9 ก.ค. นี้รู้กัน: “ภาษีทรัมป์” รอบใหม่ กับอนาคตเศรษฐกิจโลก

กดฟัง
หยุด
  • วันที่ 9 กรกฎาคม 2025 คือเส้นตายสำคัญที่โลกจับตานโยบายภาษีนำเข้าสหรัฐฯ หากไร้ข้อตกลงที่ชัดเจน อาจนำไปสู่การขึ้นภาษีครั้งใหญ่ กระทบเงินเฟ้อและ GDP ทั่วโลก
  • ทีม CIO ของ K WEALTH มองว่า “ข้อตกลงบางส่วน” ซึ่งเป็นกรณี Base Case มีโอกาสเกิดมากที่สุด ส่งผลจำกัดต่อเศรษฐกิจและตลาด แต่ยังต้องเตรียมพอร์ตให้รับมือความผันผวนระยะสั้น
  • แนะนำกระจายลงทุนตามระดับความเสี่ยง: ผู้รับความเสี่ยงได้สูงเน้น K-INDIA, K-VIETNAM ผู้ต้องการกระจายความเสี่ยงอย่างสมดุลลงทุนผ่าน K WealthPLUS Series / K All Road Series และผู้ที่กังวลเน้นความมั่นคงใน K-FIXEDPLUS-A และ K-SFPLUS-A

เมื่อเข็มนาฬิกาใกล้แตะวันที่ 9 กรกฎาคม: โลกจับตา “ภาษีทรัมป์” รอบใหม่

หลายเดือนที่ผ่านมา การค้าโลกราวกับกำลังถูกจับอยู่บนกระดานหมากของการเมืองสหรัฐฯ อีกครั้ง โดยเฉพาะเมื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลับมาส่งสัญญาณกดดันคู่ค้าหลักทั่วโลกให้เร่งบรรลุข้อตกลงทางการค้ากับสหรัฐฯ ก่อนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2025 ซึ่งหมายถึงวันสิ้นสุดของการพักการปรับขึ้นภาษีนำเข้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ ให้กับประเทศต่างๆ เพื่อเปิดทางให้มีการเจรจา


หลังจากการเลื่อนเวลาเก็บภาษีออกไป 90 วัน เรากำลังเข้าสู่ช่วงเวลาตัดสินว่า ข้อตกลงใดจะเกิดขึ้นจริง โดยประเทศที่ได้มีการเจรจาระดับสูง เช่น เม็กซิโก แคนาดา จีน และสหภาพยุโรป ดูจะมีแนวโน้มได้รับอัตราภาษีที่ผ่อนปรนอยู่ในระดับที่สามารถค้าขายได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจมากนัก ขณะที่ประเทศอื่นๆ อาจต้องเผชิญการกลับมาใช้ภาษีระดับเดิมหรือสูงกว่า หากไม่มีสัญญาณความร่วมมือ ทั้งนี้ มีโอกาสที่รัฐบาลสหรัฐฯ อาจเลื่อนเส้นตายออกไปเพิ่มเติมเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกระแทกต่อตลาดที่เริ่มมีความเปราะบางในเชิงจิตวิทยาการลงทุน


แม้ภาพรวมยังดูมีความไม่ชัดเจน และอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจหลังจากนี้ได้ แต่ตลาดการเงินกลับไม่สะทกสะท้านและปรับตัวขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่โดยเฉพาะดัชนีหุ้นโลก (MSCI ACWI) ด้านข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคในสหรัฐฯ ล่าสุดยังไม่แสดงผลกระทบต่อเงินเฟ้อหรืออัตราการเติบโตในระดับที่น่ากังวล อัตราเงินเฟ้ออยู่ในแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่ GDP ยังคงเติบโตได้ สะท้อนว่าตลาดอาจได้ “ปรับตัวล่วงหน้า” กับความเสี่ยงด้านภาษีไว้บางส่วนแล้ว ซึ่งช่วยดูดซับแรงกระแทกในกรณีที่ข้อตกลงไม่เป็นไปตามคาด


สามฉากทัศน์: จากเลวร้ายที่สุดสู่ทางออกที่ดีที่สุด



(ที่มา JPMAM ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิ.ย. 2568)


  1. Worst Case: ไม่มีข้อตกลง – กลับสู่ภาษีเต็มรูปแบบ อัตราภาษีนำเข้าแท้จริงโดยเฉลี่ย (Effective Tariffs Rate) ประมาณ 30%

    ในฉากทัศน์ที่ไม่มีการเจรจาสำเร็จ ภาษีนำเข้าจะกลับไปอยู่ในระดับสูงสุดตามที่ประกาศในเดือนเมษายน เช่น 25%–50% ในกลุ่มเหล็ก รถยนต์ และสินค้าอุตสาหกรรม ส่งผลให้เงินเฟ้อสหรัฐฯ (Core PCE) อาจเพิ่มขึ้นกว่า 2.5% และ GDP สหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบกว่า 3.92% (อ้างอิงจากโมเดลของ Fed ในปี 2018 ทุกๆ 1% ของภาษีที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อ GDP สหรัฐฯให้ลดลง 0.14% และส่งผลต่อ Core PCE ให้เพิ่มขึ้น 0.09%)


    โอกาสเกิด: ต่ำมาก – ความเสี่ยงสูงหากการเมืองภายในหรือการเจรจาระหว่างประเทศล่มโดยสิ้นเชิง


  2. Base Case: ข้อตกลงบางส่วน Effective Tariffs Rate 15–20%

    ฉากทัศน์นี้ถือว่า “เป็นไปได้มากที่สุด” โดยประเทศที่มีท่าทีร่วมมือกับสหรัฐฯ อย่างมาเลเซีย เวียดนาม และ UK อาจได้รับอัตราภาษีใหม่ที่น้อยกว่า ในขณะที่จีนและ EU อาจเผชิญแรงกดดันทางภาษีเพิ่มขึ้นในบางกลุ่มสินค้า แต่ภาพรวมถือว่าต่ำกว่าวันที่ประกาศขึ้นภาษีครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญ


    ตลาดอาจผันผวนระยะสั้น ผลกระทบต่อ Core PCE เพิ่ม 1-2% และ GDP สหรัฐฯ กระทบ 1.4-2.8% อยู่ในระดับจำกัด สามารถบริหารจัดการได้ ไม่กระทบต่อภาพรวมการเติบโต และกำไรบริษัท อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรมีการกระจายความเสี่ยงไปในหลายสินทรัพย์ และหลายภูมิภาค เพื่อลดแรงกระแทกในระยะสั้นที่อาจเกิดขึ้นได้


    โอกาสเกิด: สูง – สมเหตุสมผลในเชิงการเมืองและการเงิน ช่วยลดแรงกระแทกต่อตลาดได้ระดับหนึ่ง


  3. Best Case: บรรลุข้อตกลงเป็นวงกว้าง Effective Tariffs Rate ไม่เกิน 10%

    หากข้อตกลงสำเร็จเป็นวงกว้าง ภาษีจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะไม่ส่งผลต่อเงินเฟ้อหรือ GDP อย่างมีนัยสำคัญ และช่วยฟื้นความเชื่อมั่นในตลาดโลก โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่พึ่งการนำเข้า เช่น อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์


    โอกาสเกิด: ต่ำ – ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากฝั่งสหรัฐฯ และคู่เจรจา


กลยุทธ์การลงทุน: เดินเกมรับอย่างยืดหยุ่น รอจังหวะ “เคลียร์” จากการเมืองการค้า

แม้จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าตลาดจะเผชิญความผันผวนในช่วงใกล้เส้นตายวันที่ 9 กรกฎาคม แต่หากไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าเกิดการชะลอตัวของกำไรบริษัทหรือเศรษฐกิจโดยรวม “การจัดพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยง” ยังเป็นแนวทางที่เหมาะสมในภาวะที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน


สำหรับผู้ต้องการความสมดุล

กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือการ กระจายไปในหลากหลายประเภทสินทรัพย์ โดยเลือกกองทุนผสม เช่น


K WealthPLUS Series, K All Road Series ซึ่งมีการลงทุนในหุ้นเพื่อคว้าโอกาสหากตลาดตอบรับเชิงบวกจากข้อตกลงทางการค้า ขณะเดียวกันยังมีสัดส่วนในตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Assets) ที่ช่วยลดความผันผวนหากเกิดฉากทัศน์ Worst Case


นอกจากนี้ ยังควรกระจายการลงทุนไปยังหลายภูมิภาค เพื่อลดความเสี่ยงจากนโยบายการค้าที่ไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ โดยหลีกเลี่ยงการกระจุกตัวเฉพาะในบางธีม เช่น กลุ่มเทคโนโลยีที่อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาษี แนะนำลงทุนใน K-GSELECT หรือ K-GPIN


สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง

แนะนำลงทุนในภูมิภาคที่มีแนวโน้มได้ข้อยกเว้นทางภาษีหรือมีปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศที่แข็งแกร่ง เช่น K-INDIA ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศ หรือ K-VIETNAM ที่ได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตและความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเป็นบวก ซึ่งทั้งสองประเทศมีโอกาสฟื้นตัวเร็วกว่าตลาดโลกหากเกิดฉากทัศน์ที่มีความเป็นไปได้สูงคือ Base case


สำหรับนักลงทุนที่กังวลและต้องการลดความเสี่ยง

ควรเน้นกองทุนตราสารหนี้ที่มีความมั่นคง เช่น K-FIXEDPLUS-A หรือ K-SFPLUS-A เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงที่ตลาดยังจับตาผลลัพธ์จากการเจรจา โดยเฉพาะหากยังไม่มีความคืบหน้าในเดือนกรกฎาคม


ภายใต้ความไม่แน่นอนทางการค้าและแรงกระแทกจากนโยบายภาษี นักลงทุนนอกจากจะต้อง “ฟังข่าว” และ “จับสัญญาณจากตลาด” แล้ว การเตรียมพอร์ตให้สามารถปรับตัวได้ตามแต่ละฉากทัศน์ — โดยมีเครื่องมือที่ยืดหยุ่นและครอบคลุมภูมิภาคที่หลากหลาย — จะเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาเสถียรภาพการลงทุนในครึ่งหลังของปี 2025


คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTHชาญณรงค์ กิตินารถอินทราณี, CFA

Back to top