มือใหม่อยากลงทุนแต่ไม่เข้าใจ XD? บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจ XD อย่างละเอียด พร้อมแนวทางการลงทุนทางเลือกแบบไม่ต้องเฝ้าจออย่างกองทุนหุ้นปันผลและ DCA เพื่อรายได้ระยะยาว

อยากรับเงินปันผลต้องรู้! XD คืออะไร? พร้อมทางเลือกลงทุนที่ง่ายและเสี่ยงน้อย

มือใหม่อยากลงทุนแต่ไม่เข้าใจ XD? บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจ XD อย่างละเอียด พร้อมแนวทางการลงทุนทางเลือกแบบไม่ต้องเฝ้าจออย่างกองทุนหุ้นปันผลและ DCA เพื่อรายได้ระยะยาว

กดฟัง
หยุด
  • เครื่องหมาย XD เป็นสัญลักษณ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นแสดงในวันที่ผู้ซื้อหุ้น "ไม่ได้สิทธิ" รับเงินปันผล เนื่องจากซื้อหุ้นหลังขึ้นเครื่องหมาย โดยราคาหุ้นมักจะปรับลดลงเท่ากับมูลค่าเงินปันผลในวันดังกล่าว
  • กองทุนหุ้นปันผลเป็นทางเลือกการลงทุนที่ง่ายและมีความเสี่ยงต่ำกว่าการซื้อหุ้นเอง เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ต้องการรายได้สม่ำเสมอ แต่ไม่มีเวลาติดตามตลาดบ่อยๆ
  • วิธีลงทุนแบบ DCA (Dollar-Cost Averaging) ช่วยให้นักลงทุนทยอยลงทุนสม่ำเสมอ และลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน โดยไม่ต้องกังวลกับจังหวะตลาด

หลายคนอยากลงทุนในหุ้นปันผลเพื่อสร้างรายได้สม่ำเสมอ แต่มักสับสนกับเรื่อง "XD" และกังวลว่าจะพลาดโอกาสรับเงินปันผล บทความนี้จะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจกับเครื่องหมาย XD ที่สำคัญต่อการรับเงินปันผล พร้อมแนะนำทางเลือกการลงทุนที่ง่ายและเสี่ยงน้อยกว่าสำหรับผู้ที่ต้องการรับผลตอบแทนสม่ำเสมอจากเงินปันผล แต่ไม่มีเวลาติดตามตลาดหุ้นอย่างใกล้ชิด


XD ย่อมาจากอะไร ทำไมคำนี้ถึงสำคัญกับนักลงทุนหุ้น

XD ย่อมาจาก Excluding Dividend หมายถึง "ไม่รวมเงินปันผล" เป็นเครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้ขึ้นแสดงบนกระดานซื้อขายหุ้น เพื่อแจ้งให้นักลงทุนทราบว่า ผู้ที่ซื้อหุ้นในวันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD และหลังจากนั้น จะไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในรอบการจ่ายนั้น


โดยทั่วไป ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย XD ล่วงหน้า 2 วันทำการก่อนวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ของไทยที่ใช้เวลา 2 วันทำการ


XD เกี่ยวข้องกับวันปิดสมุดทะเบียนอย่างไร

วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น (Record Date) คือ วันที่บริษัทจดทะเบียนกำหนดให้เป็นวันสำรวจรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล โดยมีความสัมพันธ์กับเครื่องหมาย XD ดังนี้


  • วันขึ้นเครื่องหมาย XD = 2 วันทำการก่อนวันปิดสมุดทะเบียน
  • เฉพาะผู้ที่ซื้อหุ้นก่อนวันขึ้น XD และถืออยู่จนถึงวัน XD เท่านั้นที่จะได้รับสิทธิปันผล
  • ผู้ที่ซื้อหุ้นในวันที่ขึ้น XD จะไม่ได้รับสิทธิปันผลในรอบนั้น

ความแตกต่างระหว่าง XD กับเครื่องหมายอื่นๆ

นอกจาก XD แล้ว ยังมีเครื่องหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ได้แก่


  • XD (Excluding Dividend) - ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล
  • XR (Excluding Right) - ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่
  • XW (Excluding Warrant) - ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์
  • XT (Excluding Transferable Subscription Right) – ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอน สิทธิได้
  • XM (Excluding Meetings) - ไม่ได้สิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
  • XE (Excluding Exercise) - ไม่ได้สิทธิในการนำตราสารสิทธิไปแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิง
  • XN (Excluding Capital Return) - ไม่ได้สิทธิในการรับเงินคืนจากการลดทุน
  • XB (Excluding Other Benefit) – ไม่ได้สิทธิประโยชน์ที่บริษัทให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ที่บริษัทกำหนด เช่น สิทธิในการ จองซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทในเครือ
  • XA (Excluding All) - ไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น มักจะขึ้นเครื่องหมาย XA เมื่อหุ้นขึ้นเครื่องหมายมากกว่า 1 เครื่องหมาย

XD ส่งผลต่อสิทธิรับเงินปันผลอย่างไรบ้าง

ซื้อหุ้นก่อนหรือหลัง XD ได้ปันผลเหมือนกันไหม
  • ซื้อหุ้นก่อนวันขึ้น XD ➔ ได้รับสิทธิปันผลในรอบนั้น
  • ซื้อหุ้นในวันขึ้น XD หรือหลังจากนั้น ➔ ไม่ได้รับสิทธิปันผลในรอบนั้น

ตัวอย่างสถานการณ์จริงที่จะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น

สมมติว่า บริษัท ABC จำกัด (มหาชน) ประกาศจ่ายเงินปันผล 1 บาทต่อหุ้น โดยมีกำหนดการดังนี้


  • วันที่คณะกรรมการมีมติจ่ายปันผล: 15 มีนาคม 2568
  • วันขึ้นเครื่องหมาย XD: 25 มีนาคม 2568
  • วันปิดสมุดทะเบียน: 27 มีนาคม 2568
  • วันจ่ายเงินปันผล: 20 เมษายน 2568

หากคุณซื้อหุ้น ABC


  • วันที่ 24 มีนาคม 2568 (ก่อนวัน XD) ➔ คุณจะได้รับเงินปันผล 1 บาทต่อหุ้น ในวันที่ 20 เมษายน 2568
  • วันที่ 25 มีนาคม 2568 (วัน XD) ➔ คุณจะไม่ได้รับเงินปันผลรอบนี้

ในวันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD ราคาหุ้นมักจะปรับตัวลดลงเท่ากับมูลค่าเงินปันผลที่จะจ่าย ในกรณีนี้ราคาหุ้น ABC อาจลดลงประมาณ 1 บาท เนื่องจากผู้ซื้อหุ้นในวันนี้จะไม่ได้รับเงินปันผล


ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ XD ที่มักเจอ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ XD ที่มักเจอบ่อยๆ ได้แก่


  1. ถ้าซื้อหุ้นในวัน XD แล้วถือไว้จนถึงวันจ่ายปันผล จะได้รับปันผลด้วย
  2. ความจริง ไม่ว่าจะถือนานแค่ไหน หากซื้อในวัน XD หรือหลังจากนั้น จะไม่ได้ปันผลในรอบนั้น


  3. ราคาหุ้นที่ลดลงในวัน XD เป็นการขาดทุน
  4. ความจริง ราคาที่ลดลงสอดคล้องกับมูลค่าปันผลที่จะไม่ได้รับ ไม่ใช่การขาดทุนที่แท้จริง


  5. ควรซื้อหุ้นก่อนวัน XD เสมอเพื่อรับปันผล
  6. ความจริง ไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเสมอไป เพราะราคาหุ้นมักปรับลดลงในวัน XD ใกล้เคียงกับมูลค่าที่ปันผล


หุ้นปันผล เหมาะกับใคร

หุ้นปันผล เหมาะกับ


  • นักลงทุนที่ต้องการรายได้สม่ำเสมอ
  • การลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกระแสเงินสดเข้าพอร์ตเป็นประจำ เช่นผู้เกษียณอายุหรือผู้ที่ต้องการรายได้เสริมจากการลงทุนโดยไม่ต้องขายหลักทรัพย์


  • คนที่วางแผนลงทุนระยะยาว
  • นักลงทุนระยะยาวที่สนใจ "พลังของเงินปันผลทบต้น" (Dividend Reinvestment) จะได้ประโยชน์จากการนำเงินปันผลกลับไปลงทุนต่อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวได้อย่างมีนัยสำคัญ


ถ้าไม่เข้าใจ XD ควรเลือกลงทุนแบบไหนดี

การลงทุนในหุ้นเพื่อรับปันผลมีความซับซ้อนและต้องติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ ผู้ที่ไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลหรือไม่ต้องการความเสี่ยงสูงอาจพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น


กองทุนหุ้นปันผล – ทางเลือกง่ายๆ สำหรับมือใหม่

กองทุนหุ้นปันผล คือ กองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูงและสม่ำเสมอ มีข้อดีคือ


  • ไม่ต้องติดตามเรื่อง XD ให้วุ่นวาย
  • มีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพบริหารให้
  • กระจายความเสี่ยงกว่าซื้อหุ้นเอง

กองทุนผสม – ความเสี่ยงต่ำ พร้อมโอกาสรับปันผล

กองทุนผสมจะลงทุนทั้งในหุ้นและตราสารหนี้ ช่วยให้มีความผันผวนน้อยกว่ากองทุนหุ้นล้วน ขณะที่ยังมีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี


  • ความเสี่ยงต่ำกว่ากองทุนหุ้น
  • กองทุนมีรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผล
  • เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการความผันผวนสูง

ลงทุนแบบ DCA ในกองทุนที่จ่ายเงินปันผล

การลงทุนแบบ DCA (Dollar-Cost Averaging) หรือการทยอยลงทุนสม่ำเสมอ เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด


  • ลงทุนอัตโนมัติทุกเดือน ไม่ต้องจับจังหวะตลาด
  • ลดต้นทุนเฉลี่ยเมื่อตลาดผันผวน
  • ทำได้ง่ายผ่าน K PLUS

เปรียบเทียบระหว่างหุ้นปันผลกับการลงทุนในกองทุนรวม



เปรียบเทียบความเสี่ยง และความสะดวกในการลงทุน



เลือกลงทุนแบบไหนให้เหมาะกับคุณที่สุด

การลงทุนเพื่อรับเงินปันผลมีหลายรูปแบบ ทั้งการลงทุนในหุ้นโดยตรงที่ต้องเข้าใจเรื่อง XD หรือลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีความสะดวกกว่า การเลือกรูปแบบที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ


  1. เวลาที่มี หากมีเวลาจำกัด กองทุนรวมเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
  2. ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หากไม่ชอบความผันผวนสูง กองทุนผสมอาจเหมาะสมกว่า
  3. ขนาดเงินลงทุน ต้องใช้เงินลงทุนมากพอเพื่อกระจายความเสี่ยง สำหรับการลงทุนในหุ้นโดยตรง
  4. ความรู้และประสบการณ์ นักลงทุนมือใหม่ควรเริ่มจากกองทุนรวมก่อน

แบบทดสอบเบื้องต้นเพื่อช่วยเลือกแนวทางการลงทุนที่ตรงใจ

ลองตอบคำถามต่อไปนี้เพื่อหาแนวทางการลงทุนที่เหมาะกับคุณ


  1. คุณมีเวลาติดตามข่าวสารและวันขึ้น XD ของหุ้นแต่ละตัวหรือไม่?
  2. คุณสามารถรับความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้มากน้อยเพียงใด?
  3. คุณต้องการรายได้จากการลงทุนบ่อยแค่ไหน – รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี?
  4. คุณมีเงินลงทุนเริ่มต้นเท่าไร?

หากคุณตอบว่า มีเวลาน้อย รับความผันผวนได้ไม่มาก ต้องการรายได้เป็นรายไตรมาส และมีเงินลงทุนเริ่มต้นไม่มาก การลงทุนแบบ DCA ในกองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด


กองทุนแนะนำเพื่อรับเงินปันผล
  • กองทุน K-GHEALTH ลงทุนในหุ้นบริษัทที่ประกอบธุรกิจดูแลสุขภาพทั่วโลกไม่น้อยกว่า 67% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน และมีนโยบายจ่ายปันผลไม่เกินปีละ 4 ครั้ง
  • กองทุน K-GINFRA-A(D) ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่มีลักษณะคงทนถาวรทั่วโลก เช่น บริษัทที่อยู่ในหมวดสาธารณูปโภค การขนส่ง พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และสินค้าอุตสาหกรรม และมีนโยบายจ่ายปันผลไม่เกินปีละ 4 ครั้ง

การทำความเข้าใจเรื่องเครื่องหมาย XD ทำให้นักลงทุนไม่พลาดโอกาสได้รับเงินปันผลซึ่งจะช่วยสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลหรือติดตามตลาด การลงทุนในกองทุนหุ้นปันผลก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพบริหารจัดการให้ และสามารถสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การลงทุนเพื่อคาดหวังเงินปันผล ควรเป็นการทยอยลงทุน (DCA) และ/หรือ ถือเงินลงทุนระยะยาวอย่างน้อย 3-5 ปีขึ้นไป เพราะในระยะสั้นทางเลือกเหล่านี้ราคามีความผันผวน และในบางช่วงเวลาอาจไม่มีการจ่ายเงินปันผลได้


หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-GHEALTH, K-GINFRA-A(D): ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-GHEALTH, K-GINFRA-A(D): ป้องกันความเสี่ยงไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-GHEALTH, K-GINFRA-A(D): T+4

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : บลจ.กสิกรไทย, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


คำเตือน

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

K WEALTHสุวิมล ยิ่งเจริญรุ่งโรจน์ CFP®

Back to top