให้กระจายการลงทุนผ่านกองทุนกลุ่ม K-WealthPLUS Series เช่น K-WPBALANCED ที่มีการลงทุนในหุ้นประมาณ 30%ของเงินลงทุน หรือ K-WPULTIMATE ที่มีการลงทุนในหุ้นที่หลากหลายทั่วโลกประมาณ 85%ของเงินลงทุน

สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นเวียดนาม

  • หากมีสัดส่วนมากกว่า 30% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต โดยนำเงินที่ขายพักไว้ในกองทุน K-SFPLUS ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง ที่พร้อมสับเปลี่ยนเข้ากองทุนหุ้นอีกครั้งเมื่อสถานการณ์ชัดเจนขึ้น
  • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 30% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า

หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-SFPLUS, K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
    • K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
    • K-WPULTIMATE ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXED-A: ไม่มีการลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-WPBALANCED, K-WPULTIMATE : ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-SFPLUS: T+1
    • K-FIXED-A, K-FIXEDPLUS-A: T+2
    • K-WPBALANCED, K-WPULTIMATE: T+6



คำเตือน


ผู้เขียน

KWEALTH

Back to top