-
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาส 1/2025 หดตัว -0.3% ต่อปี ต่ำกว่าคาดที่ -0.2% และเป็นการหดตัวครั้งแรกนับจากปี 2022 จากแรงกดดันการเร่งนำเข้าก่อนขึ้นภาษี ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังแข็งแกร่ง ยอดขายภายในขยายตัว +2.3% แม้ชะลอจาก +3.0% ไตรมาสก่อน
-
สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสถานะในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำ ชะลอการลงทุน และติดตามท่าทีของภาครัฐและ Fed อย่างใกล้ชิด หากมีสัดส่วน >20% แนะนำ “ทยอยขาย” เพื่อลดความเสี่ยง
Market Update
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาส 1/2025 หดตัว -0.3% ต่อปีเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2022 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ -0.2% โดยเป็นผลจากการเร่งนำเข้าสินค้าก่อนการขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งกดดัน GDP อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ภายในประเทศยังคงแข็งแกร่ง สะท้อนผ่านตัวเลขยอดขายภายในประเทศที่ยังขยายตัว +2.3% แม้จะลดลงจาก +3.0% ในไตรมาสก่อน
รายละเอียดสำคัญขององค์ประกอบ GDP ได้แก่:
- การบริโภคภาคเอกชน +1.8% ดีกว่าคาด (ตลาดคาด +1.2%) แม้ชะลอลงจาก 4.0% โดยเฉพาะสินค้าคงทนที่ลดลง -3.4% จากปัจจัยฤดูกาลและการเร่งซื้อก่อนขึ้นภาษี ขณะที่การใช้จ่ายภาคบริการชะลอลงเหลือ +2.4%
- การลงทุนภาคธุรกิจ +9.8% จาก -3.0% ใน Q4/24 นำโดยการลงทุนในอุปกรณ์ +22.5% และทรัพย์สินทางปัญญา +4.1% จากการเร่งสั่งของก่อนการปรับขึ้นภาษี
- การลงทุนภาคอสังหาฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังถูกกดดันจากความสามารถในการซื้ออยู่ท่ามกลางดอกเบี้ยที่ถือว่ายังคงอยู่ในระดับสูงการนำเข้า เร่งตัวขึ้น ส่งผลต่อ GDP ถึง -4.8 จุด กดดันภาพรวม GDP ให้หดตัว
Related Indices & Funds (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 2568)
- Dow Jones +0.35%
- S&P500 +0.15%
- NASDAQ -0.09%
- Bond Yield 2 ปี และ 10 ปี เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
Market Outlook
ตลาดยังมองการหดตัวของ GDP ครั้งนี้ว่าเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว โดยเฉพาะการเร่งนำเข้าก่อนมาตรการภาษีใหม่ ซึ่งอาจสะท้อนการเร่งใช้จ่าย และความต้องการมาใช้ล่วงหน้า และอาจกดดันการเติบโตช่วงครึ่งปีหลัง นักวิเคราะห์ประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสถัดไปมีความเสี่ยงชะลอตัวต่อเนื่องจากการบริโภคและการลงทุนที่อาจลดลงจากความไม่แน่นอนของนโยบาย
ตลาดยังให้ความสำคัญกับ:
- ความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน
- ท่าทีของ Fed ว่าจะมีแนวโน้มดำเนินนโยบายดอกเบี้ยแบบผ่อนคลายมากขึ้นหรือไม่
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือยที่เริ่มอ่อนแรง
คำแนะนำการลงทุน
- สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐ
- หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
- หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำถือเพื่อรอติดตามความคืบหน้าของสงครามการค้า
- สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐ
- แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นสหรัฐ และติดตามท่าทีของภาครัฐและ Fed อย่างใกล้ชิด
- เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
- แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
- สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS
หมายเหตุ:
- ระดับความเสี่ยงกองทุน
- K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
- K-USA-A, K-US500X-A, K-USXNDQ-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-US500X-A: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- K-USA-A, K-USXNDQ-A: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
- ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
- K-SFPLUS: T+1
- K-FIXEDPLUS-A: T+2
- K-US500X-A, K-USXNDQ-A: T+3
- K-USA-A: T+4
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6