ตลาดหุ้นยังคงปรับตัวลง จากเหตุการสงครามการค้าระว่างสหรัฐและจีนที่มีความรุนแรงมากขึ้น

ประเด็นร้อน: ตลาดหุ้นเอเชียลงต่อ ทรัมป์ยังเดินหน้าขู่เก็บภาษี

ตลาดหุ้นยังคงปรับตัวลง จากเหตุการสงครามการค้าระว่างสหรัฐและจีนที่มีความรุนแรงมากขึ้น

กดฟัง
หยุด
  • 9 เม.ย. 2025 ตลาดหุ้นเอเชีย หลังจากเมื่อคืนมีแรงกดดันจากจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่รุนแรง
  • ชะลอการลงทุน “wait and see” ในกองทุนหุ้นเอเชีย แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS หรือลงทุนเพิ่มใน K-FIXEDPLUS ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน และแนวโน้มดอกเบี้ยที่ยังลงต่อ

Market Update

ตลาดหุ้นเอเชียเช้าวันที่ 9 เม.ย. ตลาดหุ้นเอเขียปรับลงแรง สอดคล้องกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ กดดันจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่รุนแรงขึ้น นอกจากนั้นยังกดดันจากการที่ปธน.ทรัมป์ระบุว่าจะเก็บภาษีบนสินค้ากลุ่ม Pharmaceuticals เร็วๆนี้


  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: ถูกกดดันจากหุ้นส่งออกและกลุ่มผู้ผลิตยา เช่น Mitsubitshi -6.9% Sumitomo Pharma -8.4% ในขณะที่เงินเยนแข็งค่าขึ้นราว 1%
  • ตลาดหุ้นฮ่องกง: ปรับตัวลงนำโดยกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เช่น XPENG -9% LI Auto -9% Geely -6%
  • ตลาดหุ้นไทยและเวียดนาม: แรงขายเริ่มชะลอตัว หลังจากปรับลงแรงเมื่อวานนี้

Related Indices & Funds การเปลี่ยนแปลงเทียบกับวันทำการก่อนหน้า (ข้อมูลวันที่ 8 เมษายน 2025 ณ 10.30 น)


  • NIKKEI 225 -2.6%
  • HSCEI -1.5%
  • VNINDEX -0.90%
  • SET Index -0.20%
  • NIFTY 50 -0.45%

Market Outlook

สงครามการค้าที่รุนแรงขึ้นโดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯ และจีนสร้างความกังวลการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา ยังสะท้อนชัดว่าทรัมป์พร้อมใช้วิธีการเจรจาทางการค้ากับประเทศที่แสดงท่าทีประนีประนอม และใช้วีธีการแข็งกร้าวกับประเทศที่พร้อมจะตอบโต้อย่างรุนแรง ดังที่เกิดขึ้นกับประเทศจีน รวมไปถึงกลุ่มสินค้าที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ


ยังมีความไม่แน่นอนอย่างมากทั้งในแง่การเจรจาและผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจแต่ละประเทศและการค้าทั่วโลก จึงมองว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะยังคงผันผวนขึ้นลงแรงตามข่าวรายวัน นักลงทุนจึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และเน้นกลยุทธ์ “wait and see”


ปัจจัยหลักที่ต้องจับตาได้แก่:


  • ทิศทางการขึ้นภาษีการค้า ทิศทางการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างสหรัฐฯ กับหลายประเทศที่มีทั้งความรุนแรงเพิ่มขึ้น และเจรจาลดภาษีนำเข้าสินค้า
  • ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนผ่านแรงขายในตลาดทั่วโลกและดัชนีความผันผวน VIX ที่ยังทรงตัวในระดับสูงกว่า 50 จุด
  • การใช้นโยบายการเงินและการคลัง ในภาวะที่ทุกฝ่ายต่างคาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า นโยบายการเงินและการคลังจะถูกใช้เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ซึ่งแต่ละประเทศมีความสามารถด้านนโยบายเหล่านี้ที่แตกต่างกัน
  • ความเสี่ยง stagflation จากต้นทุนการค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ท่ามกลางธนาคารกลางมีความยากลำบากที่มากขึ้นในการปรับนโยบายการเงินที่ต้องสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจและระดับอัตราเงินเฟ้อ

K WEALTH จะติดตามพัฒนาการของปัจจัยเหล่านี้อย่างใกล้ชิด รวมถึงข่าวความเคลื่อนไหวการเจรจาของแต่ละประเทศเพื่อประกอบการพิจารณาให้คำแนะนำการลงทุน


คำแนะนำการลงทุน

  • สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นประเทศเอเชีย
    • หากมีสัดส่วนมากกว่า 10% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
    • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 10% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า
  • สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นเอเชีย
    • แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นในประเทศภูมิภาคเอเชีย และติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้อย่างใกล้ชิด
    • เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
    • แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
    • สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS

หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
    • K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
    • K-ASIA, K-ASIAX, K-ASIACV-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-ASIAX, K-ASIACV-A: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
    • K-ASIA: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-SFPLUS: T+1
    • K-FIXEDPLUS-A: T+2
    • K-ASIA, K-ASIAX: T+4
    • K-ASIACV-A: T+5
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6



คำเตือน

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

“ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

KWEALTH

Back to top