ตลาดหุ้นเอเชียมีความน่าสนใจมากขึ้น แม้เผชิญกับการขึ้นภาษีศุลกากร แต่คาดเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น และการเจรจาจะทำอัตราภาษีลดลง ขณะที่เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มฟื้นตัว และได้ปัจจัยสนับสนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่จะมีแนวโน้มอ่อนค่า ขณะที่ Valuation อยู่ในระดับที่ไม่แพง

ถูกและดีมีที่เอเชีย

ตลาดหุ้นเอเชียมีความน่าสนใจมากขึ้น แม้เผชิญกับการขึ้นภาษีศุลกากร แต่คาดเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น และการเจรจาจะทำอัตราภาษีลดลง ขณะที่เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มฟื้นตัว และได้ปัจจัยสนับสนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่จะมีแนวโน้มอ่อนค่า ขณะที่ Valuation อยู่ในระดับที่ไม่แพง

กดฟัง
หยุด
  • ตลาดหุ้นเอเชียมีความน่าสนใจมากขึ้น แม้จะเผชิญกับนโยบายการขึ้นภาษีศุลกากรก็ตาม แต่คาดเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น โดยตลาดหุ้นเอเชียยังมีปัจจัยสนับสนุนอื่นๆอีก ดังนี้ 1) เศรษฐกิจเอเชียยังมีแนวโน้มฟื้นตัวแข็งแกร่ง 2) ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นไปมากแล้วก่อนหน้านี้ มีแนวโน้มกลับมาอ่อนค่า หาก Fed ลดอัตราดอกเบี้ย 3 ) Valuation ของตลาดหุ้นเอเชียอยู่ในระดับที่ไม่แพง 4) ความตึงเครียดทางการค้ามองว่าถึงจุดพีคแล้ว การเจรจาต่อรองถัดจากนี้จะทำให้อัตราภาษีลดลง

เศรษฐกิจเอเชียเติบโตสูงและส่วนใหญ่อยู่ในแนวโน้มฟื้นตัว

ท่ามกลางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง เศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย (ยกเว้นจีน) เติบโตสูง และมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น



ดัชนี Manufacturing PMI ซึ่งสะท้อนถึงภาคการผลิต ในฝั่งสหรัฐฯชะลอตัวลง ส่วนยุโรปยังอยู่ในเกณฑ์หดตัวต่ำกว่า 50แต่ในฝั่งเอเชียส่วนใหญ่อยู่ในโซนขยายตัว



ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าหนุน Fund flow ไหลเข้าเอเชีย

ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมามากแล้วนับตั้งแตช่วงปลายปี 2024 ที่ผ่านมา แต่ก็มีแนวโน้มกลับมาอ่อนค่าได้หาก Fed ลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ปัจจุบันตลาดคาดว่า Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงกลางปี



ตลาดหุ้นเอเชีย Valuation ไม่แพง

จากข้อมูล ณ วันที่ 2 เม.ย. 68 ดัขนี MSCI Asia ex.Japan ซื้อขายที่ Fwd P/E 13.1 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีที่ 15 เท่าราวเกือบ -1S.D. และเมื่อเทียบกับ MSCI World ก็ถือว่ามีมูลค่าที่ถูกกว่า โดยดัชนี MSCI World ปัจจุบันซื้อขายที่ Fwd P/E เหนือค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีไปแล้ว



ความตึงเครียดทางการค้าถึงจุดพีคแล้ว การเจรจาต่อรองถัดจากนี้จะทำให้ภาษีลดลง

  • การขึ้นภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ของสหรัฐฯ ต่อประเทศคู่ค้าทั่วโลก ในวันที่ 2 เม.ย. เป็นตัวเลขที่สูงกว่าหลายฝ่ายคาดไว้ โดยแผนขึ้นภาษีศุลกากร แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
    1. ภาษีศุลกากรพื้นฐานในอัตรา 10% จากทุกประเทศ
    2. ภาษีตอบโต้เพิ่มเติมกับคู่ค้าของสหรัฐฯ บางประเทศ
  • ในส่วนภาษีศุลกากรตอบโต้เพิ่มเติม คาดว่าหลายประเทศจะพยายามเจรจาต่อรองยกเว้นจีน โดยก่อนหน้านี้เวียดนามได้นำหน้าลดภาษีนำเข้าสินค้าบางประเภทจากสหรัฐฯ ไปแล้ว เพื่อลดความรุนแรงของนโยบายภาษีในครั้งนี้ คาดว่าจะมีอีกหลายประเทศที่จะมีการเจรจาต่อรองเกิดขึ้นถัดจากนี้ ซึ่งจะนำมาสู่อัตราภาษีที่ลดลงจากระดับที่ปธน.ทรัมป์ ได้ประกาศ ณ ปัจจุบัน
  • อีกทั้งอัตราภาษีที่แท้จริงของภาษีตอบโต้ (Effective Reciprocal) จริงๆ แล้วน้อยกว่าตัวเลขที่ได้ประกาศจากการยกเว้นภาษีในสินค้าบางประเภท เช่น เหล็ก อลูมิเนียม รถยนต์ ทองแดงหรือไม้แปรรูป ยา semiconductor แร่ธาตุสำคัญ รวมถึงพลังงาน เป็นต้น

กองทุนหุ้นเอเชียแนะนำ


สำหรับนักลงทุนที่สนใจกองทุนเอเชีย
  • กองทุน K-ASIA, K-ASIAX สามารถซื้อขายได้ผ่านทุกช่องทางของธนาคารกสิกรไทย
  • กองทุน KFHASIA-A ซื้อขายได้ผ่าน Application K PLUS (K+)



คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTHปาณิศา เจียรพุฒิ

Back to top