-
สหรัฐฯ และจีนประกาศข้อตกลงลดภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันเป็นเวลา 90 วัน โดยสหรัฐฯ จะลดภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนจาก 145% เหลือ 30% ขณะที่จีนจะลดภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ จาก 125% เหลือ 10%
-
การบรรลุข้อตกลงลดภาษีระหว่างสหรัฐฯ และจีนส่งผลให้ความตึงเครียดทางการค้าลดลงและเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อเงินเฟ้อและเศรษฐกิจจากต้นทุนที่สูงขึ้นยังคงเป็นปัจจัยที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิด
-
การลดภาษี หนุนบรรยากาศลงทุนจีน แม้ยังเผชิญแรงกดดันจากอสังหาฯ และอุปสงค์ในประเทศ แต่การเจรจากับสหรัฐฯ เงินหยวนแข็งค่า และการยกเลิกควบคุมแร่หายาก ล้วนหนุนหุ้นเทคโนโลยี ขณะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจช่วยประคองตลาดระยะสั้น ท่ามกลางความผันผวนที่ยังสูง
-
ทรัมป์ลงนาม Executive order ลดราคายา โดยระบุว่าราคายาในสหรัฐฯ อาจลดลงได้ถึง 30–80% โดยคำสั่งนี้คาดว่าจะมุ่งเน้นไปที่โครงการประกันสุขภาพ Medicare และ Medicaid ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้คิดเป็น 40% ของยอดขายยาในสหรัฐฯText
-
ประเมินกองทุน K-GHEALTH ได้รับผลกระทบจำกัด เนื่องจากกองทุนกระจายลงทุนในหุ้น Healthcare หลายกลุ่ม แนะนำทยอยสะสม แต่ไม่ควรมีสัดส่วนมากกว่า 20%
I: Market Update “สหรัฐฯ-จีนบรรลุข้อตกลงลดภาษี”
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นแรงในวันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม 2568 นำโดยดัชนี Nasdaq ที่พุ่งขึ้น +4.3% ปิดที่ 18,708.34 จุด หลังสหรัฐฯ และจีนประกาศข้อตกลงลดภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าและส่งเสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ข้อตกลงดังกล่าวประกาศหลังการเจรจาระดับสูงระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศในสวิตเซอร์แลนด์ โดยสหรัฐฯ จะลดภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนจาก 145% เหลือ 30% ขณะที่จีนจะลดภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ จาก 125% เหลือ 10%
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีได้รับแรงหนุนอย่างมาก โดยเฉพาะหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ เช่น Apple, Nvidia, Tesla และ Amazon ที่ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น
Related Indices & Funds (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2568)
- NASDAQ +4.4% ปิดที่ 18,708.34 จุด
- S&P 500 +3.3% ปิดที่ 5,844.19 จุด
- DOW JONES +2.8% ปิดที่ 42,410.10 จุด
- VIX -9.8% ปิดที่ 19.19 จุด
Related Indices & Funds (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 เวลา 9.13 น.)
- China A50: +0.19% ที่ 13,552 จุด
- CSI300: +0.03% ที่ 3,891 จุด
- Hang Seng: -1.36% ที่ 23,234 จุด
Market Outlook
การบรรลุข้อตกลงลดภาษีระหว่างสหรัฐฯ และจีนช่วยคลายความตึงเครียดทางการค้าและส่งเสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อเงินเฟ้อ และเศรษฐกิจจากต้นทุนที่สูงขึ้น ยังคงมีอยู่ปัจจัยที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่:
- ตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดแนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางนโยบายดอกเบี้ยของเฟด
- ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการเงินในระยะถัดไป
การลดภาษีครั้งนี้ถือเป็นสัญญาณเชิงบวกที่ช่วยหนุนบรรยากาศการลงทุนในจีน แม้เศรษฐกิจภายในยังเผชิญแรงกดดันจากภาคอสังหาริมทรัพย์และอุปสงค์ในประเทศ แต่การเปิดช่องเจรจากับสหรัฐฯ และการแข็งค่าของเงินหยวน รวมถึงการยกเลิกมาตรการควบคุมแร่หายาก ล้วนเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางการจีนที่คาดว่าจะมีเพิ่มเติม อาจช่วยประคองตลาดในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ระดับความผันผวนยังสูง นักลงทุนควรรอความชัดเจนเพิ่มเติมจากพัฒนาการของการเจรจาระหว่างสองประเทศ
คำแนะนำการลงทุนกองทุนหุ้นสหรัฐ
- สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐ
- หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
- หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำถือเพื่อรอติดตามพัฒนาการในระยะสั้น
- สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐ
- แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นสหรัฐ และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
- เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
- แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
- สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS
คำแนะนำการลงทุนกองทุนหุ้นจีน
- สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นจีน
- หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
- หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำถือเพื่อรอติดตามพัฒนาการในระยะสั้น
- สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน
- แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นจีน และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
- เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
- แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
- สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS
II: Market Update “ทรัมป์ลงนาม Executive order ลดราคายา”
ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2568 ปธน.ทรัมป์ยืนยันจะลงนาม Executive order เพื่อใช้โมเดล “Most-Favored-Nation (MFN)” ซึ่งจะปรับราคายาในสหรัฐฯ ให้เทียบเคียงกับราคาต่ำสุดในประเทศอื่นๆ เนื่องจากทรัมป์มองว่าสหรัฐฯ จ่ายค่ายาแพงที่สุดในโลก
- จากคำกล่าวของทรัมป์ระบุว่าราคายาในสหรัฐฯ อาจลดลงได้ถึง 30–80% โดยคำสั่งนี้คาดว่าจะมุ่งเน้นไปที่โครงการประกันสุขภาพ Medicare และ Medicaid ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้คิดเป็น 40% ของยอดขายยาในสหรัฐฯ
- ส่งผลให้หุ้นบริษัทยาปรับลดลงในช่วงสั้น อย่างไรก็ตามหุ้นกลุ่ม Healthcare โดยรวมปิดตลาดปรับเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตลาดให้น้ำหนักกับข่าวการเจรจาการค้ามากกว่า
Related Indices & Funds (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2568)
- XLV +2.47%
- MSCI World Healthcare +1.36%
Market Outlook
- ประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เรื่องการลดราคายาเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง โดยในสมัยของปธน.โจ ไบเดน ได้มีการต่อรองเรื่องการลดราคายาแล้วภายใต้กฎหมาย Inflation reduction Act
- การลดราคาคาดว่าจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าจะใช้เวลา 3 ปี ในการต่อรองกับบริษัทยา และจะเริ่มจากยาที่อยู่ใน Inflation Reduction Act ก่อน
- ประเมินกองทุน K-GHEALTH ได้รับผลกระทบจำกัด เนื่องจากกองทุนกระจายลงทุนในหุ้น Healthcare หลายกลุ่ม ทั้ง Biotechnology, Medical devices, Medical services และ Underweight กลุ่ม Pharma
คำแนะนำการลงทุนกองทุนหุ้น Healthcare
- สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้น Healthcare/li>
- หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
- หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำ “ทยอยสะสม” แต่ไม่ควรสูงกว่า 20%
- สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้น Healthcare
- สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้น Healthcare แนะนำทยอยสะสม แต่ไม่ควรมีสัดส่วนมากกว่า 20%
- เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
- แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
- สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS
หมายเหตุ:
- ระดับความเสี่ยงกองทุน
- K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
- K-USA-A, K-US500X-A, K-USXNDQ-A, K-GHEALTH, K-CHINA-A, K-CHX ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-US500X-A: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- K-USA-A, K-USXNDQ-A, K-GHEALTH, K-CHINA-A, K-CHX: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
- ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
- K-SFPLUS: T+1
- K-FIXEDPLUS-A: T+2
- K-US500X-A, K-USXNDQ-A, K-CHX: T+3
- K-USA-A, K-GHEALTH, K-CHINA-A: T+4
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6