การวางแผนการเงินสำหรับเจ้าของกิจการ ไม่ได้หมายถึงการบริหารงบดุลและกระแสเงินสดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่ไม่แน่นอน เจ้าของกิจการมักทุ่มเททั้งเวลาและทรัพยากรเพื่อสร้างกิจการให้เติบโต แต่หลายคนกลับมองข้ามการสร้างระบบป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเอง
ความสำคัญของการวางแผนการเงินสำหรับเจ้าของกิจการ
ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทยระบุว่า มีเจ้าของธุรกิจ SME เพียง 63% เท่านั้นที่มีแผนรองรับสำหรับธุรกิจหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน นั่นหมายความว่ายังมีเจ้าของธุรกิจอีกกว่า 37% ที่ไม่มีแผนป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ดังนั้น หากเจ้าของกิจการประสบปัญหาสุขภาพหรือเสียชีวิตกะทันหัน อาจทำให้ธุรกิจต้องปิดตัวลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อครอบครัวและพนักงาน
การสร้างหลักประกันสำหรับเจ้าของกิจการจึงไม่ใช่แค่เรื่องการดูแลตัวเอง แต่เป็นการรับผิดชอบต่ออนาคตของทั้งธุรกิจ ครอบครัว และพนักงานทุกคน
ชีวิตที่เปลี่ยนไปเมื่อขาดเสาหลัก
คุณธนา อายุ 45 ปี เจ้าของธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดกลางที่ประสบความสำเร็จ มีพนักงานกว่า 30 คน และมีรายได้ปีละกว่า 50 ล้านบาท ธุรกิจกำลังเติบโตและมีแผนจะขยายสาขาเพิ่มในปีหน้า
คุณธนาเป็นทั้งผู้บริหารหลักและผู้มีความสัมพันธ์กับคู่ค้าสำคัญทั้งในและต่างประเทศ แม้ธุรกิจจะเติบโต แต่ยังมีภาระเงินกู้ธนาคารอีกกว่า 15 ล้านบาทที่ใช้ลงทุนในการขยายกิจการและนำเข้าสินค้า โดยคุณธนาเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ด้วยทรัพย์สินส่วนตัว
เหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเมื่อคุณธนาประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่งผลให้มีอาการอัมพาตครึ่งล่างและไม่สามารถกลับมาทำงานได้อย่างเต็มที่อีกต่อไป แพทย์คาดว่าต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานกว่า 2 ปี และอาจไม่สามารถกลับมาทำงานในรูปแบบเดิมได้ ภรรยาและลูกสาววัย 15 ปีต้องรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน
ผลกระทบที่ตามมา
- ค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก การรักษาและฟื้นฟูในระยะยาวทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า 2 ล้านบาทในปีแรก
- ขาดผู้บริหารหลัก คุณธนาไม่สามารถเข้าไปบริหารงานได้ การตัดสินใจสำคัญต่างๆ หยุดชะงัก
- ขาดสภาพคล่อง ต้องจ่ายเงินเดือนผู้บริหารที่จ้างมาทำงานแทนในขณะที่คุณธนายังเป็นเจ้าของกิจการ
- การเจรจากับคู่ค้าล่าช้า คู่ค้าต่างประเทศซึ่งมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับคุณธนาชะลอการสั่งซื้อ เนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในทีมบริหารชุดใหม่
- เจ้าหนี้เริ่มกังวล ธนาคารและเจ้าหนี้การค้าเริ่มกังวลถึงความสามารถในการชำระหนี้ และเริ่มเข้มงวดกับเงื่อนไขต่างๆ มากขึ้น
- รายได้ลดลง ค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น แต่รายได้กลับลดลงเนื่องจากไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ภายในเวลาเพียง 1 ปี ธุรกิจของคุณธนาประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง บางสาขาต้องปิดตัวลง พนักงานกว่า 15 คนต้องถูกให้ออก และครอบครัวต้องนำเงินเก็บมาใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและดำรงชีพ ทั้งยังเริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้กับธนาคาร สร้างความกังวลต่ออนาคตของทั้งธุรกิจและทรัพย์สินส่วนตัว
หากคุณธนาได้วางแผนหลักประกันไว้ล่วงหน้า สถานการณ์อาจแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง เงินก้อนจากความคุ้มครองทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงสามารถนำมาเป็นค่ารักษาพยาบาลและชดเชยรายได้ที่หายไป ในขณะที่ธุรกิจมีเวลาปรับตัวหรือจ้างผู้บริหารมืออาชีพมาดูแลแทน เงินจากกรมธรรม์ยังช่วยให้ธุรกิจมีสภาพคล่องเพียงพอและลดความกังวลของเจ้าหนี้ลงได้
ทำไมต้องสร้างหลักประกัน
สำหรับเจ้าของกิจการ การสร้างหลักประกันมีความสำคัญมากกว่าคนทั่วไป ด้วยเหตุผลสำคัญดังนี้
-
ป้องกันภาระหนี้สินตกไปยังครอบครัว
ธุรกิจส่วนใหญ่โดยเฉพาะ SME มักมีภาระหนี้สินทั้งจากการลงทุนและเงินทุนหมุนเวียน โดยเจ้าของกิจการมักต้องค้ำประกันด้วยทรัพย์สินส่วนตัว หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ภาระหนี้เหล่านี้จะตกไปยังครอบครัวทันที ประกันชีวิตที่มีทุนประกันเพียงพอจะช่วยชำระหนี้ก้อนใหญ่ได้ ทำให้ครอบครัวไม่ต้องกังวลเรื่องการสูญเสียทรัพย์สินหรือมีภาระผูกพันทางการเงินในระยะยาว
-
สร้างความมั่นคงทางการเงินให้คนที่เรารัก
เจ้าของกิจการมักเป็นผู้มีรายได้หลักของครอบครัว การจากไปอย่างกะทันหันหมายถึงการสูญเสียแหล่งรายได้สำคัญ ประกันชีวิตจะช่วยทดแทนรายได้ที่หายไป ทำให้คุณภาพชีวิตของครอบครัวไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองสูงช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินให้คนที่เรารักได้
-
รับมือกับค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ธุรกิจอาจต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ไม่คาดคิด เช่น การขยายกิจการ การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ หรือการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด การมีเงินก้อนจากกรมธรรม์จะช่วยเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจในยามจำเป็น
-
จ่ายเบี้ยน้อย แต่คุ้มครองมาก
ประกันชีวิตมีจุดเด่นตรงที่เบี้ยประกันต่ำกว่าทุนประกันมาก ทำให้เจ้าของกิจการสามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดสรรเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในธุรกิจ แต่ยังคงได้รับความคุ้มครองในวงเงินที่สูงเพียงพอสำหรับการปกป้องธุรกิจและครอบครัว
ทางเลือกการสร้างหลักประกัน: ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
K WEALTH ขอแนะนำประกันชีวิตแบบตลอดชีพที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของกิจการโดยเฉพาะ
ประกันชีวิตพรีเมียร์ เลกาซี่ 99/5, 99/10, 99/99
จุดเด่น
- ความคุ้มครองชีวิตสูงเมื่อเทียบกับเบี้ยที่จ่าย
- เลือกระยะเวลาจ่ายเบี้ยประกันภัยได้ 5 ปี 10 ปี และถึงอายุ 99 ปี
- คุ้มครองตลอดชีพ ถึงอายุครบ 99 ปี
- ส่วนลดเบี้ยอัตราพิเศษเมื่อเทียบกับแบบประกันตลอดชีพปกติสำหรับลูกค้าที่มีสินทรัพย์รวม (AUM) มากกว่า 10 ลบ.
- เบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด
ประกันชีวิตพรีเมียร์ เลกาซี่ 99/5
- จ่ายเบี้ยสั้นเพียง 5 ปี แต่ได้รับความคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี
- เหมาะกับเจ้าของกิจการที่มีทรัพย์สินก้อนโตที่พร้อมแบ่งมาเป็นเบี้ยประกันได้ทันที หรือผู้ที่มีอายุมากและต้องการจ่ายเบี้ยในระยะสั้น
ประกันชีวิตพรีเมียร์ เลกาซี่ 99/10
- จ่ายเบี้ย 10 ปี แต่ได้รับความคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี
- จ่ายเบี้ยต่อปีน้อยกว่าแบบประกัน 99/5 ด้วยทุนประกันที่เท่ากัน
- เหมาะกับเจ้าของกิจการที่ต้องการความคุ้มครองสูง และสามารถจ่ายเบี้ยได้นานขึ้น
ประกันชีวิตพรีเมียร์ เลกาซี่ 99/99
- จ่ายเบี้ยถึงอายุ 99 ปี ได้รับความคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี
- จ่ายเบี้ยรายปีน้อยกว่าแบบประกัน 99/5 และ 99/10
- เหมาะกับเจ้าของกิจการที่ต้องการความคุ้มครองสูง และทยอยจ่ายเบี้ยได้ตลอดชีวิต
การวางแผนหลักประกันสำหรับเจ้าของกิจการเพื่อการคุ้มครองหนี้สินธุรกิจและการส่งต่อกิจการ
เจ้าของกิจการควรพิจารณาจำนวนทุนประกันให้สอดคล้องกับภาระหนี้สินและมูลค่าของกิจการ โดยทั่วไปควรมีทุนประกันอย่างน้อยเท่ากับ
- ภาระหนี้สินทั้งหมดของธุรกิจและส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- เงินทุนสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 6-12 เดือน
- มูลค่าที่ต้องการส่งมอบให้ทายาทหรือครอบครัว
การมีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่เหมาะสมจะช่วยให้
- ธุรกิจมีเวลามากขึ้นในการปรับตัวหรือหาผู้สืบทอดที่เหมาะสม
- ทายาทมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจต่อหรือขายกิจการอย่างมีมูลค่า
- หุ้นส่วนหรือผู้ร่วมธุรกิจสามารถซื้อหุ้นจากทายาทได้ในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสม
นอกจากนี้ การนำกรมธรรม์ประกันชีวิตมาเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนสืบทอดธุรกิจจะช่วยให้การส่งต่อกิจการเป็นไปอย่างราบรื่น ลดความขัดแย้งระหว่างทายาท และรักษามูลค่าของธุรกิจไว้ได้ในระยะยาว
สำหรับเจ้าของกิจการ การวางแผนหลักประกันไม่ใช่เรื่องที่ควรรอให้ธุรกิจประสบความสำเร็จก่อนแล้วค่อยเริ่มต้น แต่ควรเริ่มตั้งแต่วันนี้ เนื่องจาก
- เบี้ยประกันจะยิ่งถูกลงหากเริ่มทำประกันตั้งแต่อายุน้อย
- คุณสมบัติในการทำประกันมีความยืดหยุ่นมากกว่าสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี
- ยิ่งเริ่มเร็ว การสะสมมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ยิ่งมากขึ้นตามเวลา
- ให้ความคุ้มครองทันทีหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน โดยไม่ต้องรอให้ธุรกิจเติบโตถึงจุดหนึ่ง
ประโยชน์ที่คุณและครอบครัวจะได้รับในระยะยาว
การวางแผนหลักประกันอย่างรอบคอบจะช่วยให้เจ้าของกิจการได้รับประโยชน์ในหลายมิติ ได้แก่
-
ความมั่นคงทางการเงินสำหรับครอบครัว แม้คุณจะไม่อยู่ ครอบครัวยังคงมีความมั่นคงทางการเงิน
-
ความต่อเนื่องของธุรกิจ กิจการสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่ต้องปิดตัวหรือขายในราคาถูกเพื่อชำระหนี้
-
การส่งต่อมรดกอย่างมีประสิทธิภาพ ทรัพย์สินและความมั่งคั่งถูกส่งต่อไปยังทายาทอย่างมีแบบแผน ลดภาระภาษีและความยุ่งยากในการจัดการมรดก
-
ความอุ่นใจในการดำเนินธุรกิจ คุณสามารถมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจได้อย่างเต็มที่ โดยมั่นใจว่ามีแผนรองรับความเสี่ยงไว้อย่างครบถ้วนแล้ว
ในฐานะเจ้าของกิจการ คุณไม่เพียงรับผิดชอบต่อความสำเร็จของธุรกิจในวันนี้ แต่ยังต้องวางแผนเพื่ออนาคตที่มั่นคงของทุกคนที่พึ่งพาคุณ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว พนักงาน หรือพันธมิตรทางธุรกิจ การเลือกประกันชีวิตที่เหมาะสมเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจและทุกคนในครอบครัว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
เมืองไทยประกันชีวิต
ใ