กนง.มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ลดดอกเบี้ย 0.25% จาก 2.00% เป็น 1.75% ตามคาด

ประเด็นร้อน: กนง.ประกาศลดดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 1.75%

กนง.มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ลดดอกเบี้ย 0.25% จาก 2.00% เป็น 1.75% ตามคาด

กดฟัง
หยุด
  • กนง.มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ลดดอกเบี้ย 0.25% จาก 2.00% เป็น 1.75% ตามคาด เนื่องจากความไม่แน่นอนเรื่องนโยบายการค้าจากสหรัฐฯ ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยง และเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย
  • เป็นโอกาสลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ เนื่องจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลงทุนในตราสารหนี้ แต่ควรระมัดระวังหุ้นไทย

Market Update

กนง.มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ลดดอกเบี้ย 0.25% จาก 2.00% สู่ระดับ 1.75% ตามคาด จากความไม่แน่นอนเรื่องนโยบายการค้าจากสหรัฐฯ และการตอบโต้จากประเทศอื่นๆ ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงขาลงจากนโยบายการค้าโลกและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง และเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย กนง. ประเมินเศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก ใน Scenario ที่การเจรจาทางการค้ามีความยืดเยื้อและภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ใกล้เคียงกับอัตราปัจจุบัน คาด GDP ปี 2025 +2.0% และใน Scenario ที่สงครามการค้ารุนแรงมาก คาด GDP จะเติบโตเพียง +1.3%


Related Indices & Funds (ข้อมูลวันที่ 30 เมษายน 2568)


SET Index +0.9%

ตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น จากความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของกนง. และการเจรจาทางการค้า ในขณะที่ไม่ได้กังวลหลัง Moody''s ปรับลด Outlook เป็น Negative ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ เนื่องจากผลการประชุมกนง.เป็นไปตามคาด


คำแนะนำการลงทุน

โอกาสทยอยสะสมกองทุนตราสารหนี้ แต่ระมัดระวังหุ้นไทย คาดว่าอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ในตลาดมีการแกว่งตัวสูงขึ้นและผันผวนบ้างในช่วงจังหวะแรก ถือเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนกองทุนตราสารหนี้ที่ได้อัตราผลตอบแทนสูงขึ้น (เนื่องจากราคาปรับตัวลง) อีกทั้งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังคงเป็นขาลงในระยะข้างหน้า ซึ่งส่งผลบวกต่อการลงทุนในตราสารหนี้


คำแนะนำกองทุนตราสารหนี้
  • K-SFPLUS พักเงินระยะสั้น 3-6 เดือน เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ผ่านการลงทุนในต่างประเทศ
  • K-FIXEDPLUS ลงทุนอย่างน้อย 1-1.5 ปี กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว ดูเรชั่น 2-4 ปี ที่ลงทุนทั้งในไทยและต่างประเทศ
คำแนะนำกองทุนหุ้นไทย

ยังไม่แนะนำลงทุนในหุ้นไทย เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจยังดูเปราะบาง และศักยภาพการเติบโตยังไม่น่าดึงดูดเท่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค


  • สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนไทย
    • หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS-A
    • หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า
  • สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นไทย
    • แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นไทย และติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าของสงครามการค้าในช่วงเวลาต่อจากนี้อย่างใกล้ชิด
    • เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
    • แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
    • สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS

หมายเหตุ:
  • ระดับความเสี่ยงกองทุน
    • K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
    • K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
    • K-STAR-A, K-VALUE ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
  • นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
    • K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
    • K-STAR-A, K-VALUE: ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศ
  • ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
    • K-SFPLUS: T+1
    • K-FIXEDPLUS-A: T+2
    • K-STAR-A, K-VALUE: T+3
    • K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6