ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI สหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. ออกมาที่ 2.4% ต่ำกว่าคาด 2.6% และเดือนก่อนหน้าที่ 2.8%

ประเด็นร้อน: เงินเฟ้อสหรัฐฯ ต่ำกว่าคาด ท่ามกลางสงครามการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI สหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. ออกมาที่ 2.4% ต่ำกว่าคาด 2.6% และเดือนก่อนหน้าที่ 2.8%

กดฟัง
หยุด
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 2.6% และต่ำกว่าเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งอยู่ที่ 2.8% สะท้อนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เริ่มลดลง
  • ถึงแม้ตัวเลข CPI จะต่ำกว่าคาดการณ์ แต่นักลงทุนยังให้ความสำคัญต่อสถานการณ์สงครามการค้าเป็นหลักซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความผัวผวนตามข่าวรายวัน จึงแนะนำชะลอการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ และเน้นกลยุทธ์ “wait and see”

Market Update

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมีนาคมของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.4% (YoY) ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 2.6% (YoY) และต่ำกว่าเดือน ก.พ. ที่ 2.8% (YoY) สะท้อนว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายลง


เช่นเดียวกับดัชนี Core CPI ซึ่งออกมาที่ 2.8% (YoY) ต่ำกว่าคาดที่ 3.0% (YoY) และลดจากเดือน ก.พ. ที่ 3.1% (YoY)


ตัวเลขดังกล่าวที่ออกมาสะท้อนว่าแรงกดดันจากหมวดพลังงานและบริการลดลง และบ่งชี้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรับมือกับสงครามการค้า


Related Indicesการเปลี่ยนแปลงเทียบกับวันทำการก่อนหน้า (ข้อมูล ณ วันที่ 10 เม.ย. 2568)

  • Dow Jones -2.50%
  • S&P500 -3.46%
  • NASDAQ -4.31%

Market Outlook

  • ตัวเลขเงินเฟ้อที่ลดลงต่ำกว่าคาดช่วยลดแรงกดดันต่อการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed และส่งผลให้ตลาดมี Sentiment เชิงบวกต่อทิศทางเศรษฐกิจและสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้น
  • อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังให้ความสำคัญต่อสถานการณ์สงครามการค้าเป็นหลัก โดยแม้ด้านสงครามการค้ากับประเทศอื่นๆ จะมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังเพิ่มขึ้น จึงยังประเมินตลาดหุ้นจะผันผวนสูงตามข่าวการเจรจาทางการค้า นักลงทุนจึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และเน้นกลยุทธ์ “wait and see”

ปัจจัยหลักที่ต้องจับตาได้แก่:


  • ทิศทางการของภาษีนำเข้าสินค้าในช่วง 90 วันข้างหน้า ระหว่างสหรัฐฯ กับเหล่าประเทศคู่ค้า และเจรจาลดภาษีนำเข้าสินค้า
  • ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนผ่านแรงขายในตลาดทั่วโลกและดัชนีความผันผวน VIX ที่ยังทรงตัวในระดับสูงกว่า 50 จุด
  • การใช้นโยบายการเงินและการคลัง ในภาวะที่ทุกฝ่ายต่างคาดว่าเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีสินค้านำเข้า นโยบายการเงินและการคลังจะถูกใช้เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ซึ่งแต่ละประเทศมีความสามารถด้านนโยบายเหล่านี้ที่แตกต่างกัน
  • ความเสี่ยง stagflation จากต้นทุนการค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ท่ามกลางธนาคารกลางมีความยากลำบากที่มากขึ้นในการปรับนโยบายการเงินที่ต้องสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจและระดับอัตราเงินเฟ้อ

K WEALTH จะติดตามพัฒนาการของปัจจัยเหล่านี้อย่างใกล้ชิด รวมถึงข่าวความเคลื่อนไหวการเจรจาของแต่ละประเทศเพื่อประกอบการพิจารณาให้คำแนะนำการลงทุน


คำแนะนำการลงทุน

  • สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐ
    • หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
    • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า

  • สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐ
    • แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นสหรัฐ และติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้อย่างใกล้ชิด
    • เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
    • แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
    • สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS

หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
    • K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
    • K-USA-A, K-US500X-A, K-USXNDQ-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-US500X-A: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
    • K-USA-A, K-USXNDQ-A: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-SFPLUS: T+1
    • K-FIXEDPLUS-A: T+2
    • K-US500X-A, K-USXNDQ-A: T+3
    • K-USA-A: T+4
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6




คำเตือน

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

“ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

K WEALTH

Back to top