-
10 เม.ย. 2025 ตลาดหุ้นเอเชียรีบาวด์ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังจากที่ทรัมป์ประกาศหยุดการเก็บภาษีสินค้านำเข้ากับประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่เป็นเวลา 90 วัน แต่ขึ้นภาษีกับจีนต่อไปที่ 125% หลังทางจีนตอบโต้ด้วยการเพิ่มภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็น 87%
-
ตลาดหุ้นเอเชียที่รีบาวด์ขึ้นมาอาจเป็นเพียงระยะสั้น แนะนำชะลอการลงทุน “wait and see” ในกองทุนหุ้นเอเชีย และพักเงินใน K-SFPLUS หรือลงทุนเพิ่มใน K-FIXEDPLUS ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน และแนวโน้มดอกเบี้ยที่ยังลงต่อ
Market Update
วันที่ 10 เม.ย. ตลาดหุ้นเอเชียรีบาวด์ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ ตอบรับเชิงบวกหลังจากที่ทรัมป์ประกาศหยุดการเก็บภาษีสินค้านำเข้ากับประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่เป็นเวลา 90 วัน โดยจะกลับไปใช้ระดับภาษีที่ 10% แต่ขึ้นภาษีกับจีนต่อไปที่ 125% หลังทางจีนตอบโต้ด้วยการเพิ่มภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็น 87%
- หุ้นผู้ส่งออกในญี่ปุ่นปรับขึ้นโดดเด่น เช่น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์
- ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ก็หนุนจากหุ้นผู้ผลิตชิปยักษ์ใหญ๋ อย่าง SK Hynix +11% และ Samsung Electronics +5%
- ตลาดหุ้นไต้หวันก็ปรับเพิ่มขึ้น หนุนจากกลุ่มผู้ผลิตชิปที่ส่งออกไปสหรัฐฯ สัดส่วนสูงอย่าง TSMC +10% Hon Hai Precision +10%
- ประเทศเวียดนามที่เป็นฐานการผลิตของสหรัฐฯ และถูกเรียกเก็บอัตราการภาษีในระดับสูง มีแรงรีบาวด์ +6.5% ช่วงตลาดเปิด เป็นการปรับเพิ่มขึ้นใน 1 วันมากที่สุดตั้งแต่เดือนต.ค. 2001
- หุ้นไทยเปิดตลาดปรับเพิ่มขึ้น +4.5% เป็นการปรับขึ้นใน 1 วันมากที่สุดตั้งแต่เดือนพ.ย. 2020
Related Indices & Funds การเปลี่ยนแปลงเทียบกับวันทำการก่อนหน้า (ข้อมูลตลาดหุ้น วันที่ 10 เมษายน 10.00)
- NIKKEI 225 +8.32%
- KOSPI +5.53%
- TWSE +9.22%
- HSCEI +2.96%
- SET INDEX +4.5%
- VNINDEX +6.65%
Market Outlook
ตลาดหุ้นที่รีบาวด์ขึ้นมาอาจเป็นเพียงระยะสั้น แม้ทรัมป์จะหยุดขึ้นภาษี 90 วัน แต่จากการตอบโต้ไปมาระหว่างสหรัฐฯ กับจีนสะท้อนว่ายังมีความตึงเครียดทางการค้า และมีไม่แน่นอนอย่างมากทั้งในแง่การเจรจาและผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจแต่ละประเทศแตกต่างกัน โดยจากสิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าทรัมป์พร้อมประนีประนอมกับประเทศที่เปิดโต๊ะเจรจา และพร้อมจะตอบโต้กับประเทศที่แข็งกร้าว
ปัจจัยหลักที่ต้องจับตาได้แก่:
- ทิศทางการขึ้นภาษีการค้า ทิศทางการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างสหรัฐฯ กับหลายประเทศที่มีทั้งความรุนแรงเพิ่มขึ้น และเจรจาลดภาษีนำเข้าสินค้า
- ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนผ่านแรงขายในตลาดทั่วโลกและดัชนีความผันผวน VIX ที่ยังทรงตัวในระดับสูงกว่า 50 จุด
- การใช้นโยบายการเงินและการคลัง ในภาวะที่ทุกฝ่ายต่างคาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า นโยบายการเงินและการคลังจะถูกใช้เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ซึ่งแต่ละประเทศมีความสามารถด้านนโยบายเหล่านี้ที่แตกต่างกัน
- ความเสี่ยง stagflation จากต้นทุนการค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ท่ามกลางธนาคารกลางมีความยากลำบากที่มากขึ้นในการปรับนโยบายการเงินที่ต้องสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจและระดับอัตราเงินเฟ้อ
K WEALTH จะติดตามพัฒนาการของปัจจัยเหล่านี้อย่างใกล้ชิด รวมถึงข่าวความเคลื่อนไหวการเจรจาของแต่ละประเทศเพื่อประกอบการพิจารณาให้คำแนะนำการลงทุน
คำแนะนำการลงทุน
-
สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นประเทศเอเชีย
- หากมีสัดส่วนมากกว่า 10% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
- หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 10% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า
- สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นเอเชีย
- แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นในประเทศภูมิภาคเอเชีย และติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้อย่างใกล้ชิด
- เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
- แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
- สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS
หมายเหตุ:
-
ระดับความเสี่ยงกองทุน
- K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
- K-ASIA, K-ASIAX, K-ASIACV-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
-
นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-ASIAX, K-ASIACV-A: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- K-ASIA: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
-
ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
- K-SFPLUS: T+1
- K-FIXEDPLUS-A: T+2
- K-ASIA, K-ASIAX: T+4
- K-ASIACV-A: T+5
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6