ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงปรับตัวตามสถานการณ์สงครามการค้า ทางด้านตลาดหุ้นไทยประกาศมาตรการพิเศษ ห้าม Short Sell ชั่วคราว และปรับเกณฑ์ Ceiling & Floor เพื่อรับมือกับผลกระทบจากสงครามการค้าในครั้งนี้

ประเด็นร้อน: พิษภาษีทรัมป์ ทำหุ้นโลกเหวี่ยง ส่วนหุ้นไทยห้าม Short Sell

ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงปรับตัวตามสถานการณ์สงครามการค้า ทางด้านตลาดหุ้นไทยประกาศมาตรการพิเศษ ห้าม Short Sell ชั่วคราว และปรับเกณฑ์ Ceiling & Floor เพื่อรับมือกับผลกระทบจากสงครามการค้าในครั้งนี้

กดฟัง
หยุด
  • 7 เม.ย. 2025 ตลาดหุ้นเอเชีย ติดลบหนักจากความวิตกกังวลต่อสงครามการค้า โดยหลายตลาดยู่ในภาวะ “panic selling” คล้ายกับช่วงวิกฤตการเงินในอดีต ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ระหว่างวันมีความผันผวนจาก "Fake news
  • นักลงทุนและผู้ทำธุรกิจส่งออก ควรติดตามความคืบหน้าการเจรจาของประเทศต่างๆ กับสหรัฐฯ เพราะผลการเจรจาส่งผลทั้งสถานการณ์ตลาดหุ้น และการส่งออกโดยเฉพาะการส่งออกโดยตรงไปยังสหรัฐฯ
  • ชะลอการลงทุนโดย “wait and see” ทั้งกองทุนหุ้นและทองคำ แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS หรือลงทุนเพิ่มใน K-FIXEDPLUS ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน และแนวโน้มดอกเบี้ยที่ยังลงต่อ

Market Update ตลาดหุ้นเอเชีย

  • วันที่ 7 เม.ย. 2025 (ไทยหยุดทำการ) ตลาดหุ้นเอเชีย เผชิญแรงเทขายอย่างรุนแรง ท่ามกลางความวิตกกังวลต่อสงครามการค้าระลอกใหม่ สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อตลาดการเงินทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชียซึ่งมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการค้าอย่างมาก ความเคลื่อนไหวในตลาดต่าง ๆ สะท้อนภาวะ “panic selling” คล้ายกับช่วงวิกฤตการเงินในอดีต ไม่ว่าจะเป็นต้มยำกุ้งปี 1997 วิกฤตซับไพรม์ปี 2008 หรือช่วงโควิด-19 ปี 2020
  • ฮ่องกง เป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะดัชนี Hang Seng ดิ่งแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1997 ขณะที่ดัชนีเทคโนโลยีอย่าง HSTECH ร่วงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน นำโดยแรงเทขายจากกองทุนต่างชาติ
  • ไต้หวัน ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดย TAIEX ปรับตัวลงแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1990 โดยเฉพาะหุ้นในห่วงโซ่อุปทานของ Apple ที่ร่วงหนักถึง 10% สะท้อนความกังวลของตลาดต่อความลึกของสงครามการค้า
  • ญี่ปุ่น แม้เผชิญแรงขายหนัก แต่พยายามเปิดเกมการทูตเชิงรุก โดยนายกรัฐมนตรีชิเกรุ อิชิบะ เตรียมเสนอข้อตกลงรวมที่มีการลงทุนในโครงการ LNG มูลค่า 44,000 ล้านดอลลาร์ในรัฐอลาสกา เพื่อเป็นหมากต่อรองในการเจรจากับสหรัฐฯ หวังลดแรงกดดันจากมาตรการภาษี
  • ไทย แม้จะเป็นวันหยุดแต่ตลาดหุ้นไทยประกาศมาตรการพิเศษ “ห้าม Short Sell ชั่วคราว” มีผลตั้งแต่วันอังคารถึงวันที่ 11 เมษายน เพื่อสกัดความผันผวนที่อาจขยายตัว โดยลดเพดาน Ceiling-Floor หุ้นทั่วไปเหลือ ±15%

Market Update ตลาดหุ้นสหรัฐ/ยุโรป

  • เมื่อวันที่ 7 เม.ย. ระหว่างเวลาทำการ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวนหนักแกว่งตัวในกรอบ 7% ถือเป็นการผันผวนมากที่สุดตั้งแต่ปี 2020 โดยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไปถึงระดับ +3.4% หลังมีข่าวว่าทรัมป์จะเลื่อนการขึ้นภาษีไปอีก 90 วัน แต่หลังจากที่รัฐบาลระบุว่าเป็น "Fake news" หุ้นสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลงต่อ และปิดตลาดที่ระดับราคาใกล้เคียงกับวันศุกร์
  • สถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ล่าสุดประธานาธิบดีทรัมป์ขู่จะขึ้นภาษีจีนเพิ่มเติมอีก 50% มีผลในวันพุธที่ 9 เมษายน และขู่ว่าการเจรจาทั้งหมดจะไม่มีผล ถ้าหากจีนไม่ยกเลิกภาษีบนสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ภายในวันอังคาร
  • ด้านสหภาพยุโรป (EU) เตรียมมาตรการตอบโต้ด้วยการกำหนดภาษีสินค้านำเข้า 25% จากสหรัฐฯ มูลค่า 28,000 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามแม้มีการตอบโต้แต่สหภาพยุโรปก็ได้เสนอข้อตกลง zero-for-zero เพื่อยกเลิกภาษีที่ประธานาธิบดีทรัมป์ได้กำหนดขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีนำเข้าให้เหลือ 0%

Related Indices & Funds การเปลี่ยนแปลงเทียบกับวันทำการก่อนหน้า (ข้อมูลวันที่ 7 เมษายน 2025)

  • NIKKEI 225: 31,136.36 >> -7.83%
  • CHINA A50: 12,181.50 >> -3.96%
  • HANG SENG: 19,828.31 >> -13.22%
  • HANG SENG TECH: 4,401.51 >> -17.16%
  • TAIEX: 19,232.35 >> -9.70%
  • SENSEX: 73,137.90 >> -2.95%
  • KOSPI: 2,328.20 >> -5.57%
  • Dow Jones : 37,965.60 >> -0.91%
  • S&P 500 : 5062.25 >> -0.23%
  • NASDAQ : 15,603.3 >> +0.10%

Market Outlook

ภาวะตลาดโลกยังเผชิญความไม่แน่นอนในระดับสูงและมีแนวโน้มผันผวนต่อเนื่องในระยะสั้น ประกอบกับทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อคืน 7 เม.ย. ที่ผ่านมา สะท้อนว่าตลาดยังมีความผันผวนหนักตามทิศทางข่าวสงครามการค้า นักลงทุนควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และเน้นกลยุทธ์ “wait and see” (รอประเมินสถานการณ์) โดยมีปัจจัยหลักที่ต้องจับตา ได้แก่


  1. ความตึงเครียดทางการค้า ระหว่างสหรัฐฯ กับหลายประเทศที่เริ่มทวีความรุนแรง และอาจขยายวงกว้าง
  2. ทิศทางการขึ้นภาษีการค้า ทิศทางการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างสหรัฐฯ กับหลายประเทศที่มีทั้งความรุนแรงเพิ่มขึ้น และเจรจาลดภาษีนำเข้าสินค้า
  3. ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนผ่านแรงขายในตลาดทั่วโลกและดัชนีความผันผวน VIX ที่พุ่งขึ้น โดยเมื่อคืนนี้ VIX Index พุ่งขึ้นสูงถึงระดับ 60 จุด ก่อนจะปรับตัวลงมาปิดตลาดที่ระดับ 46 จุด
  4. การใช้นโยบายการเงินและการคลัง ในภาวะที่ทุกฝ่ายต่างคาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า นโยบายการเงินและการคลังจะถูกใช้เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ซึ่งแต่ละประเทศมีความสามารถด้านนโยบายเหล่านี้ที่แตกต่างกัน
  5. ความเสี่ยง stagflation จากต้นทุนการค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ท่ามกลางธนาคารกลางมีความยากลำบากที่มากขึ้นในการปรับนโยบายการเงินที่ต้องสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจและระดับอัตราเงินเฟ้อ

แม้บางประเทศเริ่มเปิดช่องทางเจรจา เช่น ญี่ปุ่นและอิสราเอล แต่โดยรวมยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจน จึงควรจับตาการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะถัดจากนี้


คำแนะนำการลงทุน

  • สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้น ทั้งหุ้นกลุ่มประเทศเอเชียและหุ้นสหรัฐ
    • หากมีสัดส่วนมากกว่า 10% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
    • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 10% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า
  • สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นเอเชียและกองทุนหุ้นสหรัฐ
    • แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นในประเทศภูมิภาคเอเชีย, กองทุนหุ้นสหรัฐ และติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้อย่างใกล้ชิด
    • ผู้ที่มีเงินลงทุนในกองทุนทองคำ (เช่น K-GOLD) สามารถถือต่อได้ แต่ไม่แนะนำให้ซื้อเพิ่มเนื่องจากราคาขึ้นมาสูงแล้ว
    • เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
    • แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
    • สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS

หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
    • K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
    • K-ASIA, K-CHINA-A, K-JPX-A, K-STAR-A, K-USA-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
    • K-ASIA, K-CHINA-A, K-JPX-A, K-USA-A: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
    • K-STAR-A: ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศ
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-SFPLUS: T+1
    • K-FIXEDPLUS-A: T+2
    • K-STAR-A, K-JPX-A: T+3
    • K-USA-A, K-CHINA-A, K-ASIA: T+4
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6

คำเตือน

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

“ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

KWEALTH

Back to top