-
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงดอกเบี้ยที่ 0.5% ตามคาด พร้อมส่งสัญญาณผ่อนคลายมากขึ้น โดยปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2025 เหลือ 0.5% และ Core CPI เหลือ 2.2% จากแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอและเงินเฟ้อลดลง
-
สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสถานะในกองทุนหุ้นญี่ปุ่น แนะนำ ชะลอการลงทุน ติดตามท่าทีของทิศทางสงครามการค้าและท่าทีการดำเนินโยบายการเงินของ BOJ หากมีสัดส่วน >20% แนะนำ “ทยอยขาย” เพื่อลดความเสี่ยง
Market Update
วันที่ 1 พฤษภาคม ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ตามคาดการณ์ โดยมีสัญญาณ "ผ่อนคลายทางนโยบายการเงินมากขึ้น" (Dovish)โดย BOJ ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ญี่ปุ่น ปี 2025 เหลือ 0.5% (จากเดิม 1.1%) และ Core CPI ปี 2025 เหลือ 2.2% (จากเดิม 2.4%) โดยระบุว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้ม "ปรับตัวลดลง" จากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวในอนาคต
อย่างไรก็ตาม BOJ มีการเพิ่มถ้อยคำใหม่ว่า “ตามพัฒนาการของเศรษฐกิจและราคา” ซึ่งสะท้อนท่าทีระมัดระวังมากขึ้น ขณะเดียวกัน BOJ ก็ยอมรับว่า "ความไม่แน่นอนยังอยู่ในระดับสูงมาก" โดยเฉพาะผลกระทบจากนโยบายภาษีสหรัฐฯ ที่ยังไม่สามารถประเมินผลลัพธ์ได้ชัดเจนในระยะใกล้
ผู้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น นาย Kazuo Ueda ย้ำในงานแถลงข่าวว่า“ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อใด” “ช่วงหลังจากครบกำหนด 90 วัน ของภาษีตอบโต้ในเดือนกรกฎาคมอาจทำให้ความไม่แน่นอนลดลง แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะชี้ว่า BOJ จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม หรือแม้แต่กันยายนหรือตุลาคม”
Related Indices & Funds (ข้อมูลวันที่ 2 พฤษภาคม 2025 เวลา 8.50 น.)
- Nikkei 225: 36,705.50 +0.70%
- TOPIX: 2,692.07 +0.45%
Market Outlook
ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังอยู่ในโหมด Wait and See แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเร่งตัวขึ้นช่วงต้นปีจากนโยบายสนับสนุนด้านการศึกษาและพลังงานที่หมดอายุ แต่ BOJ ยังคงระมัดระวังสูงในการขึ้นดอกเบี้ย โดยรอดูผลกระทบของมาตรการภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ที่อาจกดดันภาคการผลิตและการส่งออก ขณะเดียวกัน BOJ ยืนยันว่าการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไปจะพิจารณาจาก “ข้อมูลเศรษฐกิจจริง” เป็นหลัก โดยเฉพาะหลังครบระยะเวลา 90 วันของมาตรการภาษี (กรกฎาคม 2025) ซึ่งอาจเริ่มเห็นผลกระทบชัดเจนขึ้นจากภาคต่างประเทศ ทำให้มุมมองการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นยังคงอยู่ในสถานะ Neutral
คำแนะนำการลงทุน
- สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นญี่ปุ่น
- หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
- หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำถือต่อ รอจังหวะลงทุน
- สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นญี่ปุ่น
- สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสถานะในกองทุนหุ้นญี่ปุ่น แนะนำชะลอการลงทุน ติดตามท่าทีของทิศทางสงครามการค้าและท่าทีการดำเนินโยบายการเงินของ BOJ
- เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
- แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
- สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS
หมายเหตุ:
- ระดับความเสี่ยงกองทุน
- K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
- K-JPX-A, K-JP-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- K-JPX-A, K-JP-A: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
- ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
- K-SFPLUS: T+1
- K-FIXEDPLUS-A: T+2
- K-JPX-A: T+3
- K-JP-A: T+4
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6