ตลาดเอเชียร่วงหนักจากนโยบายการขึ้นภาษีของทรัมป์ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียในปี 2025 อาจถูกกดดันจากมาตรการภาษีชุดนี้ ซึ่งยังคงต้องติดตามความคืบหน้าต่อไป

ประเด็นร้อน: มาตรการภาษีของสหรัฐ กดดันตลาดหุ้นเอเชีย

ตลาดเอเชียร่วงหนักจากนโยบายการขึ้นภาษีของทรัมป์ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียในปี 2025 อาจถูกกดดันจากมาตรการภาษีชุดนี้ ซึ่งยังคงต้องติดตามความคืบหน้าต่อไป

กดฟัง
หยุด
  • มาตรการภาษีนำเข้าจากสหรัฐ ที่จะมีผลวันที่ 5 เมษายนนี้ สร้างความกังวลต่อตลาดหุ้นเอเชีย โดยเวียดนามถูกคิดอัตราภาษีที่สูงถึง 46%-49% ทำให้ GDP มีความเสี่ยงหดตัวถึง 5% ขณะที่ไทยและญี่ปุ่นก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยไทยถูกเก็บภาษี 37% และญี่ปุ่น 24%
  • การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียในปี 2025 อาจถูกกดดันจากมาตรการภาษีชุดนี้ โดยเฉพาะประเทศที่มีการส่งออกพึ่งพาสหรัฐฯ สูง อย่างเวียดนาม ไทย และไต้หวัน ได้รับผลกระทบมากที่สุด
  • K WEALTH แนะนำให้ชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียและติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้

Market Update

  • หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศใช้มาตรการภาษีสินค้านำเข้าใหม่กับประเทศคู่ค้ารวมกว่า 60 ประเทศ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนเป็นต้นไป ส่งผลให้นักลงทุนต่างกังวลและเทขายสินทรัพย์เสี่ยง สร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นเอเชีย
  • เวียดนามได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษี Reciprocal ของสหรัฐฯ มากที่สุด ด้วยอัตราภาษีที่สูงถึง 46%-49% ทำให้ GDP มีความเสี่ยงหดตัวถึง 5% ขณะที่ไทยและญี่ปุ่นก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยไทยถูกเก็บภาษี 37% และญี่ปุ่น 24%
  • มีรายงานจากนักวิเคราะห์ระบุว่า ประเทศที่พึ่งพาการส่งออกอย่างเวียดนาม ไทย และไต้หวัน ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่ม อิเล็กทรอนิกส์, สิ่งทอ, และเครื่องจักร ตลาดหุ้นทั่วภูมิภาคจึงร่วงต่อเนื่อง

Related Indices & Funds ที่เปลี่ยนแปลงเทียบกับวันก่อนหน้า (ข้อมูลวันที่ 4 เมษายน 2025 เวลา 12.30 น.)

  • Nikkei 225 (Japan): ▼ -3.39%
  • KOSPI (South Korea): ▼ -1.63%
  • VN Index (Vietnam): ▼ -3.32%
  • SET Index (Thailand): ▼ -2.68%

Market Outlook

  • การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียในปี 2025 อาจถูกกดดันจากมาตรการภาษีชุดนี้ โดยเฉพาะประเทศที่มี “การส่งออกพึ่งพาสหรัฐฯ สูง”
  • เวียดนามที่มีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯ ประมาณ 25% ของ GDP และเมื่ออัตราภาษีที่เปิดเผยออกมาสูงเกินคาด จึงสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นเวียดนาม
  • ในด้านของไทย KResearch ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจ โดยคาดว่าหากไทยโดนภาษีที่ 37% ตามที่สหรัฐฯ ประกาศ GDP ไทยจะหดตัวลงประมาณ 1% (จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 2.4% จะลดลงเหลือ 1.4%) นอกจากนี้ ยังมองว่า ธปท. อาจจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้นเป็นในเดือน เม.ย. นี้ และปรับลดอีกครั้งหนึ่งในครึ่งปีหลัง
  • ส่วนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่มีการส่งออกรถยนต์และเทคโนโลยีเป็นสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมด ทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นและเกาหลีปรับตัวลงแรง ซึ่งอาจทำให้รัฐบาลของ 2 ประเทศนี้ เร่งเดินหน้าเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ โดยเฉพาะการเปิดตลาดให้สินค้าเกษตรและพลังงานจากสหรัฐฯ เพื่อแลกกับการผ่อนปรนภาษี และลดผลกระทบในระยะยาว
  • ตลาดยังเผชิญกับความไม่แน่นอนในระดับสูงจากปัจจัยด้านนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ทำให้ในระยะสั้นนักลงทุนควรชะลอการลงทุนและติดตามพัฒนาการของการเจรจาการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ กับสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด รวมถึงการใช้นโยบายการเงินและการคลัง เพื่อประเมินทิศทางที่ชัดเจนก่อนการตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติม (Wait and See)

คำแนะนำ

สำหรับนักลงทุนที่มีสถานะการลงทุนในกองทุนเอเชีย เช่น K-ASIA, K-ASIAX, K-ASIACV-A

  • หากมีสัดส่วนมากกว่า 30% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต โดยนำเงินที่ขายพักไว้ในกองทุน K-SFPLUS ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง ที่พร้อมสับเปลี่ยนเข้ากองทุนหุ้นอีกครั้งเมื่อสถานการณ์ชัดเจนขึ้น
  • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 30% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า

สำหรับที่นังไมมี หรือต้องการลงทุนเพิ่มในจังหวะที่ตลาดปรับตัวลง หากเป็นกองทุนหุ้นรายภูมิภาคหรือรายประเทศ K WEALTH แนะนำให้ชะลอการลงทุนและติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้ โดยสามารถ

  • พักเงิน 3-6 เดือน ในกองทุน K-SFPLUS ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น หรือหากต้องการพักเงินนานขึ้น เช่น 1-1.5 ปี แนะนำถือเงินลงทุนในกองทุน K-FIXED-A K-FIXEDPLUS-A ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว ที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ และได้รับปัจจัยหนุนจากดอกเบี้ยขาลง
  • หรือหากยังเห็นเป็นโอกาสการลงทุน แนะนำให้กระจายการลงทุนผ่านกองทุนกลุ่ม K-WealthPLUS Series เช่น K-WPBALANCED ที่มีการลงทุนในหุ้นประมาณ 30%ของเงินลงทุน หรือ K-WPULTIMATE ที่มีการลงทุนในหุ้นที่หลากหลายทั่วโลกประมาณ 85%ของเงินลงทุน

หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A, K-FIXED-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
    • K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
    • K-ASIA, K-ASIAX, K-ASIACV-A K-WPULTIMATE ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-FIXED-A: ไม่มีการลงทุนต่างประเทศ
    • K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-ASIA: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
    • K-WPBALANCED, K-ASIAX, K-ASIACV-A, K-WPULTIMATE: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-SFPLUS: T+1
    • K-FIXEDPLUS-A, K-FIXED-A: T+2
    • K-ASIA, K-ASIAX: T+4
    • K-ASIACV-A: T+5
    • K-WPBALANCED, K-WPULTIMATE: T+6


คำเตือน

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

“ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

K WEALTH

Back to top