-
สหรัฐฯ–อังกฤษตกลงลดภาษีนำเข้ารถยนต์ ยกเลิกภาษีเหล็ก–อะลูมิเนียม และเปิดตลาดสินค้าเกษตร สอดรับนโยบาย “ภาษีเฉพาะประเทศ” ของทรัมป์หลังเลิกใช้ระบบ MFN.
-
ความคืบหน้านี้ ถือเป็นบวกระยะสั้นต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ เหล็ก โลหะ และเกษตร แต่ยังมีความไม่แน่นอนระยะกลางถึงยาว โดยเฉพาะต่อเอเชียตะวันออกที่พึ่งการส่งออกไปสหรัฐฯ สูงสัญญาณเชิงบวกระยะสั้นสำหรับสินทรัพย์เสี่ยง แต่ในภาพรวมยังคงมี ความไม่แน่นอนระยะกลางถึงยาว สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ แนะนำรอดูสถานการณ์ แต่ไม่ควรมีสัดส่วนมากกว่า 20%
Market Update
ข้อตกลงการค้าเบื้องต้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรที่เพิ่งประกาศเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2025 กลายเป็นประเด็นร้อนในแวดวงเศรษฐกิจและการเมืองทั่วโลก แม้จะถูกนำเสนอในเชิงบวกโดยทั้งสองฝ่ายว่าเป็น “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์” แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายละเอียดกลับเผยให้เห็นแรงจูงใจทางการเมืองของสหรัฐฯ เป็นหลักมากกว่าผลประโยชน์เชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ประเด็นหลักของข้อตกลง ได้แก่:
ลดภาษีนำเข้า รถยนต์จากอังกฤษเข้าสหรัฐฯ จาก 25% เหลือ 10% สำหรับไม่เกิน 100,000 คันต่อปี ยกเลิกภาษี เหล็ก อะลูมิเนียม และชิ้นส่วนเครื่องบินของอังกฤษ ผ่อนปรนข้อจำกัดทางการเกษตร โดยสหรัฐฯ ได้สิทธิ์ในการส่งออกเนื้อวัว เอทานอล และสินค้าเกษตรอื่น ๆ เข้าสู่ตลาดอังกฤษ
แต่ยังคง ภาษีพื้นฐาน (baseline tariff) ที่ 10% สำหรับสินค้านำเข้าทั่วไปจากประเทศอื่น ๆ ที่ยังไม่มีข้อตกลงเฉพาะ ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงหนึ่งเดือนหลัง “Liberation Day” ซึ่งรัฐบาลทรัมป์ประกาศแนวนโยบายการค้าฉบับใหม่ โดยจะเลิกใช้ระบบภาษีแบบเดียวกันกับทุกประเทศ (most favored nation) แล้วหันมาใช้ “ภาษีเฉพาะประเทศ (country-specific rates)” ตามดุลการค้าระหว่างกัน
Related Indices & Funds (ข้อมูล ณ วันที่ 8 พ.ค. 2568)
- S&P 500: +0.58%
- NASDAQ Composite: +1.07%
- Dow Jones Industrial Average: +0.62%
Market Outlook
เรามองดีลนี้ว่าเป็น ต้นแบบสำหรับดีลอื่นในอนาคต โดยเฉพาะกับจีน ซึ่งจะเจรจาในสัปดาห์นี้ มีโอกาสสูงที่ทั้งสองฝ่ายจะใช้แนวทางผ่อนปรนบางส่วน โดยไม่ยกเลิกภาษีทั้งหมดทันที ทั้งยังมีการส่งสัญญาณว่า “ประเทศที่ไม่เจรจาอาจต้องรับภาษีที่สูงขึ้น” ซึ่งส่อเค้าความขัดแย้งในอนาคตกับ EU ที่เตรียมมาตรการตอบโต้หากการเจรจาล้มเหลว
ความคืบหน้านี้ถือเป็น สัญญาณเชิงบวกระยะสั้น สำหรับสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ เหล็ก โลหะ และเกษตรระหว่างสองประเทศ แต่ในภาพรวมยังคงมีความไม่แน่นอนระยะกลางถึงยาว สำหรับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีการพึ่งพาการส่งออกไปสหรัฐฯ สูง
คำแนะนำการลงทุน
- สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐ
- หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
- หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำถือเพื่อรอติดตามพัฒนาการในระยะสั้น
- สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐ
- แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นสหรัฐ และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
- เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
- แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
- สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS
หมายเหตุ:
- ระดับความเสี่ยงกองทุน
- K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
- K-USA-A, K-US500X-A, K-USXNDQ-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-US500X-A: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- K-USA-A, K-USXNDQ-A: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
- ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
- K-SFPLUS: T+1
- K-FIXEDPLUS-A: T+2
- K-US500X-A, K-USXNDQ-A: T+3
- K-USA-A: T+4
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6