-
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐฯ เม.ย. เพิ่มขึ้น +2.3% YoY และ +0.2% MoM ต่ำกว่าคาด เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ที่ +2.8% YoY และ +0.2% MoM สะท้อนแรงกดดันเงินเฟ้อต่ำกว่าคาดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
-
เงินเฟ้อที่ออกมาต่ำกว่าคาด หนุนคาดการณ์ Fed ลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้งปีนี้ ขณะข้อตกลง 90 วันช่วยผ่อนคลายสงครามการค้า แต่ความต้องการนำเข้าสูงในช่วงเติมสต็อกอาจกระตุ้นเงินเฟ้อระยะต่อไป
Market Update
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น +2.3% (YoY) ต่ำกว่าคาดที่ +2.4% และเพิ่มขึ้น +0.2% (MoM) ซึ่งต่ำกว่าคาดที่ +0.3% เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) อยู่ที่ +2.8% (YoY) และ +0.2% (MoM) สะท้อนแรงกดดันด้านราคาที่ต่ำกว่าคาดเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน
- ราคาสินค้าในหมวดที่ได้รับผลกระทบจากภาษีนำเข้า เช่น รถยนต์และเสื้อผ้า ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากอย่างที่คาดไว้ แสดงให้เห็นว่าผู้นำเข้าและผู้ค้าปลีกยังคงแบกรับต้นทุนไว้เอง และสินค้าบางส่วนยังเป็นสินค้าคงคลังก่อนการขึ้นภาษี
- ด้านหมวดบริการ เช่น ท่องเที่ยวและนันทนาการยังคงอ่อนแอ สะท้อนการบริโภคที่ชะลอลง โดยเฉพาะกลุ่มฟุ่มเฟือย
Related Indices & Funds (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พ.ค. 2568)
- S&P 500 ปรับขึ้น +0.72% ปิดที่ 5,886.55 จุด ลบขาดทุนสะสมของปี 2025 ได้สำเร็จ
- NASDAQ เพิ่มขึ้น +1.61% ปิดที่ 19,010.08 จุด นำโดยหุ้นกลุ่ม AI และเทคโนโลยี เช่น Nvidia (+5.6%), Palantir (+8.1%) และ Super Micro Computer (+16%)
- Dow Jones ลดลง -0.64% ปิดที่ 42,140.43 จุด จากแรงกดดันของหุ้น UnitedHealth ที่ร่วง -17.8% หลัง CEO ลาออกและบริษัทระงับการคาดการณ์ผลประกอบการปีนี้
Market Outlook
ตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาต่ำกว่าคาดช่วยลดแรงกดดันต่อการตัดสินใจของ Fed โดยตลาดคาดการณ์ Fed ลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้งภายในปีนี้ แม้สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนจะมีการผ่อนคลายชั่วคราวจากข้อตกลง 90 วัน ที่ลดอัตราภาษีรวมจาก 145% เหลือ 30% แต่หากเกิดคอขวดจากการนำเข้าสินค้าในช่วงเร่งเติมสต็อก ก็อาจส่งผลต่อเงินเฟ้อในระยะถัดไป
ปัจจัยหลักที่ต้องติดตาม
- ความคืบหน้าของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และแนวโน้มการขยายเวลาข้อตกลง 90 วัน
- ความสามารถของบริษัทในการส่งผ่านต้นทุนภาษีไปยังผู้บริโภค ท่ามกลางอุปสงค์ที่เริ่มอ่อนแรง
คำแนะนำการลงทุน
- สำหรับนักลงทุนที่ถือกองทุนหุ้นสหรัฐ
- หากมีสัดส่วนมากกว่า 20% แนะนำขายเพื่อลดความผันผวนของพอร์ต และนำเงินไปพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น K-SFPLUS
- หากมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% แนะนำถือเพื่อรอติดตามพัฒนาการในระยะสั้น
- สำหรับนักลงทุนทั่วไป และผู้ที่ไม่มีสถานะการลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐ
- แนะนำชะลอการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นสหรัฐ และแนะนำติดตามความคืบหน้านโยบายภาษีระหว่าง สหรัฐฯ-จีน อย่างใกล้ชิด
- เงินลงทุนระยะยาว เน้นถือการลงทุนแบบ Core Port อย่างกองทุนผสม K-WEALTHPLUS เช่น K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ฯลฯ ที่มีผู้จัดการกองทุนดูแลสัดส่วนเงินลงทุน ซึ่งได้ทยอยลดความเสี่ยงไปบ้างแล้ว
- แนะนำเพิ่มการลงทุนใน K-FIXEDPLUS เนื่องจากตราสารหนี้ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอน รวมทั้งแนวโน้มดอกเบี้ยยังลงต่อ
- สำหรับการพักเงินเพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนกลับเข้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง แนะนำพักเงินใน K-SFPLUS
หมายเหตุ:
- ระดับความเสี่ยงกองทุน
- K-SFPLUS, K-FIXEDPLUS-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4
- K-WPSPEEDUP, K-WPBALANCED ความเสี่ยงกองทุนระดับ 5
- K-USA-A, K-US500X-A, K-USXNDQ-A ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6
- นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
- K-SFPLUS: ป้องกันความเสี่ยง100%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-FIXEDPLUS-A: ป้องกันความเสี่ยง มากกว่า 90%ของเงินลงทุนต่างประเทศ
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP, K-US500X-A: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- K-USA-A, K-USXNDQ-A: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
- ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+6 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 6 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+6) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันอังคารของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
- K-SFPLUS: T+1
- K-FIXEDPLUS-A: T+2
- K-US500X-A, K-USXNDQ-A: T+3
- K-USA-A: T+4
- K-WPBALANCED, K-WPSPEEDUP: T+6