ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงมีความผันผวนจากสงครามการค้ารอบใหม่ โดยล่าสุด ปธน.ทรัมป์ได้ขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนสูงถึง 104% ซึ่งส่งผลกดดันต่อภาพการลงทุน

ประเด็นร้อน: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับลงต่อเนื่องหลังสงครามการค้ารุนแรงขึ้น

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงมีความผันผวนจากสงครามการค้ารอบใหม่ โดยล่าสุด ปธน.ทรัมป์ได้ขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนสูงถึง 104% ซึ่งส่งผลกดดันต่อภาพการลงทุน

กดฟัง
หยุด
  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯยังคงปรับตัวลงเป็นวันที่ 4 หลังจากปธน.ทรัมป์ยืนยันเก็บภาษีบนสินค้านำเข้าจากจีนที่อัตรา 104%
  • จากสถานการณ์การลงทุนที่ยังเผชิญแรงกดดันจากสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน จึงแนะนำให้พิจารณาชะลอการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ

Market Update

8 เม.ย. 68 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แม้ระหว่างวันมีการรีบาวด์ขึ้นแรง 3-4% จากความหวังว่าจะมีการเจรจาทางการค้า แต่ท้ายที่สุดก็ปรับตัวลงหลังปธน.ทรัมป์ยืนยันเก็บภาษีบนสินค้านำเข้าจากจีนที่อัตรา 104% ด้านจีนระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการขึ้นภาษีและพร้อมจะตอบโต้กลับให้ถึงที่สุด


ทำให้ดัชนี S&P500 ปรับตัวลงเกือบ 20% จากจุดสูงสุดช่วงกลางเดือน ก.พ. เข้าใกล้ Bear market โดยเมื่อคืนนี้หุ้นกลุ่ม Cyclical อย่าง Materials (-2.96%), Consumer discretionary (-2.54%) และ Energy (-2.48%) ปรับลงแรงกว่าตลาด ส่วนหุ้นกลุ่ม Defensive เช่น Utilities (-0.48%) และ Healthcare (-1.06%) ปรับลงน้อยกว่าตลาด


ค่าเงินหยวน Offshore อ่อนค่าที่สุดในประวัติการณ์ที่ระดับ 7.43 หยวนต่อดอลลาร์ หลัง PBoC กำหนดค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงมาที่ 7.2038 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการหนุนการส่งออกของจีน


ด้านตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก สอดคล้องกับการปรับขึ้นของหุ้นสหรัฐฯ ระหว่างวัน


Related Indices & Funds การเปลี่ยนแปลงเทียบกับวันทำการก่อนหน้า (ข้อมูลวันที่ 8 เมษายน 2025)


  • Dow Jones -0.84%
  • S&P500 -1.57%
  • NASDAQ -2.15%
  • EURO STOXX 50 +2.52%

Market Outlook

สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าทรัมป์พร้อมใช้วิธีการเจรจาทางการค้ากับประเทศที่แสดงท่าทีประนีประนอม และใช้วีธีการแข็งกร้าวกับประเทศที่พร้อมจะตอบโต้อย่างรุนแรง ดังที่เกิดขึ้นกับประเทศจีน ยังมีความไม่แน่นอนทั้งในแง่การเจรจาและผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจแต่ละประเทศและการค้าทั่วโลก จึงมองว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะยังคงผันผวนขึ้นลงแรงตามข่าวรายวัน นักลงทุนจึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และเน้นกลยุทธ์ “wait and see”


ปัจจัยหลักที่ต้องจับตาได้แก่:
  • ทิศทางการขึ้นภาษีการค้า ทิศทางการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างสหรัฐฯ กับหลายประเทศที่มีทั้งความรุนแรงเพิ่มขึ้น และเจรจาลดภาษีนำเข้าสินค้า
  • ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนผ่านแรงขายในตลาดทั่วโลกและดัชนีความผันผวน VIX ที่ยังทรงตัวในระดับสูงกว่า 50 จุด
  • การใช้นโยบายการเงินและการคลัง ในภาวะที่ทุกฝ่ายต่างคาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า นโยบายการเงินและการคลังจะถูกใช้เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ซึ่งแต่ละประเทศมีความสามารถด้านนโยบายเหล่านี้ที่แตกต่างกัน
  • ความเสี่ยง stagflation จากต้นทุนการค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ท่ามกลางธนาคารกลางมีความยากลำบากที่มากขึ้นในการปรับนโยบายการเงินที่ต้องสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจและระดับอัตราเงินเฟ้อ

K WEALTH จะติดตามพัฒนาการของปัจจัยเหล่านี้อย่างใกล้ชิด รวมถึงข่าวความเคลื่อนไหวการเจรจาของแต่ละประเทศเพื่อประกอบการพิจารณาให้คำแนะนำการลงทุน


คำแนะนำการลงทุน

  • สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐ
    • หากมีสัดส่วนมากกว่า 10% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
    • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 10% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า
  • สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐ
    • แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นสหรัฐ และติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้อย่างใกล้ชิด
    • เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
    • แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
    • สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS

หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
    • K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
    • K-USA-A, K-US500X-A, K-USXNDQ-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-US500X-A: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
    • K-USA-A, K-USXNDQ-A: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-SFPLUS: T+1
    • K-FIXEDPLUS-A: T+2
    • K-US500X-A, K-USXNDQ-A: T+3
    • K-USA-A: T+4
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6



คำเตือน

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

“ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

K WEALTH

Back to top