-
เศรษฐกิจจีนไตรมาส 1 ปี 2568 ขยายตัว 5.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หลังรัฐบาลใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการใช้จ่ายภาครัฐและโครงการสนับสนุนการบริโภค
-
ตลาดหุ้นจีนยังมีความเสี่ยงด้านการส่งออกในอนาคตและภาวะชะลอตัวจากอัตราภาษีของสหรัฐฯ จึงแนะนำให้พิจารณาชะลอการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน และติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าต่อจากนี้
Market Update
วันที่ 16 เม.ย. เศรษฐกิจจีนไตรมาส 1 ปี 2568 ขยายตัว 5.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับไตรมาสก่อนหน้า แต่ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยการเติบโตในเดือนมีนาคมเป็นแรงหนุนสำคัญ หลังรัฐบาลใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการใช้จ่ายภาครัฐและโครงการสนับสนุนการบริโภค
การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวเด่นชัด ยอดค้าปลีกเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 5.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จาก 4.0% ในเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะสินค้าในโครงการ “trade-in scheme” ของรัฐบาลที่มีเป้าหมายกระตุ้นการเปลี่ยนสินค้าอุปโภคบริโภคให้เป็นของใหม่
การผลิตภาคอุตสาหกรรมแข็งแกร่ง โดยขยายตัว 7.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จาก 5.9% ในเดือนก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อส่งออกที่ฟื้นตัว
การลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวต่อเนื่อง การลงทุนสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 4.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จาก 4.1% สะท้อนถึงการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นภาคธุรกิจในบางกลุ่ม
แม้ตัวเลขรายปีดูแข็งแกร่ง แต่เมื่อพิจารณาแบบปรับฤดูกาลการเติบโต GDP กลับชะลอลงจาก 1.6% เหลือ 1.2% ซึ่งสะท้อนผลกระทบจากกิจกรรมเศรษฐกิจที่ซบเซาในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ โดยมีเพียงเดือนมีนาคมที่ช่วยดึงตัวเลขขึ้น
ทั้งนี้ รัฐบาลจีนได้ประกาศงบประมาณปี 2568 ที่เน้นการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มเติม และธนาคารกลางจีนมีแนวโน้มจะผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะเป็นแรงหนุนสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี
Related Indices & Funds การเปลี่ยนแปลงเทียบกับวันทำการก่อนหน้า (ข้อมูลดัชนี วันที่ 16 เมษายน 2568, 9.52 น.)
- Hang Seng Index -1.98%
- China A50 Index -0.71%
Market Outlook
แม้การเติบโตในไตรมาส 1 จะสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด แต่ความเสี่ยงด้านการส่งออกในอนาคตและภาวะชะลอตัวจากอัตราภาษีของสหรัฐฯ ยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม อย่างไรก็ตาม การใช้นโยบายการคลังเพิ่มเติมจากงบประมาณใหม่ และความเป็นไปได้ในการผ่อนคลายทางการเงินเร็วๆ นี้ จะช่วยประคองเศรษฐกิจจีนให้เติบโตได้ต่อเนื่อง และอาจทำให้ GDP ตลอดปี 2568 ยังคงอยู่เหนือระดับ 5%
คำแนะนำการลงทุน
- สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นจีน
- หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต โดยนำเงินไปพักในกองทุน K-SFPLUS
- หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า
- สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน
- แนะนำชะลอการลงทุนและติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้
- เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WealthPLUS Series เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
- แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
- สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS
หมายเหตุ:
- ระดับความเสี่ยงกองทุน
- K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
- K-CHINA-A(A), K-CHX, K-CCTV-A(A) ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง 100% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยงมากกว่า 90% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-CHINA-A(A), K-CHX, K-CCTV-A(A): ป้องกันความเสี่ยงไม่น้อยกว่า 75% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
- K-SFPLUS: T+1
- K-FIXEDPLUS-A: T+2
- K-CHX: T+3
- K-CHINA-A(A): T+4
- K-CCTV-A(A): T+5
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED: T+6