Moody's ได้คงอันดับเครดิตของประเทศไทยประเภท Senior unsecured bond ที่ Baa1 และเปลี่ยนแนวโน้ม (Outlook) เป็น “Negative” จาก “Stable”

ประเด็นร้อน: Moody‘s ปรับลดมุมมองแนวโน้มของไทยเป็น Negative

Moody's ได้คงอันดับเครดิตของประเทศไทยประเภท Senior unsecured bond ที่ Baa1 และเปลี่ยนแนวโน้ม (Outlook) เป็น “Negative” จาก “Stable”

กดฟัง
หยุด
  • Moody''s ได้คงอันดับเครดิตของประเทศไทยประเภท Senior unsecured bond ที่ Baa1 และเปลี่ยนแนวโน้ม (Outlook) เป็น “Negative” จาก “Stable” เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากขึ้น เช่น มาตรการภาษีสหรัฐฯ และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้
  • เป็นโอกาสลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนแกว่งตัวสูงขึ้นในระยะสั้น พร้อมกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลง ซึ่งส่งผลดีต่อการลงทุนในตราสารหนี้ แต่ควรระมัดระวังหุ้นไทย เนื่องจากความผันผวนในตลาด

Market Update

วันที่ 29 เม.ย. Moody''s ratings คงอันดับเครดิตของประเทศไทยประเภท Senior unsecured bond ที่ Baa1 แต่เปลี่ยนแนวโน้ม (Outlook) เป็น “Negative” จาก “Stable” โดยทั่วไปเป็นการแสดงมุมมองถึงแนวโน้มอันดับเครดิตในอนาคต ดังนั้นการได้ “Negative” แสดงว่ามีแนวโน้มที่อันดับเครดิตอาจถูกปรับลดได้ในอนาคต ถือเป็นสัญญาณเตือนได้แต่ก็อาจจะถูกปรับกลับมาเป็น “Stable” ได้เช่นกัน


สาเหตุที่ปรับแนวโน้มเป็น Negative


  1. ความเสี่ยงเศรษฐกิจและภาคการคลังของไทย (Fiscal Strength) จะอ่อนแอลงจากผลกระทบของมาตรการภาษีสหรัฐฯ
  2. ความไม่แน่นอนว่าหลังจากหมดช่วงพัก 90 วัน สหรัฐฯ จะประกาศภาษีเพิ่มเติมต่อไทยหรือไม่
  3. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังโควิดยังช้า เสี่ยงซ้ำเติมการเติบโตระยะยาว (Potential Growth)
  4. Moody’s ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2568 ของไทยขยายตัวอยู่ที่ 2% จาก 2.9%
  5. เปรียบเทียบมุมมองเครดิต จากบริษัทจัดอันดับชั้นนำ เช่น S&P ยังคงมุมมอง “Stable” และ BBB + เมื่อ Apr-20 ในขณะที่ FITCH ยังคงมุมมอง “Stable” และ BBB + เมื่อ Nov-24

ผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้


อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้อาจปรับตัวสูงขึ้นได้บ้างในระยะสั้น สะท้อนความกังวลของนักลงทุน อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ไทยจะมีจำกัด เนื่องจาก


  1. เป็นการเปลี่ยนแปลงมุมมอง (Outlook) แต่อันดับเครดิตยังคงเดิมที่ระดับ Baa1 ขณะที่ Credit Rating Agency หลักอีก 2 แห่ง คือ S&P และ Fitch ยังคงอันดับเครดิตและมุมมองที่ระดับเดิม คือ BBB+ (Stable)
  2. สัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทยอยู่ในระดับต่ำ (ประมาณ 5% ของตลาดตราสารหนี้ หรือคิดเป็น 9.6% ของตลาดพันธบัตรรัฐบาลไทย เทียบ อินโดนีเซีย 14% และมาเลเซีย 21% ) นอกจากนี้ สภาพคล่องในประเทศยังอยู่ในระดับสูง
  3. นักลงทุนในตลาดจะยังให้น้ำหนักต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้าเป็นสำคัญ

Market Outlook

  • ทาง K Research ประเมินเศรษฐกิจไทยอ่อนแอลงเช่นกัน หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันที่ 28 มี.ค. และประเด็นการขึ้นภาษีศุลกากร ทำให้ปรับลดประมาณการ GDP ปีนี้ลงเหลือ +1.4% จาก +2.4%
  • ยีลด์พันธบัตรรัฐบาลไทยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯ ประกอบกับตลาดคาดว่า กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายช่วงปลายเดือนเมษายน อย่างไรก็ดี ส่วนต่างผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนกับพันธบัตรรัฐบาล (Credit Spread) สำหรับหุ้นกู้อันดับเครดิต BBB ปรับเพิ่มสูงขึ้น

คำแนะนำการลงทุน

โอกาสทยอยสะสมกองทุนตราสารหนี้ แต่ระมัดระวังหุ้นไทย คาดว่าอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ในตลาดมีการแกว่งตัวสูงขึ้นและผันผวนบ้างในช่วงจังหวะแรก ถือเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนกองทุนตราสารหนี้ที่ได้อัตราผลตอบแทนสูงขึ้น (เนื่องจากราคาปรับตัวลง) อีกทั้งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังคงเป็นขาลงในระยะข้างหน้า ซึ่งส่งผลบวกต่อการลงทุนในตราสารหนี้


คำแนะนำกองทุนตราสารหนี้


  • K-SFPLUS พักเงินระยะสั้น 3-6 เดือน เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ผ่านการลงทุนในต่างประเทศ
  • K-FIXEDPLUS ลงทุนอย่างน้อย 1-1.5 ปี กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว ดูเรชั่น 2-4 ปี ที่ลงทุนทั้งในไทยและต่างประเทศ

คำแนะนำกองทุนหุ้นไทย


ยังไม่แนะนำลงทุนในหุ้นไทย เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจยังดูเปราะบาง และศักยภาพการเติบโตยังไม่น่าดึงดูดเท่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค


  • สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนไทย
    • หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
    • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า
  • สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนไทย
    • แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนทองคำ และติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้อย่างใกล้ชิด
    • เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
    • แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
    • สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS
หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
    • K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
    • K-STAR-A, K-VALUE ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
    • K-STAR-A, K-VALUE: ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศ
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-SFPLUS: T+1
    • K-FIXEDPLUS-A, K-GOLD-A: T+2
    • K-STAR-A, K-VALUE: T+3
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6


คำเตือน

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

“ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”

ผู้เขียน

K WEALTH

Back to top